Wlecom To Blog Kru Ploy Na Ka

หน้าเว็บ


ขอฝากจากตลาดคลองสาน 100 ปี

วันอังคารที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ทำไมประเทศพม่าจึงเปลี่ยนชื่อเป็น 'เมียนมาร์'


1. ทำไมประเทศพม่าจึงเปลี่ยนชื่อเป็น 'เมียนมาร์' แล้วทำไมเรายังเรียกพม่าอยู่
2.ประเทศ 'Slovenia' อ่านว่าอย่างไรกันแน่ 'สโลวีเนีย' 'สโลเวเนีย' หรือ 'สโลวาเนีย'
3. ในฟุตบอลโลก ทำไมมีอยู่หนึ่งประเทศที่มีชื่อเรียกไม่เหมือนกัน บ้างก็เรียก 'ไอวอรี่โคสต์' (Ivory Coast) บ้างก็เรียก 'โกตดิวัวร์' (Cote d' Ivoire) ตกลงเราต้องเรียกว่าอะไรกันแน่

คำถามแรกที่ว่าด้วยชื่อประเทศพม่านั้น หลังจากที่เราได้ไปค้นมาแล้วก็พบว่า รัฐบาลทหารพม่าได้ทำการเปลี่ยนชื่อเรียกประเทศในภาษาอังกฤษจาก 'เบอร์มา' (Burma) มาเป็น 'เมียนมาร์' (Myanmar) ตั้งแต่ปี 1989

ไม่เพียงแต่ชื่อประเทศเท่านั้นที่ถูกเปลี่ยน ทว่าชื่อเมือง และสถานที่สำคัญๆ ต่างๆ อีกหลายแห่งก็ถูกเปลี่ยนไปด้วยเช่นกัน ไม่เว้นแม้แต่ชื่อเมืองหลวงของประเทศที่เปลี่ยนจาก 'ย่างกุ้ง' (Rangoon) มาเป็น 'ยางโกง' (Yangon)

สำหรับเหตุผลในการเปลี่ยนชื่อประเทศครั้งนี้ สันนิษฐานว่า น่าจะเป็นเพราะรัฐบาลทหารพม่าต้องการลบเลือนร่องรอยต่างๆ ที่สร้างขึ้นโดยลัทธิล่าอาณานิคมในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2

โดยในช่วงที่อังกฤษเข้ามาครอบครองพม่านั้นได้ตั้งชื่อเรียกสถานที่ต่างๆ ในพม่าใหม่แทบทั้งหมด รวมถึงชื่อประเทศด้วย ซึ่งชื่อ 'เบอร์มา' น่าจะเพี้ยนมาจากคำว่า 'บามาร์' (Bamar) ซึ่งเป็นชื่อของชนเผ่าที่ใหญ่ที่สุดในพม่า นั่นเอง

ส่วนชื่อ 'เมียนมาร์' ที่รัฐบาลทหารตั้งขึ้นมาใหม่นั้นมีความหมายตามภาษาท้องถิ่นว่า "เข้มแข็งขึ้นอย่างรวดเร็ว" โดยคำว่า 'เมียน' (Myan) มีความหมายว่า "รวดเร็ว" ส่วน 'มา' (ma) แปลว่า "เข้มแข็ง"

ทั้งนี้ ถึงแม้ว่าทางการพม่าจะประกาศเปลี่ยนชื่อประเทศของตนอย่างเป็นทางการ แต่องค์กรต่างๆ รวมถึงรัฐบาลของชาติตะวันตกหลายๆ ประเทศกลับไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว และก็ยังคงใช้ชื่อเรียกดินแดนแห่งนี้ว่า 'เบอร์มา' เช่นเคย ด้วยเหตุนี้ ถ้าหากเราลองสังเกตดูแผนที่ประเทศพม่าที่ทำขึ้นโดยคนต่างชาติ ก็จะพบว่ามีการระบุชื่อสถานที่สำคัญๆ ของประเทศเป็น 2 แบบ กล่าวคือ มีทั้งชื่อเดิมที่อังกฤษตั้ง และชื่อใหม่ที่รัฐบาลทหารพม่าตั้ง

สำหรับคนไทยเรานั้นตั้งแต่ไหนแต่ไรมาก็เรียกดินแดนแห่งนี้ว่า 'พม่า' มาโดยตลอด ซึ่งสันนิษฐานได้ว่า น่าจะเพี้ยนมาจากชื่อเรียกชนเผ่าบามาร์เช่นกัน และไทยเองก็เป็นหนึ่งในหลายๆ ประเทศที่ยังคงเรียกดินแดนแห่งนี้ว่า 'พม่า'

ทว่า หากจะถามเหตุผลว่าทำไมหลายๆ ชาติจึงไม่ยอมรับชื่อใหม่ของพม่าแล้วล่ะก็ คำตอบก็น่าจะเป็นเพราะชาติเหล่านี้ไม่ยอมรับความชอบธรรมของรัฐบาลทหารพม่า นั่นเอง

เอาล่ะหมดเรื่องประเทศพม่าก็มาต่อกันที่ชื่อเรียกประเทศ 'Slovenia' ที่ถูกต้อง จะต้องเรียกว่า 'สโลวีเนีย' ทั้งนี้ อ้างตาม "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีและประกาศราชบัณฑิตยสถาน ว่าด้วยเรื่องการกำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง" ซึ่งถือเป็นมาตรฐานสากลที่ทางการไทยของเราใช้ทั่วกัน

สุดท้าย ประเทศ 'ไอวอรี่โคสต์' (Ivory Coast) หรือ 'โกตดิวัวร์' (Cote d' Ivoire) นั้นแท้จริงแล้วก็คือประเทศเดียวกัน โดยชื่ออย่างเป็นทางการของประเทศนี้คือ 'โกตดิวัวร์' ซึ่งเป็นภาษาฝรั่งเศส หมายถึง 'เกาะสีงา' แต่เมื่อมีการนำมาแปลเป็นภาษาอังกฤษก็จะมีความหมายว่า 'ไอวอรี่โคสต์' ดังนั้น สำนักข่าวภาคภาษาอังกฤษบางแห่งจึงนิยมเรียกชื่อประเทศดังกล่าวว่า 'ไอวอรี่โคสต์'


ทำไมคนไทยถึงเรียกชื่อชาติอื่น จีน ญี่ปุ่น พม่า กัมพูชา ฝรั่งเศส แตกต่างจากภาษาอังกฤษ
ไชน่า – จีน
แจแปน – ญี่ปุ่น
เมียนมาร์ – พม่า
แกมโบเดียน – กัมพูชา
ฟรานซ์ – ฝรั่งเศส

ตอบ

1. เริ่มจากชาติแรก การเรียก ไชน่า-China ว่าจีน มีคำอธิบายจากนักเขียน-นักแปล โชติช่วง นาดอน
ผู้เชี่ยวชาญเรื่องจีนว่า ชาวไทยในแหลมทองรู้จักคำว่าจีนมานานแล้ว ในโคลงเรื่องท้าวฮุ่งหรือเจือง
ตอนที่กล่าวถึงดินแดนต่างๆก็แยกชัดเจนระหว่างจีนกับฮ่อ และสำหรับชาวไทย ใช้คำจีน-Cina-Chine-China
แพร่หลายมากที่สุดตำราเรียนและหนังสือประวัติศาสตร์ทั่วไป เขียนตามสมมติฐานที่ว่าชื่อประเทศจีน
มาจากชื่อรัฐ ฉิน ของจิ๋นซีฮ่องเต้ (ฉินสื่อหวง)

สำหรับชื่อที่ต่างชาติเรียกจีน ว่า จีน มาจากคำ จีนะซึ่งพบในอักษรสันสกฤตโบราณด้วย
อินเดีย เปอร์เซีย อาหรับ เรียกจีนว่า จีนะ แล้วแพร่หลายถึงยุโรป
กระทั่งเรียกประเทศจีนว่า China สืบเนื่องมาถึงทุกวันนี้

ขณะที่เอกสารของกรีกและโรมัน มีคำเรียกประเทศจีนอีกคำหนึ่งว่า Serice
อธิบายกันว่าหมายถึงประเทศแห่งผ้าไหม และเรียกชาวจีนว่า Seree

ส่วนกลุ่มประเทศมุสลิมยุคนั้นเรียกจีนว่า Temghaj, Tomghaj, Tohgaj
ซึ่งเชื่อว่ามาจาก สกุลของฮ่องเต้ราชวงศ์เป่ยเว่ย (ค.ศ.386-534)ที่ภาษาจีนเรียกว่าถาป๋า

2.เรียก เจแปน-Japan ว่า ญี่ปุ่น เว็บไซต์อุทยานการเรียนรู้ต้นแบบ (TKPark) มีข้อมูลว่า
คำว่า ญี่ปุ่น ไทยรับจากคนจีนเช่น ภาษาแต้จิ๋ว เรียกว่า หยิบปึ้ง ภาษากวางตุ้งเรียก ยาตปุน
ภาษาฮกเกี้ยนเรียก ยิต-ปุน ยังมีเรียก ยื่อเปิ่น ด้วยคนไทยฟังไม่ชัดเลยมาเป็นญี่ปุ่น
ส่วนคำว่า เจแปนพวกโปรตุเกสที่เข้ามาค้าขายทางเอเชียตอนแรกๆเรียกตามภาษาจีนท้องถิ่น
โดยเพี้ยนเป็น จาปอง

3.เรียก เมียนมาร์-Myanmar ว่า พม่า ราชบัณฑิตยสถานอรรถาธิบายว่า
พม่าเปลี่ยนชื่อประเทศอย่างเป็นทางการมาแล้วหลายครั้งหลังจากได้รับเอกราชพ.ศ.2491
ใช้ชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า The Union of Burma คือ สหภาพพม่าจนถึง พ.ศ.2503
ได้เปลี่ยนใช้ว่า The Socialist Republic of the Unionof Burma

ราชบัณฑิตยสถานและกระทรวงการต่างประเทศจึงกำหนดชื่อเรียกเป็นภาษาไทยว่าสาธารณรัฐ
สังคมนิยมแห่งสหภาพพม่าโดยที่พม่าใช้ชื่อนี้จนถึงเดือนกันยายน พ.ศ.2531 ก่อนเปลี่ยนกลับไปใช้
The Union of Burmaกระทั่งปัจจุบันเปลี่ยนเป็น The Union of Myanmar คำว่า Myanmar

เมื่อถอดอักษรโรมันเป็นอักษรไทย ออกเสียงตามตัวเขียนว่า มยันมาร์ หรือ
มยันม่าร์ แต่พม่าไม่มีเสียงพยัญชนะ ร และ ง ถ้าคำใดมี ร และ ง
จะออกเสียงเป็น ย และ น แทน เช่น ร่างกุ้ง เป็น ยานกูน หรือ อิระวดี
เป็น อิยาวดี เป็นต้น

คำ Myanmar ถอดตามตัวเป็นอักษรไทยเป็น มรันมา
ขณะที่เจ้าของภาษาออกเสียงฟังได้ทั้ง เหมี่ยนหม่า และเมียนม่า

กรณีนี้กระทรวงการต่างประเทศหารือกับราชบัณฑิตยสถานว่าสมควรจะกำหนดการเรียกชื่อประเทศพม่า
ที่ได้เปลี่ยนชื่อภาษาอังกฤษอย่างเป็นทางการนี้อย่างไรราชบัณฑิตยสถานโดยคณะกรรมการบัญญัติศัพท์
ภาษาไทยเห็นว่าคนไทยรู้จักและมีความสัมพันธ์ทางประวัติศาสตร์กับประเทศนี้ในชื่อว่าพม่า มาแต่โบราณ
กาล จึงเห็นควรให้เรียกชื่อนี้อย่างเป็นทางการว่าสหภาพพม่า ตามที่เคยใช้มาแต่เดิม

4.เรียก แกมโบเดีย-Cambodia ว่า กัมพูชา อาจารย์ศานติ ภักดีคำ
ภาคภาษาไทยและภาษาตะวันออก มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ อธิบายว่า
เราเรียกชื่อประเทศเพื่อนบ้านเราตามเอกสารโบราณสมัยอยุธยาซึ่งก็มีการบันทึกว่า
กรุงกัมพูชาแล้วเพราะฉะนั้นถึงแม้ปัจจุบันชื่อจะเปลี่ยนแปลงอย่างไรในภาษาอังกฤษ
แต่ประเทศกัมพูชาที่ไทยเรียกก็จะคงอ่านตามรูปคำเขียนโบราณที่มีบันทึกอยู่ในอดีตที่เราคุ้นเคย

5.เรียก ฟรานซ์-France ว่า ฝรั่งเศส โดยที่ ฝรั่งเศสเรียกประเทศตัวเองว่า ฟร้องซ์
คนฝรั่งเศสผู้ชายหรือภาษาฝรั่งเศสเรียกว่า ฟรองเซส์ (เพศหญิง เรียก
ฟรองแซส Francaise) คำเรียก ฝรั่งเศส ของเราออกตามเสียงอ่านแบบฝรั่งเศส

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น