Wlecom To Blog Kru Ploy Na Ka

หน้าเว็บ


ขอฝากจากตลาดคลองสาน 100 ปี

วันอังคารที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ท่าเตียน



คำว่า ท่าเตียน ไม่มีหลักฐานปรากฏแน่นอนว่า ชื่อนี้มาจากไหน ใครเป็นผู้ตั้ง มีแต่คำบอกเล่าหรือคำสันนิษฐานสืบต่อกันมาเป็น ๒ ประการ คือ
ประการแรก สาเหตุที่เรียกสถานที่บริเวณนี้ว่าท่าเตียน เพราะเดิมเคยเป็นบริเวณที่มีทั้งวังที่ประทับของพระบรมวงศานุวงศ์ บ้านเรือนเสนาบดีชั้นผู้ใหญ่ผู้น้อย เรือนราษฎร โรงงานหลวง ตั้งอยู่อย่างแออัด เป็นแนวยาวตามริมน้ำเจ้าพระยา จากมุมพระบรมราชวังด้านใต้จนถึงตีนท่าน้ำวัดโพธิ อันเป็นท่าจอดเรือข้ามฟากไปวัดแจ้ง จนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เกิดเพลิงไหม้ครั้งใหญ่บริเวณนี้ ปรากฏความเสียหายบันทึกไว้ในพระราชพงศาวดารว่า
“...เพลิงไหม้ ๕ ๑ ค่ำ ว่า เวลายามเศษ ไฟไหม้เสียหายจำนวนมาก เป็นเรือนหม่อมเจ้าในกรมสุรินทร์รักษ์ ๒๘ หลัง โรงพระองค์เจ้ามหาหงส์ ๓ หลัง เรือน ๑๓ หลัง เรือนข้าราชการและราษฎร ๔๔ หลัง ศาลาวัดสองหลังครึ่ง โรงงานของในหลวง ๑ ประตูท่าช้างล่าง ตัวไม้ในโรงเรือนที่จะใช้สร้างวังและพระอารามหลวงกว่าร้อยต้น... ”
เพลิงไหม้ในครั้งนั้นกินเนื้อที่กว้างขวางมาก เป็นเหตุให้บริเวณนั้นราบเตียนโล่งผิดตาจากเดิม จนคนทั่วไปใช้เป็นที่หมายเรียกลักษณะเด่นของบริเวณนั้นว่า “ท่าเตียน”
ประการที่สอง มีผู้สันนิษฐานว่ามาจากคำว่า “ฮาเตียน” ซึ่งเป็นชื่อเมืองหนึ่งในประเทศญวน ชาวญวนได้อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในไทยหลายครั้งหลายหน และกระจายอยู่ทั่วไปในพระนครและธนบุรี มีชาวญวนบางคนซึ่งเห็นภูมิภาคบริเวณนี้คล้ายคลึงกับภูมิภาคส่วนหนึ่งของประเทศฮาเตียนที่เคยอยู่อาศัย จึงเรียกบริเวณนั้นว่า ฮาเตียน เพื่อให้คลาบความคิดถึงถิ่นฐานที่เคยอยู่ ต่อมาจึงเพี้ยนเป็นสำเนียงไทยว่า “ท่าเตียน”
ทั้งข้อสันนิษฐานและคำเล่าลือทั้ง ๒ ประการนี้ก็ยังไม่ปรากฏหลักฐานยืนยันอย่างชัดเจน



แหล่งอ้างอิง: ข้อมูลดีๆ จากหนังสือ "ชื่อบ้าน นามเมือง" โดยคุณศันสนีย์ วีระศิลป์ชัย ในเครือสำนักพิมพ์มติชน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น