Wlecom To Blog Kru Ploy Na Ka

หน้าเว็บ


ขอฝากจากตลาดคลองสาน 100 ปี

วันจันทร์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2553

วัดมหาพฤฒารามวรวิหาร


วัดมหาพฤฒารามวรวิหาร" เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ตั้งอยู่บนถนนมหาพฤฒาราม แขวง มหาพฤฒาราม เขตบางรัก กรุงเทพฯ

วัดมหาพฤฒาราม เป็นวัดโบราณที่สร้างมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยายังเป็นราชธานี ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของคลองผดุงกรุงเกษม แต่เดิมในช่วงสมัยกรุงธนบุรีและรัตนโกสินทร์ตอนต้น วัดนี้ แต่เดิมชื่อว่า "วัดท่าเกวียน" เนื่องจากเคยเป็นที่พักแรมของกองเกวียน ที่เดินทางเข้ามาค้าขายในกรุงเทพฯ

แต่ต่อมาชาวบ้านพากันเรียกชื่อวัดนี้ว่า "วัดตะเคียน" สันนิษฐานว่า เรียกชื่อวัดตามต้นตะเคียนที่ขึ้นหนาแน่นอยู่รอบบริเวณวัดที่มีอาณาบริเวณถึง 14 ไร่

ต่อมาในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์เคยอยู่ในเพศบรรพชิตได้เสด็จพระราชดำเนินมาพระราชทานผ้าป่าที่วัดนี้

ในคราวนั้น พระอธิการแก้ว เจ้าอาวาสได้ทูลถวายพยากรณ์ว่า "จะได้เป็นเจ้าชีวิตในเร็วๆ นี้" พระองค์จึงรับสั่งว่า "ถ้าได้ครองแผ่นดินจริงจะมาสร้างวัดให้อยู่ใหม่" หลังจากนั้น เมื่อเสด็จขึ้นครองราชย์จึงโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาวัดขึ้นใหม่ ในเวลาต่อมาจึงโปรดให้พระราช ทานสมณศักดิ์ พระอธิการแก้วเป็น "พระมหาพฤฒาจารย์" และโปรดให้สร้างพระอารามใหม่ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2397 จนถึง พ.ศ.2409 โดยโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จ เจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติ (ทัต บุน นาค) เป็นแม่กองในการสถาปนา

ครั้นเมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จ จึงโปรดให้สถาปนาขึ้นเป็นพระอารามหลวง พระ ราชทานนามว่า "วัดมหาพฤฒาราม" พระอุโบสถของวัดมหาพฤฒาราม สร้างเป็นรูปโถงตลอด หลังคาลด 2 ชั้น ประดับช่อฟ้า ใบระกา หน้าจั่วเป็นสัญลักษณ์พระมงกุฎวางอยู่บนพานสองชั้นในบุษบก ซึ่งตั้งอยู่บนช้างสามเศียร หมายถึง เจ้าฟ้ามงกุฎ (รัชกาลที่ 4) ผู้ครองสยามประเทศ ทรงเป็นผู้สร้างพระอุโบสถหลังนี้

บานประตูและหน้าต่างของพระอุโบสถ เป็นรูปวัวลาก หมายถึง ชื่อเดิมของวัดท่าเกวียน รูปช้างหมายถึง เจ้าอาวาสพระอธิการแก้ว อายุ 107 ปี รูปเทวดาทูนพานสองชั้น ซึ่งมีพระมงกุฎวางอยู่ข้างบน หมายถึง เจ้าฟ้ามงกุฎ (รัชกาลที่ 4)

จิตรกรรมฝาผนังที่วัดมหาพฤฒาราม แตกต่างจากวัดอื่นตรงที่เขียนเรื่องธุดงควัตร 13 และการไปสืบพระพุทธศาสนาที่ลังกา แทนการเขียนเรื่องทศชาติชาดกหรือพุทธประวัติของวัดอื่น โดยนำเอาศิลปะทางตะวันตกมา นำเอาวิธีการเขียนภาพแบบ 3 มิติ ตามวิธีการเขียนภาพจิตรกรรมตะวันตกเข้ามาใช้ในการเขียนภาพทิวทัศน์ มีการจัดองค์ประกอบภาพให้มีความลึก เหมือนจริงตามธรรมชาติ และรับเอารูปแบบสถาปัตยกรรมตะวันตกเข้ามาใช้ในการวาดภาพตกแต่งประดับอาคาร

สำหรับพระปรางค์ 4 องค์ สร้างขึ้นเพื่ออุทิศถวายแด่พระพุทธเจ้าทั้ง 4 พระองค์ที่ปรินิพพานไปแล้ว โดยมีขนาดใหญ่เล็กเรียงกัน ตั้งอยู่ระหว่างอุโบสถกับวิหารเหนือ"พระพุทธไสยาสน์" (พระนอน) วัดมหาพฤฒารามวรวิหาร เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นลงรักปิดทอง ศิลปกรรมสมัยรัตนโกสินทร์

พระพุทธไสยาสน์ของวัดพระมหาพฤฒารามใหญ่โต เป็นรองแค่พระพุทธไสยาสน์ที่วัดพระเชตุพนฯ (วัดโพธิ์) เท่านั้น เป็นพระพุทธไสยาสน์ที่มีมาแต่ครั้งยังเป็นวัดท่าเกวียนและวัดตะเคียน แต่เดิมไม่ได้ใหญ่ยาวดังในปัจจุบัน

แต่รัชกาลที่ 4 ทรงปฏิสังขรณ์พระพุทธรูปให้ใหญ่ขึ้น เป็นขนาดความยาวจากพระบาทถึงพระเกตุมาลา 19.25 เมตร และพระอุระกว้าง 3.25 เมตร พระนาภีกว้าง 2 เมตร จากนั้นจึงทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระวิหารไว้เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปางไสยาสน์ ทำให้แลดูมีลักษณะใหญ่โตดังที่เห็น

พระพุทธไสยาสน์องค์นี้ เป็นที่เคารพเลื่อมใสของชาวบ้านทั่วไป สำหรับผู้ที่เกิดวันอังคาร ควรหาโอกาสมากราบนมัสการเพื่อความเป็นสิริมงคล เนื่องจากพระพุทธไสยาสน์ เป็นพระพุทธรูปบูชาสำหรับผู้ที่เกิดวันอังคาร

หนึ่งในภาพจิตรกรรมฝาผนังเรื่องธุดงควัตร13


ในคราวนั้น พระอธิการแก้วเจ้าอาวาสได้ทูลถวายพยากรณ์ว่า "จะได้เป็นเจ้าชีวิตในเร็วๆนี้" พระองค์จึงทรงรับสั่งว่า "ถ้าได้ครองแผ่นดินจริงจะมาสร้างวัดให้อยู่ใหม่" หลังจากเสด็จขึ้นครองราชย์จึงโปรดเกล้าฯให้สถาปนาวัด ขึ้นใหม่

ในเวลาต่อมาจึงโปรดให้พระราชทานสมณะศักดิ์ พระอธิการแก้วเป็น "พระมหาพฤฒาจารย์" และโปรดให้สร้างพระอารามใหม่ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2397 จนถึง พ.ศ. 2409 โดยโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติ (ทัต บุนนาค) เป็นแม่กองในการสถาปนา



ต้นพระศรีมหาโพธิ์แผ่กิ่งก้านร่มเงาภายในวัด


ภายหลังโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหมื่นภูมินทร์ภักดีเป็นแม่กอ งจัดสร้าง ต่อมาเมื่อทำการก่อสร้างแล้วเสร็จ จึงโปรดฯ ให้สถาปนาขึ้นในพระอารามหลวง พระราชทานนามว่า "วัดมหาพฤฒาราม" ลักษณะรูปแบบศิลปกรรมสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น (รัชกาลที่ 4)

ภายในบริเวณวัด ยังคงมีบรรยากาศอันเงียบสงบสมกับที่เป็นวัด ไม่เหมือนกับวัดบางแห่งในกรุงเทพฯ ที่สูญเสียความสงบ พลุ่กพล่านด้วยผู้คนและกลิ่นธูปควัน ภายในวัดยังมีสิ่งที่น่าสนใจให้ศึกษาหลายอย่าง

ที่ฉันชื่นชอบเป็นการส่วนตัวคือ "จิตรกรรมฝาผนัง"ในพระอุโบสถที่มีความโดดเด่นในการเขียนธรรมชาติ โดยใช้สีสลัวๆ ให้อารมณ์ความคิดฝัน จิตรกรรมฝาผนังของที่วัดมหาพฤฒาราม แตกต่างจากวัดอื่นตรงที่ที่นี่เขียนเรื่อง "ธุดงควัตร13" และการไปสืบพระพุทธศาสนาที่ลังกา ต่างจากวัดอื่นที่นิยมเขียนเรื่องทศชาติชาดกหรือพุทธ ประวัติของพระพุทธเจ้า

ภาพจิตรกรรมฝาผนังที่นี่ จิตรกรได้นำเอาศิลปะทางตะวันตกมา ผสมผสานกับศิลปะและคติอย่างไทยได้อย่างลงตัว เป็นลักษณะ จิตรกรรมเป็นแบบผสมผสานระหว่างจิตรกรรมไทยประเพณีแบบ อุดมคติ กับแบบเหมือนจริง

เรื่องราวที่เขียนและตัวบุคคลในภาพยังคงยึดแนวความคิ ดแบบอุดมคติของ จิตรกรรมไทยประเพณี แต่นำเอาวิธีการเขียนภาพแบบ 3 มิติ ตามวิธีการเขียนภาพจิตรกรรมตะวันตกเข้ามาใช้ในการเขี ยนภาพทิวทัศน์ มีการจัดองค์ประกอบภาพให้มีความลึก เหมือนจริงตามธรรมชาติ และรับเอารูปแบบสถาปัตยกรรมตะวันตกเข้ามาใช้ในการวาด ภาพตกแต่งประดับอาคาร แสดงให้เห็นรูปแบบวิวัฒนาการความสัมพันธ์ของสยามในกา รรับเอาอิทธิพลตะวันตกเข้ามาในช่วงเวลานั้น

จากจิตรกรรมฝาผนังฉันขอเปลี่ยนมาที่ "พระอุโบสถ"กันบ้าง พระอุโบสถของวัดมหาพฤฒาราม สร้างขึ้นโดยพระบรมราชโองการของรัชกาลที่4 สร้างเป็นรูปโถงตลอด หลังคาลด 2 ชั้น ประดับช่อฟ้า ใบระกา หน้าจั่วเป็นสัญลักษณ์พระมงกุฎวางอยู่บนพานสองชั้นใน บุษบก ซึ่งตั้งอยู่บนช้างสามเศียร หมายถึง เจ้าฟ้ามงกุฎ(รัชกาลที่4)ผู้ครองสยามประเทศ ทรงเป็นผู้สร้างพระอุโบสถหลังนี้

พระประธานภายในพระอุโบสถ


วัดนี้ได้มีการเปลี่ยนชื่ออีกครั้งหนึ่งเป็น "วัดมหาพฤฒาราม" ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่4 ทรงมีพระราชดำริที่จะให้ชื่อวัดที่ทรงพระราชทานนาม เพื่อเฉลิมฉลองท่านเจ้าอาวาสของวัดที่มีอายุยืนยาวมา ถึง 107 ปี ในปีที่มีการพระราชทานนามวัดนั้น

สำหรับความเกี่ยวข้องที่เป็นที่มาของความผูกพันระหว่ างรัชกาลที่ 4 และวัดมหาพฤฒารามแห่งนี้ เกิดขึ้นเมื่อครั้งที่เจ้าฟ้ามงกุฎ หรือพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงอยู่ในเพศบรรพชิตได้เสด็จมาพระราชทานผ้าป่าที่วัด นี้
โลงเก็บสรีระของหลวงปู่นพ ภูวธิ


บานประตูและหน้าต่างของพระอุโบสถ เป็นรูปวัวลาก หมายถึง ชื่อเดิมของวัดท่าเกวียน รูปช้างหมายถึง เจ้าอาวาสพระอธิการแก้ว อายุ 107 ปี รูปเทวดาทูลพานสองชั้น ซึ่งมีพระมงกุฎวางอยู่ข้างบน หมายถึง เจ้าฟ้ามงกุฎ (รัชกาลที่4) ชมความงดงามของพระอุโบสถและจิตรกรรมฝาผนังแล้ว ก็อย่าหลงลืมไหว้พระประธานเสียด้วย

ใกล้ๆพระอุโบสถยังมี "พระปรางค์ 4 องค์" โดดเด่นเป็นสง่าด้วยสีขาวนวล ซึ่งสร้างขึ้นเพื่ออุทิศถวายแด่พระพุทธเจ้าทั้ง 4 พระองค์ที่ปรินิพพานไปแล้ว โดยมีขนาดใหญ่เล็กเรียงกัน ตั้งอยู่ระหว่างอุโบสถกับวิหารเหนือ อ๋อ...ที่วิหารเหนือก็ควรแวะเข้าไปไหว้พระขอพรและกรา บสรีระของ "หลวงปู่นพ ภูวธิ" อดีตพระเกจิอาจารย์ผู้ทรงวิทยาคุณและเมตตาคุณ ซึ่งหลังจากท่านมรณภาพด้วยโรคชราในวัย 73 ปี ในปี พ.ศ.2503 ทางวัดได้นำสรีระท่านเก็บบรรจุไว้เป็นเวลา 29 ปี ต่อมาเมื่อทางวัดเปิดศพท่าน ปรากฏว่าสรีระของท่านกลายสภาพเหมือนไม้แห้ง โดยที่สรีระต่างๆยังอยู่ครบทางวัดเลยนำใส่โลงแก้วไว้ ให้ลูกศิษย์ลูกหาได้เคารพจนถึงปัจุบัน
ในวัดมหาพฤฒาราม มีเจ้าแม่กวนอิมไว้ในเคารพสักการะด้วย


จากนั้นฉันย้ายมาที่พระวิหารที่ตั้งอยู่ด้านซ้ายสุด เพื่อมาชม "พระพุทธไสยาสน์" เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นลงรักปิดทอง ศิลปกรรมสมัยรัตนโกสินทร์ พระพุทธไสยาสน์ (พระนอน)ของวัดพระมหาพฤฒารามใหญ่โตมากทีเดียวฉันรู้ม าว่าในหมู่พระปางไสยาสน์ด้วยกัน จะเป็นรองก็แค่พระพุทธไสยาสน์ที่วัดพระเชตุพนฯ (วัดโพธิ์)เท่านั้น

สำหรับพระพุทธไสยาสน์นี้ มีมาแต่ครั้งยังเป็น วัดท่าเกวียน และ วัดตะเคียน แต่เดิมนั้น พระพุทธไสยาสน์องค์นี้ไม่ได้ใหญ่ยาวดังในปัจจุบัน แต่เนื่องมาจากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงปฏิสังขรณ์พระพุทธรูปให้ใหญ่ขึ้น เป็นขนาดความยาวจากพระบาทถึงพระเกตุมาลา 19.25 เมตร และ พระอุระกว้าง 3.25 เมตร พระนาภีกว้าง 2 เมตร

จากนั้นจึงทรงโปรดฯ ให้สร้างพระวิหารไว้เป็นที่สถิตย์ของ พระพุทธรูปปางไสยาสน์ ท่านจึงมีลักษณะใหญ่โตดังที่เห็น พระพุทธไสยาสน์องค์นี้เป็นที่เคารพเลื่อมใสของชาวบ้า นทั่วไป โดยเฉพาะ ผู้ที่เกิดวัน อังคาร เนื่องจากเป็นพระพุทธรูปบูชาสำหรับผู้ที่เกิดวันอังค าร

นอกจากโบสถ์ วิหาร ที่ใครมาเยือนแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่โดดเด่นไม่แพ้กันคือ "ต้นพระศรีมหาโพธิ์" ต้นไม้แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ที่ยืนต้นสยายร่มใบในบริเวณวัด เป็นต้นโพธิ์ที่ทางวัดได้นำหน่อมาจากต้นพระศรีมหาโพธ ิ์ เมืองอนุราธปุระ ประเทศศรีลังกา ในรัชสมัยรัชกาลที่4 คนไทยมักนิยมเรียกต้นโพธิ์ต้นนี้ว่าต้นโพธิ์ลังกา และนอกจากนี้ภายในวัดยังมี "เจ้าแม่กวนอิม"สีทององค์ใหญ่ไว้ให้สักการะบูชาอีกด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น