วันศุกร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2553
ศุลกสถาน :โรงภาษีร้อยชักสาม ภาค2
วันนี้พอดีได้มีโอกาสไปถ่ายรูปให้ โรงภาษีร้อยชักสาม ซึ่งตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ติดกับสถานทูตฝรั่งเศส ใกล้ๆกับโรงแรมโอรียนเต็ล ก่อนที่จะดูรูปเลยขอเอาข้อมูลบางอย่างมาให้ วันนี้เนื้อหาเลยอาจจะยาวซักหน่อย แต่คิดว่าน่าจะมีประโยชน์ในการตัดสินใจ
ขอเอาประวัติมาให้อ่าน ศุลกสถานเดิมเป็นที่ของหลวงราชายสาธก ต่อมาได้ถูกยึดเพื่อหักใช้หนี้พระราชทรัพย์ เกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ที่ดินของบริเวณอาคารนั้น มีการเปลี่ยนแปลงถือกรรมสิทธิ์คือ ส่วนที่เป็นตึก 3 หลัง เดิมเป็นเรือนไม้สองชั้น เป็นที่อยู่ของฝรั่งชาวโปรตุเกส ชื่อนายเจ.เอน.เอฟ.ดาคอสตา รับราชการอยู่กรมศุลกากร มีบรรดาศักดิ์เป็นหลวงราชายสาธก (เป็นชื่อบรรดาศักดิ์ของกรมศุลกากร คู่กับขุนเสวกวรายุตถ์ ผู้เป็นน้องชาย) เมื่อหลวงราชายสาธกถึงแก่กรรมแล้ว ภรรยาแหม่มของหลวงราชายสาธก จึงอยู่ในที่นั้นต่อมา ภายหลัง ร้องทุกข์ขอเบี้ยบำนาญเลี้ยงชีพ โดยตกลงยกสิทธิ์ที่อยู่ให้แก่รัฐบาลเป็นการแลกเปลี่ยนกัน กรมศุลกากรจึงรื้อเรือนไม้สร้างเป็นตึกขึ้น เพื่อเป็นที่ทำการศุลกากร เนื่องจากตัวที่ทำการศุลกากร (Customs House) หรือโรงภาษีแต่เดิมนั้นไม่มี มีแต่เพียงด่านขนอนที่ตั้งเก็บอากรการผ่านเขต
ตัวที่ทำการศุลกากร (Customs House) หรือโรงภาษี เริ่มมีเป็นครั้งแรก หลังจากไทยได้ทำสนธิสัญญาบาวริงกับประเทศอังกฤษ ซึ่งในตอนหนึ่งระบุว่าจะต้องปลูกโรงภาษีให้ใกล้ท่าจอดเรือพอสมควร ถึงแม้ว่าภายหลังจากสนธิสัญญาบาวริง ได้มีที่ทำการศุลกากร (Customs House) หรือโรงภาษีขึ้นแล้ว แต่ก็ทราบได้แน่นอนราวปี พ.ศ. 2428 ว่าที่ทำการศุลกาการเวลานั้น เดิมเรียกว่า โรงภาษีร้อยชักสาม หรือเรียกสั้นๆ ว่าโรงภาษีตั้งอยู่ปากคลองผดุงกรุงเกษม เยื้องธนาคารฮ่องกงและเซียงไฮ้แบงค์ปัจจุบัน ลักษณะของอาคารเป็นเรือนปั้นหยาชั้นเดียว หันหน้าลงแม่น้ำ
ภายหลัง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานที่หลวง ซึ่งเป็นที่ตั้งโรงภาษีนี้แก่พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าอิศริยาภรย์ เพื่อทำตึกให้ฮ่องกงแอนด์เซียงไฮ้แบงค์เช่า (พระราชหัตถเลขาในรัชกาลที่ 5 ถึงเจ้าพนักงาน พระคลังมหาสมบัติ ลงวันที่ 7 ปีชวด สัมฤทธิศก พ.ศ. 2430) จึงได้ย้ายมาตั้ง ณ ที่อาคารเก่าศุลกากร ซึ่งเป็นที่ตั้งของสถานีตำรวจดับเพลิงบางรักในปัจจุบัน ที่ทำการศุลกากร มีชื่อเรียกในหนังสือทางราชการว่า ศุลกสถาน แต่คนทั่วไปเรียกว่า โรงภาษี ร้อยชักสาม หรือเรียกสั้นๆ ว่า โรงภาษี ส่วนชาวแต้จิ๋วเรียกว่า ฟ้าซีกวนหรือแป๊ะลั่นซา ซึ่งมีความหมายเดียวกัน เหตุที่เรียกว่าร้อยชักสาม เพราะเดิมเรียกเก็บภาษีจากสินค้าต่างประเทศ ที่เข้ามาขายเพียงอัตราเดียว คือ เก็บเป็นภาษีตามราคาของสินค้าร้อยละสาม
สถานที่ตรงศุลกากรเดิมเป็นตึกจีน เป็นที่ของนายนุด อาหารบริรักษ์ ภายหลังตกเป็นของหลวง เมื่อย้ายมาอยู่ในทีแรกตั้งอยู่ที่ตึกจีนหลังกลาง ภายหลังจึงสร้างเป็นเรือนปั้นหยา 2 หลัง ตั้งอยู่คนละมุม หลังหนึ่งเป็นที่ทำการภาษีร้อยชักสาม ซึ่งพระยาภาศกรวงศ์ (ชุมพร บุนนาค) เป็นผู้บังคับบัญชา อีกหลังหนึ่ง เป็นที่บัญชาการภาษีข้าวขาออก ซึ่งพระยาพิพิธโภคัยเป็นผู้บังคับบัญชา แยกกันคนละส่วน แล้วจึงสร้างที่ทำการศุลกากร ให้ชื่อว่า ศุลกสถาน เป็นตึกซึ่งเห็นอยู่ทุกวันนี้
ตึกหลังนี้ มิสเตอร์กราสลี นายช่างชาวอิตาเลี่ยน เป็นผู้ออกแบบรับเหมาก่อสร้าง สร้างเสร็จภายหลังปี พ.ศ.2431 เพราะมีหลักฐานอยู่ในหนังสือ Bangkok Time Guide ตีพิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2433 กล่าวชมศุลกากรสถานที่สร้างใหม่ว่า เป็นสถานที่ที่งดงามแห่งหนึ่ง ตั้งอยู่ริมแม่น้ำในที่สง่างาม มีเนื้อที่ราวๆ 2 - 4 ไร่ ใช้เป็นท่าเรือ กุดังสินค้า ตัวที่ทำการตึกเฉลียง ข้างที่อยู่เจ้าพนักงานและอื่นๆ ซึ่งเกี่ยวข้องกับศุลกสถานโดยตรง ท่าเรือมีความสะดวก สำหรับขนถ่ายสินค้าจากเรือลำเลียง แม้เรือกลไฟใหญ่กินน้ำ ซึ่งก็สามารถเข้าเทียบท่ากลางขนถ่ายสินค้าได้ มีโรงพักสินค้าและที่ทำการเจ้าพนักงาน และมีรถรางขนาดเบา ซึ่งนอกจากใช้ในการขนสินค้า ยังใช้บรรทุกน้ำจากแม่น้ำ ไปจ่ายตามเรือนที่พักของเจ้าพนักงานในเวลานอกราชการ ตัวตึกใหญ่นั้นรูปทรงงดงาม มีสามชั้น โดยมากใช้เป็นที่ทำการของพนักงานกรมเกษตร (ชั้นที่สาม เดิมนัยว่าใช้เป็นที่เต้นรำของชาวต่างประเทศ เป็น เครื่องประดับมีกระจกเงาแผ่นใหญ่ๆ โคมระย้าแก้ว ฉากรูปแล้ว ฉากรูปสีน้ำยังเหลือสืบมา ได้รื้อถอนไปในราว 70 กว่าปีมาแล้ว) มีสะพานข้ามติดต่อกับที่ทำการศุลกากร ซึ่งเป็นตึก 2 ชั้น เป็นที่ทำการภาษีขาเข้าขาออก (ยังมีตัวหนังสือบอกว่า Import and Export Department ไว้ที่หน้าบันตัวตึกหลังนี้)
ที่ทำการกรมศุลกากร ดังที่กล่าวไว้ในหนังสือ Bangkok Times Guide Book ชมศุลกสถานว่า เป็นตึกที่งดงามในสมัยนั้น เพราะทางราชการเคยใช้ศุลกสถานตอนชั้นที่ 3 เป็นสถานที่เต้นรำของชาวต่างประเทศ ในวันเฉลิมพระชนมพรรษา แม้ต่อมาในสมัยพระวรงค์เธอ พระองค์เจ้าพร้อมพงศ์อธิราช เป็นอธิบดีกรมศุลกากร ก็เคยใช้ศุลกสถาน เป็นที่เต้นรำในงานเฉลิมพระชนม์พรรษา 2 - 3 ครั้ง รวมทั้งงานสมโภช เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จกลับจากยุโรปคราวแรกด้วย
ต่อมา ได้เปลี่ยนมาเป็นที่ทำการตำรวจน้ำ (ศุลการักษ์ คนโดยทั่วไป เรียกว่าโบลิศน้ำ ภายหลังเรียกว่าพลตระเวน แล้วต่อมาเรียกตำรวจนครบาล หรือเรียกสั้นๆ ว่าตำรวจ มีหน้าที่ในทางน้ำคล้ายตำรวจนครบาล) เป็นที่ที่ทำการ ของสถานีตำรวจดับเพลิงบางรัก เมื่อ พ.ศ. 2502 ปัจจุบัน อยู่ในความดูแลของกองตำรวจดับเพลิง
เมื่อได้รู้ประวัติแล้วคงจะเห็นได้ว่าสถานที่แห่งนี้มีความสำคัญกับประเทศไทยยังไง และควรได้รับการดูแลที่ดีกว่านี้
คราวนี้เรามาดูว่ารัฐบาลจะรักษาสถานที่แห่งนี้โดยวิธีไหนกัน
โครงการ โรงแรม อามันรีสอร์ท กรุงเทพ
กิจการร่วมค้าบริษัท แนเชอรัล พาร์ค จำกัด (มหาชน),
บริษัท อามันรีสอร์ท เซอร์วิสเซส ลิมิเต็ด และบริษัท ซิลเวอร์ลิงค์ โฮลดิ้ง ลิมิเต็ด
ได้รับคัดเลือกจากกรมธนารักษ์ เพื่อเข้าพัฒนาโครงการ ที่ราชพัสดุ
แปลงที่ตั้งหมายเลขทะเบียนที่ กท. 043314 (แปลงโรงภาษีร้อยชักสาม) เขตบางรัก จังหวัดกรุงเทพมหานคร
โดยกิจการร่วมค้าฯ มีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาโครงการนี้ ให้เป็นโครงการโรงแรม ประเภทบูติก (Boutique Hotel) ชั้นนำแห่งหนึ่งของโลก
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามที่กระทรวงการคลังเสนอผลการคัดเลือกของคณะกรรมการพิจารณาคัดเลือกเอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ ให้กลุ่มกิจการร่วมค้า ประกอบด้วย 1) บริษัท แนเชอรัลพาร์ค จำกัด (มหาชน) 2) บริษัท อามันรีสอร์ท เซอร์วิสเซส ลิมิเต็ด 3) บริษัท ซิลเวอร์ลิงค์ โฮลดิ้ง ลิมิเต็ด โดยบริษัท แนเชอรัลพาร์ค จำกัด (มหาชน) ผู้รับมอบอำนาจ เป็นผู้ได้รับสิทธิในโครงการพัฒนาที่ราชพัสดุแปลงหมายเลขทะเบียนที่ กท. 043314 (แปลงโรงภาษีร้อยชักสาม) โฉนดที่ 2317, 3618, และ 3257 ถนนเจริญกรุง 36 เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร ต่อไป
ความคืบหน้าการก่อสร้างโครงการโรงแรม อามันรีสอร์ท กรุงเทพฯ โรงแรมหรูระดับ 6 ดาว บนที่ราชพัสดุ บริเวณโรงภาษีร้อยชักสาม ริมแม่น้ำเจ้าพระยา มูลค่าโครงการกว่า 1,500 ล้านบาทว่า ปัจจุบันยังอยู่ในขั้นตอนการขุดค้นทางประวัติศาสตร์ในพื้นที่ก่อสร้างโครงการเพราะเป็นอาคารเก่า 100 ปี และเป็นสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ จึงต้องสรุปสรุปผลการขุดค้นทางประวัติศาสตร์ก่อน จึงจะเริ่มดำเนินการปักผัง แล้วเริ่มงานก่อสร้างตามสัญญา อย่างไรก็ดีการขุดค้นทางประวัติศาสตร์ในปัจจุบันกระทำได้บางส่วนเพราะหน่วยงานที่อาศัยในอาคารโรงภาษีร้อยชักสาม คือ ตำรวจดับเพลิง และตำรวจน้ำ โดยเฉพาะตำรวจดับเพลิงยังไม่ยอมย้ายออกจากพื้นที่ สาเหตุส่วนหนึ่งมาจาก เดิมตำรวจดับเพลิงสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ แต่ได้ย้ายสไปสังกัดกทม.แทน แต่ในสัญญาระบุเพียงว่า สร่างอาคารชดเชยให้หน่วยงานในสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ซึ่งหากตำรวจดับเพลิงย้ายออกก็จะมีปัญหาในการหาสถานที่รองรับหน่วยงานเพราะไม่ได้ระบุไว้ในสัญญา ทั้งนี้ เมื่อยังมีปัญหาการย้ายออกของหน่วยงานที่อาศัยอยู่ในอาคารโรงภาษีร้อยชักสาม เอกชนที่ต้องประสานทางกรมศิลปากรเพื่อขุดสำรวจ ทางโบราณวัตถุ ก็ยังไม่ดำเนินการได้ ขั้นตอนการปักผัง เพื่อก่อสร้างโครงการจึงยังไม่เริ่ม ทางกรมธนารักษ์ก็พยามยามที่จะให้เอกชนผู้ชนะประมูลปักผังเพื่อเริ่มงานก่อสร้าง ทั้งที่ยังไม่มีการสำรวจตามเงื่อนไขสัญญา ส่งผลให้สัญญายังไม่มีผลบังคับที่กำหนดงานก่อสร้างต้องเสร็จในปี 2551 หรือ 2ปี ทั้งที่มีการเซ็นสัญญามาตั้งแต่วันที่ 10 พฤษภาคม 2548 นอกจากนี้ ยังมีปัญหาในเรื่องแบบของอาคารชดเชย ที่ทางกรมธนารักษ์เป็นผู้ออกแบบก่อสร้างมาให้กับกลุ่มผู้ชนะประมูล ก็คือบริษัท แนเชอรัลพาร์ค จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ลงทุนและดำเนินการก่อสร้างบริเวณเจริญนคร 53 และสะพานกรุงเทพยังมีการขออนุญาตจากคณะกรรมการสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) ทางเอกชนผู้ชนะประมูลก็ยังไม่สามารถก่อสร้างอาคารชดเชยตามแบบได้
โครงการนี้มีปัญหาที่ใกล้คียงกับการพัฒนาโครงการเชิงพาณิชย์บนที่ดินราชพัดุ บริเวณหมอชิตเก่า มีมูลค่าโครงการกว่า 19,000 ล้านบาท โดยมีบริษัทซันเอสเตท จำกัด หรือบางกอกเทอร์มินอล เป็นผู้รับสัมปทาน 30 ปี ก็ไม่สามารถปักผังส่งมอบพื้นที่ก่อสร้างได้ ขณะเดียวกันยังมีปัญหาไม่ผ่านพ.ร.บ.ร่วมทุนรับเอกชน พ.ศ. 2535 ที่กำหนดโครงการเกิน 1,000 ล้านต้องผ่านความเห็นชอบจากครม. และปัจจุบันไม่สามารถหาผู้รับสัมปทานรายใหม่ และเริ่มงานก่อสร้างได้ สร้างความเสียหายต่อภาครัฐ ที่สำคัญก็ยังไม่สามารถฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากเอกชน เพราะยังไม่มีการปักผัง ส่งมอบพื้นที่ก่อสร้างให้เอกชน ซึ่งอาจจะถูกเอกชนฟ้องกรียกค่าเสียหายกลับได้เช่นกัน ต้องคอยดูว่าการแก้ไขปัญหาโครงการพัฒนาอาคารโรงภาษีร้อยชักสาม จะดำเนินการอย่างไร ที่ผ่านมาจะมีการขอร้องให้ทางสผ.ผ่านขั้นตอนการตรวจสอบ อีไอเอ ให้ เพื่อจะได้เริ่มก่อสร้างอาคารชดเชยกับตำรวจดับเพลิง และตำรวจน้ำซึ่งไม่ถูกต้องนัก นอกจากนี้อาจจะต้องมีกาสรแก้ไขสัญญาที่ระบุในทำนองที่ว่า เอกชนผู้รับสัมปทานต้องสร้างอาคารชดเชยให้กับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ มาเป็น ต้องสร้างอาคารชดเชยให้กับตำรวจดับเพลิง สังกัดกรุงเทพมหานคร ด้านเอกชนผู้รับสัปทานก็ประสบปัญหาการประสานงานจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมากมาย เดิมทางกลุ่มแนเชอรัลพาร์คไม่ทราบว่าจะต้องประสานกับทางกรมศิลปากร เนื่องจากเป็นการปรับปรุงตึกเก่าที่ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน มีการนำเสนอแบบไปแล้วครั้งหนึ่ง แต่ทางกรมศิลปากรให้กลับมาแก้ไข เพราะองค์ประกอบบางอย่างไม่สอดคล้องกับรูปแบบสถาปัตยกรรมเดิม แต่ละขั้นตอนต้องใช้เวลากว่าจะแล้วเสร็จ ปัจจุบันก็ต้องเริ่มการจ่ายเงินค่าเช่าแล้วปีละ 3.3 ล้าน โดยเริ่มจ่ายตั้งแต่วันเซ็นสัญญามาแล้วปีเศษ อนึ่ง โรงแรม อามันรีสอร์ท กรุงเทพฯ ก่อสร้างในนามกลุ่มบริษัทกิจการร่วมค้า ซึ่งประกอบด้วย บริษัท แนเชอรัลพาร์ค จำกัด (มหาชน) หรือเอ็นพาร์ค บริษัท อามัน รีสอร์ท เซอร์วิสเซส ลิมิเต็ด และบริษัท ซิลเวอร์ลิงค์ โฮลดิ้ง ซึ่งเป็นผู้ชนะการประมูลและเซ็นสัญญาสัมปทานไปตั้งแต่วันที่ 10 พฤษภาคม 2548 ขณะนี้บริษัทยังไม่สามารถเข้าพื้นที่เพื่อปรับผังและเริ่มก่อสร้างโครงการ จากที่เคยกำหนดว่าการก่อสร้างจะดำเนินการหลังจากที่เซ็นสัญญา 6 เดือน และใช้เวลาก่อสร้าง 2 ปี และจะเปิดบริการได้ในปี 2551 โดยแผนพัฒนาให้เป็นโรงแรมที่ดีที่สุดในโลก โดยพัฒนาเชิงอนุรักษ์ และจะให้ผลตอบแทนที่ดีโดยกำหนดราคาค่าห้องพักราคา 600-2,000 เหรียญสหรัฐต่อห้อง ต่อคืน คาดว่าจะสามารถสร้างรายได้จากห้องพักและการบริการประมาณ 220 ล้านบาทในปีแรก ปีต่อมาจะเพิ่มเป็น 260 ล้าน และปีที่ 3 เป็น 300 ล้านบาท อัตราการเข้าพักจะอยู่ในสัดส่วนที่ 50% 55% และ 60% มีระยะเวลาคืนทุนเพียง 10 ปี ขณะที่ผลตอบแทนที่ให้กับราชพัสดุคือ แบ่งเป็นค่าธรรมเนียมจัดหาผลประโยชน์ 125 ล้านบาท ก่อสร้างอาคารชดเชยยกกรรมสิทธิ์ให้กระทรวงการคลังรวมมูลค่า 153 ล้านบาท ผลประโยชน์ตอบแทนด้านค่าเช่ารวม 30 ปี 1,346.3 ล้านบาท โดยค่าเช่ารายปี แบ่งเป็น ปี 1-11 ปีละ 3,300,000 บาท ปีที่ 12-16 ปีละ 30,000,000 บาท ปีที่ 17-20 ปีละ 40,000,000 บาท และปี ที่21-30 ปีละ 100,000,000 ล้านบาท ขณะที่มูลค่างานก่อสร้างจะอยู่ที่ประมาณ 1,120 ล้านบาท
ที่เอาทั้ง 2 เรื่องมาให้อ่านเพื่อที่จะได้รู้ประวัติความเป็นมา และอนาคตจะเกิดอะไรขึ้นต่อไปกับอาคารที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ แต่ในความเห็นส่วนตัวรู้สึกเสียดายแทนกรมศุลกากรที่ไม่เห็นคุณค่าของสถานที่ตั้งกรมศุลกากรแห่งแรก และเป็นอาคารประวัติศาสตร์ของชาติ ซึ่งมีคุณค่ามากกว่าอาคารกรมศุลกากรในปัจจุบันที่ตั้งอยู่ที่คลองเตยชนิดที่ไม่ควรจะเอามาเทียบกันเลย จริงๆแล้วกรมศุลกากรน่าที่จะขออาคารหลังนี้คืนจากกรมธนารักษ์เพื่อที่จะนำมาบูรณะให้เป็นพิพิธภัณฑ์ของกรมศุลกากรเพื่อที่จะได้เกิดประโยชน์กับคนไทยทั่วไปมากกว่าที่จะเอาไปทำโรงแรมราคาแพงเพื่อให้ชาวต่างชาติเฉพาะกลุ่มได้ชื่น โดยที่คนไทยส่วนใหญ่คงไม่มีโอกาสที่จะได้ใช้ประโยชน์อะไรเลย อีกทั้งโรงแรมแถวนั้นก็มีเยอะแยะไปหมดแล้ว พิพิธภัณฑ์ต่างหากที่แทบไม่มีเลยในบริเวณนั้น โดยการบูรณะสามารถดูตัวอย่างได้จากธนาคารแห่งประทศไทยที่เก็บรักษา อาคารเก่าได้เป็นอย่างดี พิพิธภัณฑ์ก็ควรเป็นพิพิธภัณฑ์ที่มีชีวิต ไม่ใช่สถานที่ก็เก็บของที่ไม่ใช้แล้ว โดยอาจดึงเอาชุมชนในระแวงนั้นเข้ามาร่วมคิดร่วมจัดกิจกรรมต่างๆ เช่น การออกร้านของดีในกรุงเทพ โดยให้แต่ละเขตนำสินค้าที่มีชื่อมาออกร้าน พลัดเปลี่ยนเดือนละเขต โดยอาจให้มีการสาทิตวิธีการทำสินค้าเหล่านั้นด้วย หรืออาจจัดเวทีให้นักเรียนวิทยาลัยนาฎศิลป์มาจัดการแสดง โดยให้นักเรียนเป็นคนคิดและรับผิดชอบการแสดงนั้น เพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้นักเรียนได้มีเวทีที่จะแสดงออก อีกทั้งบริเวณนั้นเป็นทีพักของชาวต่างชาติ ซึ่งเค้าก็น่าที่จะสนใจที่จะเข้ามาร่วมกิจกรรม หรือชมการแสดงโดยไม่ต้องเดินทางไปไกลถึง Rose Garden หรือ สยามนฤมิตร โดยอาจมีการเก็บค่าเข้าชมเพื่อให้นักเรียนที่มาแสดงมีรายได้ แต่หากคิดว่าพิพิธภัณฑ์อย่างเดียวไม่น่าจะมีรายได้เลี้ยงตัวเองได้ ก็อาจจัดให้มีห้องประชุมหรือห้องจัดเลี้ยงให้คนทั่วไปสามารถเข้ามาใช้บริการได้ โดยอาจให้โรงแรมโอเรียนเต็ลซึ่งอยู่ใกล้ๆกันข้ามาช่วยบริหารจัดการ และทางกรมศุลกากรก็เก็บค่าใช้สถายที่ เมื่อรื้อสิ่งปลูกสร้างที่สร้างขึ้นมาปิดบังตัวอาคารบริเวณริมน้ำให้หมดไปแล้วทัศนียภาพจะดีขึ้นมากเพราะจะสามารถมองเห็นแม่น้ำเจ้าพระยา
ที่เอาทั้ง 2 เรื่องมาให้อ่านเพื่อที่จะได้รู้ประวัติความเป็นมา และอนาคตจะเกิดอะไรขึ้นต่อไปกับอาคารที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ แต่ในความเห็นส่วนตัวรู้สึกเสียดายแทนกรมศุลกากรที่ไม่เห็นคุณค่าของสถานที่ตั้งกรมศุลกากรแห่งแรก และเป็นอาคารประวัติศาสตร์ของชาติ ซึ่งมีคุณค่ามากกว่าอาคารกรมศุลกากรในปัจจุบันที่ตั้งอยู่ที่คลองเตยชนิดที่ไม่ควรจะเอามาเทียบกันเลย จริงๆแล้วกรมศุลกากรน่าที่จะขออาคารหลังนี้คืนจากกรมธนารักษ์เพื่อที่จะนำมาบูรณะให้เป็นพิพิธภัณฑ์ของกรมศุลกากรเพื่อที่จะได้เกิดประโยชน์กับคนไทยทั่วไปมากกว่าที่จะเอาไปทำโรงแรมราคาแพงเพื่อให้ชาวต่างชาติเฉพาะกลุ่มได้ชื่น โดยที่คนไทยส่วนใหญ่คงไม่มีโอกาสที่จะได้ใช้ประโยชน์อะไรเลย อีกทั้งโรงแรมแถวนั้นก็มีเยอะแยะไปหมดแล้ว พิพิธภัณฑ์ต่างหากที่แทบไม่มีเลยในบริเวณนั้น โดยการบูรณะสามารถดูตัวอย่างได้จากธนาคารแห่งประทศไทยที่เก็บรักษา อาคารเก่าได้เป็นอย่างดี พิพิธภัณฑ์ก็ควรเป็นพิพิธภัณฑ์ที่มีชีวิต ไม่ใช่สถานที่ก็เก็บของที่ไม่ใช้แล้ว โดยอาจดึงเอาชุมชนในระแวงนั้นเข้ามาร่วมคิดร่วมจัดกิจกรรมต่างๆ เช่น การออกร้านของดีในกรุงเทพ โดยให้แต่ละเขตนำสินค้าที่มีชื่อมาออกร้าน พลัดเปลี่ยนเดือนละเขต โดยอาจให้มีการสาทิตวิธีการทำสินค้าเหล่านั้นด้วย หรืออาจจัดเวทีให้นักเรียนวิทยาลัยนาฎศิลป์มาจัดการแสดง โดยให้นักเรียนเป็นคนคิดและรับผิดชอบการแสดงนั้น เพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้นักเรียนได้มีเวทีที่จะแสดงออก อีกทั้งบริเวณนั้นเป็นทีพักของชาวต่างชาติ ซึ่งเค้าก็น่าที่จะสนใจที่จะเข้ามาร่วมกิจกรรม หรือชมการแสดงโดยไม่ต้องเดินทางไปไกลถึง Rose Garden หรือ สยามนฤมิตร โดยอาจมีการเก็บค่าเข้าชมเพื่อให้นักเรียนที่มาแสดงมีรายได้ แต่หากคิดว่าพิพิธภัณฑ์อย่างเดียวไม่น่าจะมีรายได้เลี้ยงตัวเองได้ ก็อาจจัดให้มีห้องประชุมหรือห้องจัดเลี้ยงให้คนทั่วไปสามารถเข้ามาใช้บริการได้ โดยอาจให้โรงแรมโอเรียนเต็ลซึ่งอยู่ใกล้ๆกันข้ามาช่วยบริหารจัดการ และทางกรมศุลกากรก็เก็บค่าใช้สถายที่ เมื่อรื้อสิ่งปลูกสร้างที่สร้างขึ้นมาปิดบังตัวอาคารบริเวณริมน้ำให้หมดไปแล้วทัศนียภาพจะดีขึ้นมากเพราะจะสามารถมองเห็นแม่น้ำเจ้าพระยา
บางครั้งเงินก็ไม่น่าจะใช่ประโยชน์สูงสุดที่รัฐควรคิดถึง เราควรคิดถึงประโยชน์ที่ไม่ได้มาเป็นรูปตัวเงินแต่เป็นรูปของสำนึกในรากเหง้าของประวัติศาสตร์ชาติ
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
เรายังสามารถเข้าไปถ่ายภาพที่นี่ได้อยู่รึป่าวคะ
ตอบลบขอบคุนมากค่ะ ที่ให้ความรู้ดีๆแบบนี้
ตอบลบน้อยคนนัก ที่ยังสนใจและส่งเสริมอนุรักษ์ประวัติศาสตร์ของไทย
ทุกวันนี้มีแต่คนเดินหน้า แต่ไม่ได้ย้อนกับมามองข้างหลังเลย
เมื่อวานนี้ 28 มีนาคม 2554 ช่วงข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาจากฝั่งวัดสุวรรณมาที่บางรักก็สังเกตเห็นอาคารเก่าหลังนี้ เลยลองเดินไปเยี่ยมชม รู้สึกหดหู่และเสียดายเป็นอย่างมาก ความทรุดโทรม ความไม่ดูแล และยังมีการบุกรุกแอบเข้าไปอยู่อาศัย และการรุกล้ำของชุมชนแออัด ยิ่งตอกย้ำถึงการไม่เห็นคุณค่า การขาดความรับผิดชอบประสานงานของหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง ทั้งที่อยู่ใกล้กับสถานทูตฝรั่งเศส โรงแรมโอเรียนเต็ล เป็นต้น...
ตอบลบครูพลอย หนูเอาข้อมูลจากเว็บครูไปเพิ่มเติมในหัวข้อรายงานสถานที่สำคัญ ได้ป่าวคะ กลุ่มหนูทำเรื่อง ศุลกสถานอยู่พอดี (6/3)
ตอบลบขอบคุณมากครับ
ตอบลบวันก่อนเอารถจักรยานข้ามเรือท่าวัดสุวรรณสะดุดตากับอาคารเก่ารูปทรงคลาสิค อดใจไม่ไหวขี่จักรยานไปตามหา ไปถึงพบความคุ้มค่ามากๆทำให้เรารู้ว่าการขับจักรยานทำให้เรามองโลกได้มากกว่า วันนี้ป้ายบอกประวัติอาคารโดนรื้อทิ้งไปแล้วครับ ตัวอาคารถูกสอดแทรกด้วยพันธ์ไม้และดูเหมือนหนังของโจวชิงสือ คนเล็กหมัดเทวดา มีชีวิตหลากหลายตั้งแต่แตะตะก้อหน้าอาคาร แม่ค้าขายของดูเหมือนว่าจิตวิญญาณของเมืองจะทรงคุณค่ามากกว่าการจัดหาผลประโยชน์ให้กับกลุ่มคนเพียงกลุ่มเดียว ผมเองก็กลับไปเยี่ยมบ่อยๆ ก่อนที่จะกลายเป็นสถานที่อย่างโอเลียนเทล แค่ใส่ขาสั้นเข้าไปก็ไม่ได้แล้วที่นั่นคนไทยทั่วไปกลายเป็นตัวประหลาด
ตอบลบ