Wlecom To Blog Kru Ploy Na Ka

หน้าเว็บ


ขอฝากจากตลาดคลองสาน 100 ปี

วันพุธที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2553

วัดยานนาวา


วัดยานนาวา ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ติดถนนเจริญกรุง เขตยานนาวา เป็นวัดโราณ มีมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา
วัดยานนาวา ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาด้านตะวันออก บริเวณด้านใต้บ้านอู่ อันเป็นแหล่งต่ออู่สำเภาและซ่อมแซมเรือสำเภาเมืองบางกอก เดิมมีนามว่า “ วัดคอกควาย” สันนิษฐานว่า สร้างขึ้นในสมัยอยุธยาตอนกลาง ราวๆสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช แต่ไม่ปรากฏนามผู้สร้าง ในสมัยกรุงธนบุรี ( ประมาณ พ. ศ. ๒๓๑๙) พระบาทสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามวัดใหม่ว่า “ วัดคอกกระบือ” และทรงสถาปนาเป็นพระอารามหลวงเพื่อเป็นที่สถิตของพระราชาคณะ

เมื่อปี พ. ศ. ๒๓๒๕ อันเป็นปีที่ ๑ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกพร้อมๆกับการสร้างกรุงเทพมหานคร พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ ๑ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานวิสุงคามสีมาพร้อมกับทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สร้างพระอุโบสถขึ้นใหม่ มีขนาดเล็กแทนพระอุโบสถเดิมที่ชำรุดตั้งแต่คราวกรุงศรีอยุธยาแตก และเมืองบางกอกถูกพม่ายึด ได้รับความเสียหายมาก โดยพระอุโบสถที่สร้างขึ้นใหม่นี้ หันหน้าไปทางแม่น้ำเจ้าพระยา พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ ๑ และพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ ทรงพระกรุณาเสด็จฯพระราชทานผ้าพระกฐินที่วัดนี้ โดยกระบวนพยุหยาตรา ทางชลมารค เป็นระยะทางประมาณ๑๒๖ เส้น ตั้งแต่ปี พ. ศ. ๒๓๓๐-๒๓๕๓ เป็นประจำทุกปี

ต่อมา ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สร้างหมู่กุฏิสงฆ์ และให้ปฏิสังขรณ์พระอารามส่วนที่ทรุดโทรม กับทรงมีพระราชดำริว่า พระอุโบสถเดิมมีขนาดเล็ก จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บูรณปฏิสังขรณ์และขยายพระอุโบสถให้มีขนาดใหญ่ขึ้น พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ บริจาคพระราชทรัพย์ ๑, ๐๐๐ ชั่ง ทำสัตตสดกมหาทาน และทรงทิ้งฉลากพระราชทานพระราชโอรสพระราชธิดา และของต่างๆ ถวายเป็นพุทธบูชาในคราวนั้น ครั้งหนึ่ง

อนึ่ง ในปี พ . ศ. ๒๓๘๗ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ทรงมีพระราชประสงค์จะสร้างพระสถูปเจดีย์ไว้ที่ วัดคอกกระบือ เพื่อเป็นอนุสรณ์ในการที่พระองค์ทรงใช้เรือสำเภาขนสินค้าไปทำมาค้าขายถึงเมืองจีนและประเทศต่างๆ โดยทรงมีพระราชดำริว่า ต่อไปในภายหน้ารูปลักษณ์เรือสำเภาอาจจะเปลี่ยนไป คนรุ่นหลังอาจจะจำรูปลักษณ์สำเภาจีนที่พระองค์ทรงใช้เป็นพาหนะไม่ได้ เพื่อให้คนรุ่นหลังได้เห็นและจำรูปแบบเรือสำเภาจีนที่พระองค์ทรงใช้เป็นพาหนะได้ กับทรงรำลึกถึงพระธรรมในเวสสันดรชาดกด้วยจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สร้างพระสถูป เจดีย์ เป็นแบบอย่างใหม่ขึ้น เป็นสำเภาจีนมีพระเจดีย์ ๒ องค์อยู่บนเรือ กล่าวอีก นัยหนึ่งก็คือ ทรงสร้างพระสถูปเจดีย์มีฐานเป็นเรือสำเภาจีน พร้อมกับทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนาม วัดคอกกระบือ ว่า “ วัดญานนาวาราม” ตามพระสำเภาพระเจดีย์ที่ทรงสร้างถวายไว้ ซึ่งแปลว่า “ ญาณอันเป็นพาหนะดุจดั่งสำเภาข้ามโอฆะสงสาร” ซึ่งสืบเนื่องมาจากมหาชาติคำหลวงเรื่องพระเวส สันดรชาดก ตอนพระเวสสันดร ทรงตรัสเรียกกัณหาและชาลี ให้อุทิศตนร่วมกับพระบิดาสร้างมหากุศลอันเป็นเสมือนสำเภาใหญ่พามนุษยชาติข้ามโอฆะสงสารไปสู่พระนิพพาน กับทั้งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สร้างรูปหล่อสำริดพระเวสสันดร กัณหาและชาลีไว้บน พระสำเภาพระเจดีย์ นี้ด้วย สำหรับชื่อ “ วัดญานนาวาราม” นี้ต่อมาได้เลือนมาเป็น “ วัดยานนาวา” ที่มีความหมายใกล้เคียงกับชื่อเดิม คือ “ วัดอันมีพาหนะดุจสำเภาในการที่จะนำพาเวไนยสัตว์ให้ข้ามพ้นโอฆะสงสาร”

พระสำเภาพระเจดีย์
พระสำเภาพระเจดีย์ วัดยานนาวา นี้ ได้กลายมาเป็นต้นแบบในการสร้าง พระสำเภากระจาดใหญ่ ในงานพระราชพิธีเทศน์มหาชาติในรัชกาลที่ ๔ และรัชกาลที่ ๕ ที่จัดขึ้นที่หน้าพระที่นั่งสุทไธสวรรย์ มาแต่บัดนั้น คือราว พ. ศ. ๒๔๐๙ ในคราวที่ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ ( พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕) ทรงถวายกัณฑ์เทศน์มหาชาติ กัณฑ์สักกบรรพ เมื่อวันที่ ๒๓ ตุลาคม พ. ศ. ๒๔๐๙ และในปี พ. ศ. ๒๔๓๔ ในคราวที่ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงถวายกัณฑ์เทศน์มหาชาต กัณฑ์สักกบรรพ เมื่อวันที่ ๑๕ ธันวาคม พ. ศ. ๒๔๓๔ เช่นกัน

นอกจากนั้น พระเจดีย์ ทั้ง ๒ องค์ ที่อยู่บน พระสำเภา วัดยานนาวานั้น ยังเป็น รูปแบบสถาปัตยกรรม“ แบบขนบประเพณี” พระเจดีย์ แบบย่อมุมไม้สิบหก และ แบบย่อมุมไม้ยี่สิบ ที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๓ ตอนต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ที่มีความงามและเป็นเอกลักษณ์ยิ่ง ยากที่จะหา พระเจดีย์ แบบนี้ในปัจจุบันให้อนุชนได้ศึกษาและดูเป็นแบบอย่างได้ โดยปรกติ การสร้างสถูปเจดีย์นั้น ผู้สร้างมักจะสร้างเพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือเป็นอุทิศสถานเจดีย์ เป็นพุทธบูชาหรือเพื่อเป็นที่บรรจุอัฐิของบุคคลที่ตนเคารพรัก เพื่อเป็นอนุสรณ์

แต่ พระเจดีย์ ๒ องค์ ที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สร้างไว้บน พระสำเภา วัดยานนาวานี้ ไม่มีหลักฐานหรือร่องรอยใดๆว่าได้บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ หรือบรรจุอัฐิด้วยเหตุนี้ จึงมีหลายท่านสัณนิษฐานว่า ที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สร้างพระเจดีย์องค์ใหญ่น้อย เพียง ๒ องค์ ไว้ในพระสำเภา คงจะทรงตั้งพระราชหฤทัยอุทิศพระราชกุศลแก่พระเจ้าลูกเธอพระองค์เจ้าลักขณา (ซึ่งเป็นพระบิดาของพระองค์เจ้าโสมนัสวัฒนาวดีพระอัครชายาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) ที่สิ้นพระชนม์ไปแล้ว และเพื่อจะทรงแผ่พระราชกุศลแก่พระเจ้าลูกเธอกรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ ให้หายพระประชวร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น