วันจันทร์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2553
กบฏพระยาทรงสุรเดช(กบฏ 18 ศพ)
กบฏพระยาทรงสุรเดช หรือ กบฏ 18 ศพ หรือ กบฏ พ.ศ. 2481 เป็นเหตุการณ์ความวุ่นวายที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2482 เนื่องจากความขัดแย้งระหว่าง หลวงพิบูลสงคราม กับพระยาทรงสุรเดช(เทพ พันธุมเสน) ตั้งแต่ก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 การสนับสนุนพระยามโนปกรณ์นิติธาดา เหตุการณ์ครั้งกบฏบวรเดช และเหตุการณ์พยายามลอบสังหารหลวงพิบูลสงครามติดต่อกันหลายครั้ง (ลอบยิง 2 ครั้ง วางยาพิษ 1 ครั้ง)
พระยาทรงสุรเดช (เทพ พันธุมเสน)
เมื่อหลวงพิบูลสงคราม ได้ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี สืบต่อจากพระยาพหลพลพยุหเสนา เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2481 พระยาทรงสุรเดช ขณะนั้นดำรงตำแหน่ง ผู้บัญชาการโรงเรียนรบ จังหวัดเชียงใหม่ ได้นำนักศึกษาไปฝึกภาคสนามที่จังหวัดราชบุรี ได้ถูกคำสั่งให้พ้นจากราชการโดยไม่มีเบี้ยหวัดบำนาญ และบังคับให้เดินทางออกนอกประเทศ ซึ่งก็คือเขมรโดยทันที พร้อมด้วยร้อยเอกสำรวจ กาญจนสิทธิ์ ทส. ประจำตัว
ได้มีการกวาดล้างโดย พันเอกหลวงอดุลยเดชจรัส อธิบดีกรมตำรวจ และรัฐมนตรีมหาดไทย จับตายนายทหารสายพระยาทรงสุรเดช3คน จับกุมผู้ที่ต้องสงสัย จำนวน 51 คน เมื่อเช้ามืด ของวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2482 ประกอบด้วย
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนชัยนาทนเรนทร
พลโท พระยาเทพหัสดิน (ผาด เทพหัสดิน ณ อยุธยา) - อดีตแม่ทัพไทยในสงครามโลกครั้งที่ 1
พระยาอุดมพงศ์เพ็ญสวัสดิ์ - อดีตรัฐมนตรี
พระวุฒิภาคภักดี
พันเอก พระสิทธเรืองเดชพล (แสง พันธุประภาส) อดีตรัฐมนตรี
พันโท พระสุวรรณชิต (วร กังสวร)
ร้อยโท ณ เณร ตาละลักษณ์ - อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พระนคร ผู้เคยอภิปรายโจมตีพระยาพหลพลพยุหเสนาในสภา อย่างรุนแรง
ร้อยเอก หลวงภักดีภูมิภาค
ร้อยโท ชิต ไทยอุบล
หลวงสิริราชทรัพย์
นายดาบ ผุดพันธ์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา - บุตรพระยาเทพหัสดิน
ร้อยโท เผ่าพงศ์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา - บุตรพระยาเทพหัสดิน
นายดาบ พวง พลนาวี - ข้าราชการรถไฟ พี่เขยทรงสุรเดช
พันเอก หลวงมหิทธิโยธี (สุ้ย ยุกตวิสาร) - ผู้บังคับการจังหวัดทหารบกราชบุรี
ร้อยตรี บุญมาก ฤทธิ์สิงห์ - นายทหารประจำการ
พันเอก หลวงชำนาญยุทธศิลป์ - อดีตรัฐมนตรี
ร้อยเอก ขุนคลี่พลพฤนท์ (คลี่ สุทรารชุน) - นายทหารประจำกองบังคับการ รร.รบ เชียงใหม่
พันตำรวจตรี ขุนนามนฤนาท (นาม ประดิษฐานนท์) - นายตำรวจประจำการ
พันตรี หลวงไววิทยาศร (เสงี่ยม ไววิทย์) - นายทหารประจำการ
นายทหารฝึกหัดราชการ รร.รบ เชียงใหม่ ลูกศิษย์พระยาทรงสุรเดช
ร้อยเอก จรัส สุนทรภักดี
ร้อยโท แสง วัณณศิริ
ร้อยโท สัย เกษจินดา
ร้อยโท เสริม พุ่มทอง
ร้อยโท บุญลือ โตกระแสร์
ร้อยเอก ชลอ เอมะศิริ - หลานชาย พันเอก พระยาฤทธิอัคเนย์ 1 ใน 4 ทหารเสือ
พลตรี หม่อมเจ้าวงศ์นิรชร เทวกุล
นายโชติ คุ้มพันธ์ - อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
พระยาวิชิตสรไกร
ต่อมามีการจับกุมผู้ต้องสงสัยเพิ่มอีก 20 กว่าคน เช่น นายเลียง ไชยกาล นายมังกร สามเสน และนายทหารจากโรงเรียนรบ เชียงใหม่
หลวงพิบูลสงครามได้จัดตั้งศาลพิเศษขึ้นพิจารณาคดีเป็นการเฉพาะ มีพันเอกหลวงพรหมโยธี เป็นประธาน ศาลพิเศษนี้ได้ตัดสินว่า มีการเตรียมการยึดอำนาจโดย พันเอกพระยาทรงสุรเดช เป็นผู้นำ และตัดสินลงโทษประหารชีวิตนักโทษ เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2482 จำนวน 21 คน คือ
นายลี บุญตา - คนรับใช้ในบ้านหลวงพิบูลสงคราม ที่เคยใช้ปืนไล่ยิงหลวงพิบูลสงคราม เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2481
พันโท พระสุวรรณชิต
ร้อยโท ณ เณร ตาละลักษณ์
นายดาบ พวง พลนาวี
พลโท พระยาเทพหัสดิน
นายดาบ ผุดพันธ์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา
ร้อยโท เผ่าพงศ์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา
ร้อยตรี บุญมาก ฤทธิ์สิงห์
นายทอง ชาญช่างกล
พันเอก หลวงมหิทธิโยธี
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนชัยนาทนเรนทร
พันเอก หลวงชำนาญยุทธศิลป์
ร้อยเอก ขุนคลี่พลพฤนท์
พันตำรวจตรี ขุนนามนฤนาท
พันตรี หลวงไววิทยาศร
พันเอก พระสิทธเรืองเดชพล
จ่านายสิบตำรวจ แม้น เลิศนาวี
ร้อยเอก จรัส สุนทรภักดี
ร้อยโท แสง วัณณศิริ
ร้อยโท สัย เกษจินดา
ร้อยโท เสริม พุ่มทรง
ศาลพิเศษตัดสินปล่อยตัวพ้นข้อหาจำนวน 7 คน จำคุกตลอดชีวิตจำนวน 25 คน โทษประหารชีวิตจำนวน 21 คน แต่ให้เว้นการประหาร คงเหลือโทษจำคุกตลอดชีวิต 3 คน เนื่องจากเคยประกอบคุณงามความดีให้กับประเทศชาติ คือ
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนชัยนาทนเรนทร
พลโท พระยาเทพหัสดิน
พันเอก หลวงชำนาญยุทธศิลป์
นักโทษการเมืองหมดถูกคุมขังอยู่ที่เรือนจำบางขวางโดยนักโทษประหารชีวิต ถูกทยอยนำตัวออกมาประหารด้วยการยิงเป้าวันละ4คน จนครบจำนวน 18คน ซึ่งเป็นที่มาของชื่อ กบฏ 18 ศพ จนถึงทุกวันนี้ ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่าผู้ถูกลงโทษทั้งหมด มีผู้ใดกระทำผิดจริงหรือไม่ เพราะถูกตัดสินโดยศาลพิเศษ ที่บรรดาผู้พิพากษาคือผู้ที่รัฐบาลแต่งตั้ง และไม่มีทนายจำเลยตามหลักยุติธรรม กบฏพระยาทรงสุรเดช คือการกบฎที่รัฐบาลประกาศว่าเป็นทั้งๆที่ไม่ได้มีเหตุการณ์ร้ายแรงอะไร นอกจากเหตุการณ์ที่เป็นข่าวเกิดกับหลวงพิบูลสงคราม3ครั้งดังกล่าวข้างต้น จึงมีความชัดเจนว่าอุบัติการนี้สร้างขึ้นเพื่อหาเรื่องกำจัดบุคคลที่หลวง พิบูลสงครามเห็นว่าน่าจะเป็นศัตรูของตนเท่านั้น
นักโทษการเมืองที่เหลือได้รับอภัยโทษ เมื่อวันที่20 กันยายน พ.ศ.2487 เมื่อนายควง อภัยวงศ์ ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี ต่อจากหลวงพิบูลสงครามที่หมดอำนาจลงก่อนจะสื้นสงครามโลกครั้งที่สอง ส่วนพระยาทรงสุรเดชถึงแก่กรรมอย่างยากไร้ในเขมร
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น