Wlecom To Blog Kru Ploy Na Ka

หน้าเว็บ


ขอฝากจากตลาดคลองสาน 100 ปี

วันจันทร์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2553

กบฏนายสิบ


กบฏนายสิบ เป็นแผนที่จะเกิดขึ้นในเวลา 03.00 น. วันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2478 เมื่อนายทหารชั้นประทวนในกองพันต่าง ๆ นำโดย สิบเอกสวัสดิ์ มหะมัด ได้รวมตัวกันก่อการเพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยหมายจะสังหารนายทหารคนสำคัญในกองทัพบกหลายคน โดยเฉพาะหลวงประดิษฐมนูธรรม (นายปรีดี พนมยงค์) ให้จับตายเท่านั้น เมื่อลงมือจริง สามารถจับพระยาพหลพลพยุหเสนา และ พันโทหลวงพิบูลสงคราม (จอมพลป. พิบูลสงคราม - ยศในขณะนั้น) เป็นตัวประกันไว้ได้ แต่รัฐบาลสามารถจับกุมผู้คิดก่อการเอาไว้ได้ในวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2478 เวลา 12.00 น. ต่อมาได้มีการตั้งศาลพิเศษชำระคดี หัวหน้าฝ่ายกบฏ ส.อ.สวัสดิ์ มหะมัด ถูกตัดสินประหารชีวิต โดยศาลนี้ไม่มีทนาย ไม่มีอุทธรณ์ ไม่มีฎีกา และยังสามารถตั้งผู้พิพากษาได้ตามใจอีกต่างหาก โดยไม่จำเป็นต้องเป็นผู้พิพากษาที่ผ่านคดีต่าง ๆ มาแล้วอย่างมากเช่นศาลคดีตามปกติ

แนวคิดในการก่อกบฏครั้งนี้เกิดขึ้นในกองพันทหารราบที่ 2 ในบังคับบัญชาของ พันตรีหลวงประหารริปู ซึ่งตั้งอยู่ในวังจันทรเกษม (กระทรวงศึกษาธิการในปัจจุบัน)

ผู้เริ่มต้นแนวคิดนี้ คือนายสิบจำนวน 8 คน (ผู้ต้องหาไม่ยอมซัดทอดว่ามีนายทหารหรือใครที่ใหญ่กว่านี้อยู่เบื้องหลังหรือไม่ แม้ว่ารัฐบาลจะเชื่อว่าน่าจะมี โดยเฉพาะพยายามให้ซัดทอดพระยาทรงสุรเดชมากที่สุด แต่ไม่เป็นผล)

ผู้ที่เป็นต้นคิดของเหล่าสิบกองพันนี้ก็คือ สิบเอกถม เกตุอำไพ ซึ่งต่อมาก็ได้ขยายวงไปยังกองพันทหารราบที่ 3 และนายทหารอีก 7 คนที่เป็นจุดเริ่มของกบฏครั้งนี้ คือ สิบเอกแช่ม บัวปลื้ม, สิบเอกตะเข็บ สายสุวรรณ, สิบเอกเท้ง แซ่ซิ้ม, สิบเอกกวย สินธุวงศ์, สิบเอกเข็ม เฉลยทิศ, สิบโทหม่อมหลวงทวีวงศ์ วัชรีวงศ์, สิบโทแผ้ว แสงส่งสูง

ซึ่งทั้ง 8 คนนี้เป็นนายสิบอาวุโสของกองพัน เป็นผู้ที่คุมคลังอาวุธของกองพัน และเป็นทหารที่ใกล้ชิดกับเหล่าพลทหารที่เป็นกำลังหลักของแต่ละกองพัน ซึ่งเหล่านายสิบนี้คาดว่าจะนำกำลังเหล่านี้ออกปฏิบัติการในวันก่อการ

ส่วนกองพันทหารราบที่ 3 ที่อยู่ฝั่งตรงกันข้ามนั้นมี จ่านายสิบสาคร ภูมเทต กับ สิบเอกสวัสดิ์ มหะหมัด เป็นหัวแรงสำคัญ การพบปะพูดคุยกันก็ใช้ร้านค้าร้านอาหารที่สังสรรค์ของระดับชั้นประทวน

แผนที่เหล่านายสิบกลุ่มนี้คิดขึ้น คือ จะมีการนำเอารถถังออกมาข่มขวัญสักจำนวนหนึ่ง และแบ่งสายทหารราบเข้าประชิดตัวบรรดาสมาชิกของคณะราษฎร โดยเฉพาะสายของหลวงพิบูลสงคราม เช่น หม่อมเจ้าวรรณไวทยากร วรวรรณ, พันตำรวจเอกหลวงอดุลเดชจำรัส และ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพยอาภา

แต่ว่าแผนการทั้งหมดได้เกิดแตกเสียก่อน เมื่อสิบเอกผู้หนึ่งในกรมรถรบที่ร่วมรู้ในแผนได้นำไปบอกกับทางรัฐบาล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น