Wlecom To Blog Kru Ploy Na Ka

หน้าเว็บ


ขอฝากจากตลาดคลองสาน 100 ปี

วันจันทร์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2553

วัดพระศรีมหาอุมาเทวี


วัดพระศรีมหาอุมาเทวีสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๔ โดยคณะชาวอินเดียใต้ซึ่งเข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ทางภาคใต้ของประเทศไทยนานแล้ว เมื่อนายไวตีฯ และญาติมิตรที่ตั้งบ้านเรือนอยู่บนถนนสีลมมีศรัทธาจัดสร้างวัดเพื่อเป็นที่บูชาพระอุมา ตามลัทธิศักติทางศาสนาฮินดู คณะกรรมการอาทิ นายไวตรีประเดียอะจิ นายนารายเจติ นายโกบาระตี ได้ขอแลกที่ดินของพวกตนกับสวนผักของนางปั้น อุปการโกษากร มีเจ้าแม่ศรีมหาอุมาเทวีเป็นประธานองค์เทพและเทพี (เทวี) ต่าง ๆ ได้นำมาจากประเทศอินเดีย รวมทั้งพระพิฆเนศวรองค์หนึ่งซึ่งคตินิยมของพราหมณ์ฮินดูตอนใต้ถือว่าทรงเป็นเทพที่รักษาพรหมจรรย์ตลอดกาล

พระพิฆเนศวรประทับนั่งขัดสมาธิ มี ๔ กร พระกรขวาบนทรงอังกุศะ พระพรขวาล่างทรงงาหักในลักษณะคว่ำส่วนปลายลงคล้ายเหล็กจาร พระกรซ้ายบนทรงปาศะ พระกรซ้ายล่างทรงขนมโมทกะซึ่งพระองค์กำลังใช้งวงหยิบอยู่ ทรงสวมกรัณฑมงกุฎ ไม่มีงาข้างขวา พระพิฆเนศวรองค์นี้มีลักษณะแบบศิลปะอินเดียตอนใต้ตอนปลาย พระองค์อ้วนเตี้ย ค่อนข้างเทอะทะแต่แฝงไว้ซึ่งความหนักแน่นและมีอำนาจ

กำเนิดพระศรีมหาอุมาเทวีศาลไม้ใต้ต้นสะเดาสมัยรัชกาลที่ ๕

วัดพระศรีมหาอุมาเทวีนั้น เป็นวัดฮินดูเก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย มีอายุตั้งแต่สมัยแผ่นดินพระพุทธเจ้าหลวง เมื่อถนนสีลมยังคงเป็นไร่อ้อย มิได้เจริญและเป็นถนนสายธุรกิจอย่างทุกวันนี้ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๑ ชนเผ่าภารตะฑราวิฑนาดู (ทมิฬ) จากอินเดียตอนใต้ได้รอนแรมข้ามทะเลขึ้นบกที่แหลมมลายู กระจัดกระจายอยู่ตามเกาะพังงา เกาะภูเก็ต นครศรีธรรมราช และบางส่วนไปตั้งรกรากอยู่ที่มาเลเซีย อีกส่วนหนึ่งมุ่งขึ้นสู่เมืองบางกอก

ปี พ.ศ. ๒๔๒๒ ชาวทมิฬเริ่มทยอยสู่เมืองบางกอก เพื่อตั้งรกรากหาเลี้ยงชีพตามที่ตนถนัด ในระยะแรก ๆ นั้น มีการตั้งรูปเคารพ “มารีอามัน” หรืออีกนัยหนี่งว่า พระศรีมหาอุมาเทวี ซึ่งตอนนั้นมีความเชื่อว่า มารีอามัน คือ เทวีผู้บำบัดปัดเป่าและรักษาไข้ทรพิษ และเป็นเทพที่ชาวทมิฬให้ความเคารพนับถือมาแต่โบราณ ถนนสายหนึ่งที่ชาวบ้านทมิฬเข้ามาตั้งรกรากคือ “วินด์มิลล์ โรด” (Windmill Road) ชาวดัชน์ ซึ่งมาจากประเทศเนเธอแลนด์ หรือฮอลแลนด์มาตั้งกังหันลมขนาดใหญ่ไว้ที่หัวมุมถนน ฉะนั้นภายหลังจึงมีการเรียกถนนสายนี้ว่า “สีลม” ในย่านนั้นสมัยก่อนโน้นเป็นไร่อ้อย และที่บริเวณหัวลำโพงทุกวันนี้ มีต้นสะเดาอยู่ต้นหนึ่งท่ามกลางไร่อ้อย รูปเคารพของพระมหาเทวี ประดิษฐานอยู่ตรงบริเวณนี้ มีความชุ่มเย็นและเป็นธรรมชาติ ด้วยมีลำคลองเป็นเส้นทางสัญจรด้วย ด้วยเหตุนี้งานประเพณีนวราตรีของวัดพระศรีมหาอุมาเทวี คนทรงพระแม่ซึ่งทูนหม้อกลาฮัมจึงตกแต่งยอดด้วยใบและดอกสะเดาแขก


ในสมัยที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสต่างประเทศ พระองค์เคยเสด็จไปที่ประเทศอินเดีย เมื่อเสด็จกลับเมืองไทย ได้รับสั่งกับชาวทราวิฑนาดู ว่า “ทางประเทศอินเดียได้ฝากฝังเอาไว้ มีสิ่งใดที่พระองค์จะช่วยเหลือให้บอก”


ชาวอินเดียเชื้อสายทมิฬมิได้ขอสิ่งใดนอกจากขอสร้างเทวาลัยสำหรับบูชาตามลัทธิประเพณีเท่านั้นเอง พระองค์ทรงมีพระบรมราชานุญาตให้จัดสร้างตามที่ขอได้ เทวาลัยแห่งแรกสำหรับประกอบพิธีกรรมทางศาสนาของชาวฮินดูเชื้อสายทมิฬ สร้างขึ้นที่บริเวณหัวลำโพงเป็นศาลไม้ธรรมดา ๆ ต่อมาเริ่มทรุดโทรมลงตามกาลเวลาจึงได้โยกย้ายไปอยู่ที่บริเวณวัดพระศรีมหาอุมาเทวี (วัดแขกสีลม) อยู่จนทุกวันนี้ ที่ได้มีชาวทราวิฑนาดูแยกไปตั้งรกราก ที่แห่งนี้จะมีประเพณีใกล้เคียงกัน โดยเฉพาะประเพณีการบูชาเทพเจ้าชาวภูเก็ตในช่วงเทศกาลกินเจ มีลักษณะการทรงเจ้าลม้ายคล้ายคลึงกับประเพณีดูเซร่าของวัดแขกสีลม มีการใช้ของแหลมเสียบแทงลงไปตามเนื้อตัว เพื่อเป็นการถวายบูชาด้วยการทรมานร่างกายของตน

จะเห็นได้ว่า ชาวทมิฬในสายของภูเก็ตก็ดี หรือสายของมาเลเซียก็ดี เมื่อไปผสมเผ่าพันธุ์ชาวพื้นเมืองอย่างชนชาติจีน ที่มีความเชื่อและศรัทธาในเทพเจ้า ก็เลยการผสมเจ้าเข้าไว้ด้วยกัน ต่างก็เน้นไปที่การแสดงอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์เสียมาก จนโดนสื่อมวลชนตรวจสอบกันไปก็หลายครั้ง

ที่มาเลเซีย – สิงคโปร์ เรียกงานดังกล่าวว่า ไตปูซัน

ต้องยอมรับว่าประเพณีแห่เจ้าแม่ศรีมหาอุมาเทวีนั้นเป็นระเบียบเรียบร้อยมากกว่า เป็นผลผลิตจากเทวาลัยเพียงแห่งเดียวเท่านั้น ไม่ได้มาจากสายของตำหนักทรงทั้งหลาย แต่กระนั้น ตำหนักทรงหลายแห่งนั้น นิยมมาเข้าเฝ้าและทำหน้าที่เปิดตำหนักสัญจรบนเส้นทางที่พระเทวียาตราผ่าน แต่นั่นเป็นเพียงการจัดฉากเท่านั้นเอง เพราะอย่างไรเสีย ก็ต้องให้เกียรติกับเจ้าของงาน วัดพระศรีมหาอุมาเทวีได้จดทะเบียนเป็น “มูลนิธิ วัดพระศรีมหาอุมาเทวี” เมื่อวันที่ ๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๕๘ งานประเพณีนวราตรีนั้นเป็นประเพณีนั้นเป็นประเพณีที่สืบกันมาเป็นเวลานับร้อยปี อาจหายไปบ้างในช่วงภาวะสงครามโลกครั้งที่ ๒ มีความเชื่อว่า ช่วงเวลาของประเพณีดูเซร่า หรือ “นวราตรี” จะเป็นช่วงที่พระแม่และขบวนเทพเสด็จลงมายังโลกเพื่อประทานพรให้กับมนุษย์ทั้งหลาย โดยเฉพาะวันสุดท้าย เรียกกันว่า “วันวิชัยทัสมิ” (วันแห่งชัยชนะ) ซึ่งจะเป็นวันที่ฉลองชัยขององค์พระแม่ที่มีต่ออสูรและหมู่มารร้าย ซึ่งงานดังกล่าวแต่ละท้องถิ่นก็จะมีตำนานที่แตกต่างกันไป
วัดแขกเดิมเป็นสถานที่จำเพาะของผู้นับถือศาสนาฮินดูเท่านั้น ในตอนบ่ายจะมีการปิดโบสถ์ เพื่ออ่านรามเกียรติ์เพื่อสรรเสริญพระเป็นเจ้า เทศกาลที่ชาวเมืองมีโอกาสเข้าร่วมด้วยคือ เทศกาลแห่เจ้าแม่วัดแขก ประมาณเดือนตุลาคมของทุกปี "เทศกาลนวราตรี"หรือ "เทศกาลดุซเซร่า" มีการจัดขบวนอัญเชิญเจ้าแม่แห่ไปตามถนนรอบชุมชนฮินดูจากสีลมไปเดโช แล้วย้อนมาที่ถนนปั้นไปออกถนนสาธรแล้ววกกลับที่ถนนสุรศักดิ์ เพื่อมายังหน้าวัดที่ถนนสีลมอีกครั้งหนึ่ง ในปัจจุบัน วัดแขกเปิดกว้างต้อนรับผู้คนมากขึ้น ทั้งผู้มีจิตศรัทธาองค์พระศรีมหาอุมาเทวีไม่ว่าจะนับถือศาสนาใดๆ รวมทั้งนักท่องเที่ยวต่างชาติ และมีการสร้างสถาปัตยกรรมแบบอินเดียตอนใต้โดยเฉพาะอย่างยิ่งโคปุระ หรือซุ้มประตูที่ตกแต่งเป็นรูปปูนปั้นเทพเจ้าต่างๆ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น