Wlecom To Blog Kru Ploy Na Ka

หน้าเว็บ


ขอฝากจากตลาดคลองสาน 100 ปี

วันศุกร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2553

พิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก


สังคมไทยในทุกวันนี้กำลังประสบปัญหาอันเนื่องมาจากสภาวะโลกไร้พรมแดน ทำให้กระแสวัฒนธรรมตะวันตกและกระแสเทคโนโลยีหลั่งไหลมาสู่สังคมไทยอย่างรวดเร็วและเป็นจำนวนมาก ในขณะที่คนไทยยังขาดจุดยึดเหนี่ยวทางค่านิยมและเอกลักษณ์ของตนเองพร้อมที่จะเปิดรับอารยะธรรมใหม่ๆ โดยขาดการปรับใช้ให้เหมาะสมกับสภาพสังคมและวิถีชีวิตของตน การชื่นชมยินดีกับนวัตกรรมใหม่ตามแบบชาวต่างชาติทำให้คนไทยขาดสำนึกของความเป็นไทยขาดความภาคภูมิใจในค่านิยมไทยและที่สำคัญทำให้ขาดความเชื่อถือในภูมิปัญญาตามวิถีไทย

ทั้งนี้สาเหตุสำคัญประการหนึ่งน่าจะเกิดจากการที่สังคมไทยยังขาดแหล่งศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องสังคม วัฒนธรรม วิถีชีวิตของท้องถิ่น และภูมิกำเนิดของตนเอง ทำให้กระบวนการเรียนรู้ทางสังคมขาดความเชื่อมโยงจากฐานรากของสังคม ประชาชนเรียนรู้จากกระแสความนิยม และความสนใจส่วนบุคคล ขาดกระบวนการกลั่นกรองเพื่อปรับใช้ให้เหมาะสมสอดคล้องกับวิถีชีวิตดั้งเดิม นอกจากนี้ยังทำให้การพัฒนาทางสังคมขาดความต่อเนื่องและกลายเป็นสังคมที่ขาดเอกลักษณ์ของตนเองในที่สุด

ด้วยเหตุผลดังกล่าว กรุงเทพมหานครโดยสำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว จึงเห็นสมควรให้มีการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นกรุงเทพมหานครขึ้นในทุกเขตพื้นที่ของกรุงเทพมหานคร เพื่อเป็นแหล่งรวบรวม เรียนรู้ มรดกทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาของผู้คนในแต่ละท้องถิ่นเผยแพร่แก่ประชาชน นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ซึ่งเป็นนโยบายของ กทม.ในการที่จะพัฒนาให้ กทม.เป็นมหานครแห่งวัฒนธรรม โดยดำเนินการจัดสร้างพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นกรุงเทพมหานครในปี2546แล้วจำนวน27แห่ง

สำหรับประวัติความเป็นมาของพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นกรุงเทพมหานครเขตบางรัก หรือพิพิธภัณฑ์ชาวบางกอกมีดังนี้

พิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก (Bangkok Folk's Museum) ได้จัดตั้งขึ้นตามวัตถุประสงค์และความตั้งใจของอาจารย์ วราพร สุรวดี ผู้เป็นเจ้าของซึ่งอยากจะจัดบ้าน และทรัพย์สินที่ได้รับมรดกจากมารดาคือ นางสอาง สุรวดี(ตันบุญเต็ก) ให้เป็นพิพิธภัณฑ์เพื่อให้เยาวชนคนรุ่นหลังและผู้สนใจได้ศึกษา

เมื่อ อ. วราพร จัดสิ่งของเสร็จได้ทำเรื่องยกบ้านหลังนี้ให้เป็นสมบัติของ กทม. หลังจากนั้น กทม. ได้จัดบริเวณชั้นสองของอาคารสาม เป็นนิทรรศการภาพรวมของ กทม.จากอดีตจนถึงปัจจุบัน เป็นส่วนหนึ่งของโครงการนำร่องสนองนโยบายการมีพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นของแต่ละเขต

การโอนกรรมสิทธิ์แก่ กทม.เสร็จสมบูรณ์เมื่อวันที่1 ตค. 2547 และ กทม.ได้เข้าบริหารจัดการเป็นต้นมา
อาคารและวัตถุประสงค์ในการจัดแสดงบอกเรื่องราวเกี่ยวกับสภาพวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบางกอกที่มีฐานะปานกลางในช่วงก่อนและหลังสงครามโลกครั้งที่สองคือระหว่าง พศ.2480-2500

อาคารหลังที่1
เป็นอาคารที่ครอบครัวสุรวดีเคยใช้อยู่อาศัยแต่เดิมในอดีต โดยมารดาของ อ. วราพร สร้างขึ้นในปี พศ.2480 ลักษณะเป็นสถาปัตกรรมที่ได้รับอิทธิพลมาจากตะวันตกซึ่งเป็นที่นิยมในยุคนั้น คือเป็นอาคารไม้สองชั้น หลังคาเป็นทรงปั้นหยามุงกระเบื้องว่าวสีแดง ผนังอาคารสร้างด้วยไม้ทาสีเลียนแบบผนังก่ออิฐถือปูนฝีมือช่างชาวจีนเป็นผู้ก่อสร้างที่เรียกกันว่าทรงปั้นหยารุ่นปลาย โดยลวดลายฉลุลายที่ชายคาออกงบประมาณในการก่อสร้าง2,400บาท และต่อมาได้มีการก่อสร้างเพิ่มเติมภายหลังในปี พศ.2503

1 ความคิดเห็น:

  1. เรียน คุณkru ploy
    ดิฉันเป็นนักวิืชาการ รับผิดชอบการทำฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย ซึ่งเป็นเว็บไซต์ที่รวบรวมข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับพิพิธภัณฑ์ทั่วประเทศ ขณะนี้เรากำลังรวบรวมงานเขียนของ blogger ที่เกี่ยวกับพิพิธภัณฑ์ ที่มีเนื้อหาที่เป็นประโยชน์ เพื่อนำมาเผยแพร่ในเว็บไซต์ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
    ดิฉันเห็นว่า blog ของคุณKru Ploy เขียนเกี่ยวกับพิพิธภัณฑ์ มีเนื้อหาที่ประโยชน์และน่าสนใจ จึงจะขออนุญาตนำ link ของ blog คุณKru Ploy ไปเผยแพร่ต่อในหน้าเว็บไซต์ของเรา ไม่ทราบว่าคุณKru Ploy จะขัดข้องหรือไม่คะ
    หากข้อสงสัยประการใดโปรดติดต่อได้ที่ panita@sac.or.th หรือ โืทร. 02-8809429 ต่อ 3803 ค่ะ

    ขอบคุณค่ะ
    ปณิตา สระวาสี

    ปล. ดูตัวอย่างเว็บไซต์ได้ที่
    http://www.eighteggs.com/sac_new/museumdatabase/index.php

    ตอบลบ