วันพฤหัสบดีที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2553
ภาวะโลกร้อนที่เกียวโต
ภาวะโลกร้อนที่เกียวโต
พิธีสารเกียวโต หรือที่มีชื่อเต็มอย่างเป็นทางการว่า Kyoto Protocol to the United Nations Framework Convention on Climate Change ซึ่งเป็นมาตรการทางกฎหมาย ที่ใช้ในการดำเนินการ เพื่อบรรลุเป้าหมาย ในการรับมือกับภาวะโลกร้อน มีผลบังคับใช้ไปเรียบร้อยแล้ว โดยประกาศในข้อตกลง ครั้งประวัติศาสตร์ ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลก ขององค์สหประชาชาติ
ประเทศที่ให้สัตยาบันในพิธีสารนี้ ต้องหามาตรการ ในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ออกสู่ชั้นบรรยากาศ โดยเฉพาะประเทศอุตสาหกรรมสำคัญ 34 ประเทศให้ได้ 5.2 เปอร์เซ็นต์ ภายในปี พ.ศ. 2555 ซึ่งประเทศที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ออกสู่บรรยากาศมาก อย่างเช่น สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย จีน และอินเดีย ล้วนยังไม่ได้ให้สัตยาบัน กับพิธีสารดังกล่าว
จะด้วยเหตุอันใดก็แล้วแต่ ผลการศึกษาของนักวิทยาศาสตร์ ในประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นตัวการสำคัญ ในการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยเฉพาะคาร์บอนไดออกไซด์ ส่วนใหญ่ล้วนมีข้อสรุปในทิศทางเดียวกันว่า ก๊าซเรือนกระจก เป็นสาเหตุที่ทำให้โลกร้อนขึ้น และแน่นอนว่า มาจากฝีมือของมนุษย์ ไม่ใช่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เหมือนกับที่ใครบางคน พยายามอ้างเพื่อทำให้เกิดความลังเล และซื้อเวลาต่อไปอีกสักระยะหนึ่ง
รายงานจาก American Association for the Advancement of Science ซึ่งออกมาหลังจากพิธีสารเกียวโต มีผลบังคับใช้ 1 วัน แสดงให้เห็นว่า โลกกำลังร้อนขึ้นจริงๆ ด้วยผลการศึกษา ที่อ้างอิงจากระดับอุณหภูมิ ของน้ำทะเลในมหาสมุทร ที่นักวิทยาศาสตร์ระบุว่า เป็นดรรชนีชี้วัดได้ดีที่สุด เกี่ยวกับการอุบัติของภาวะโลกร้อน
จากข้อมูลอุณหภูมิ ที่ถูกบันทึกไว้กว่าล้านเรคคอร์ด โดย U.S. National Oceanic and Atmospheric Administration และแบบจำลองทางคอมพิวเตอร์ ทำให้นักวิทยาศาสตร์ทราบว่า โลกร้อนกำลังเกิดขึ้นและดำเนินอยู่ โดยมีสาเหตุมาจาก ก๊าซเรือนกระจกที่มากเกินไป ในชั้นบรรยากาศ และไม่ได้มีสาเหตุหลัก มาจากการเปลี่ยนแปลงของดวงอาทิตย์ หรือการระเบิดของภูเขาไฟ
หิมะและธารน้ำแข็งที่ลดลง จะส่งผลกระทบต่อแหล่งน้ำ ที่มีแหล่งกำเนิดมาจากทั้งสองแหล่งดังกล่าว บนเทือกเขาสูง (อย่าลืมว่า แหล่งกำเนิดของแม่น้ำโขง ก็มาจากการละลายของหิมะ บนเทือกเขาหิมาลัยเช่นกัน) ภาวะแห้งแล้ง อาจเกิดขึ้นเร็ว และกินช่วงระยะเวลานาน กว่าที่เคยเป็นมาในอดีต
ที่นักวิทยาศาสตร์เป็นห่วง ก็คือการละลายของธารน้ำแข็ง และภูเขาน้ำแข็ง บริเวณขั้วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เกาะกรีนแลนด์ ซึ่งถ้าหากว่าละลายหมด จะสามารถทำให้ระดับน้ำทะเล เพิ่มสูงขึ้นถึง 23 ฟุตเลยทีเดียว นอกจากนั้นแล้ว น้ำที่เกิดจากการละลายของน้ำแข็ง จะส่งผลกระทบ ต่อระบบการหมุนเวียน ของกระแสน้ำ ในมหาสมุทร ที่เราเรียกว่า Ocean Conveyer Belt
ถ้าหากว่าระบบดังกล่าวหยุดลง ประเทศทางแถบซีกโลกเหนือ จะต้องเผชิญกับความหนาวเย็นสุดขั้วในฤดูหนาว เนื่องจากกระแสน้ำอุ่น ไม่สามารถไหลขึ้นไปหล่อเลี้ยง ทำให้เกิดความอบอุ่นเพียงพอได้ ซึ่งเป็นที่สันนิษฐานกันว่า ความหนาวเย็นผิดปกติ ที่เกิดขึ้นทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือ ของอเมริกา ที่ผ่านมานี้ อาจเป็นการส่งสัญญาณเตือนถึง ความผิดปกติที่กำลังเกิดขึ้น
ที่นอกไปจากนั้นก็คือ การละลายของน้ำแข็ง ยังเป็นสาเหตุสำคัญ ของการลดลงของสสาหร่ายทะเล และแพลงก์ตอน ที่เป็นเสมือนกับอารหารหลัก ของบรรดาสัตว์ทะเล ซึ่งถือได้ว่า เป็นผู้ผลิตของห่วงโซ่อาหาร โดยมีมนุษย์อยู่ท้ายสุด ของห่วงโซ่นั่น
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น