Wlecom To Blog Kru Ploy Na Ka

หน้าเว็บ


ขอฝากจากตลาดคลองสาน 100 ปี

วันอังคารที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ภูเก็ต เดิมชื่อเมืองถลาง


เมืองถลางและเมืองภูเก็ต นับได้ว่าเป็นเมืองที่สำคัญในประวัติศาสตร์ไทยโดยเฉพาะถลางนับเป็นที่รู้จักในหมู่นักเดินเรือชาวยุโรป ในสมัยกรุงศรีอยุธยาแต่ได้เรียกว่า junkceylon ซึ่งปรากฎตามแผนที่ที่ขยายอิทธิพลทางทะเลของชาวโปรตุเกส ฮอลันดา ฝรั่งเศส รวมทั้งอังกฤษด้วย เมืองถลางเป็นเมืองท่าที่อุดมสมบรูณ์ด้วยแร่ดีบุกและทรัพยากรอื่น ๆ ที่ชาติเหล่านั้นต้องการจึงเป็นเมืองที่หลายชาติต้องการจะได้ นอกจากเป็นเมืองที่อุดมสมบรูณ์ด้วยดีบุกแล้วยังสามารถติดต่อกับหัวเมืองที่แหลมมลายูได้สะดวกและติดต่อ กับเมืองชายฝั่งของพม่าตลอดจนอินเดีย เมืองถลางในสมัยกรุงศรีอยุธยามักเรียกเมืองบางคลี ซึ่งเป็นตำบลบางคลีขึ้นกับอำเภอตะกั่วทุ่ง พังงาในปัจจุบันรวมเรียกว่า " เมืองถลางบางคลี" เข้าด้วยกันอันมีเมืองถลาง ตะกั่วทุ่ง คุรา คุรอน บางคลี ภูเก็ต ซึ่งอาจหมายถึงการรวบรวมหัวเมืองต่าง ๆ จากคำให้การชาวกรุงเก่า กล่าวถึงหัวเมืองปักษ์ใต้ มีชื่อเมืองชะลิน เมืองอังคลี ซึ่งได้แก่เมืองฉลองถลาง กับเมืองบางคลีนั้นเอง จากเรื่อง "สยาม" ของโรนัลด์ บิช็อบ สมิธ เขียนว่า thalang chaiang c]t jund celon กับคำภูเก็ตว่า bhuket ส่วนของนายเฟร็ด แม็คแนร์ เขียนไว้ในหนังสือชื่อเปรัดกับชาวมาเลย์ว่า halanta island แทนที่จะใช้คำว่า pulo ปุเลาคือเมืองในภาษามาลายู ซึ่งเขาได้เรียาเกาะอื่นๆ ว่า pulo ทั้งนั้นเช่น pulo penang; pulo lantao เป็นต้น และตามหนังสือสัญญาการค้าขาย ระหว่างประเทศไทยกับฝรั่งเศส ใน พ.ศ. 2231 มีระบุแต่ชื่อ "เมืองถลางบางพลี" ไม่ได้เอ่ยถึงเมืองภูเก็ตเลย แต่หนังสือประชุมพงศาวดาร ฉบับหอสมุดแห่งชาติ ใช้เกาะภูเก็ตหรือภูเก็ตแทนคำว่าถลาง เพื่อสะดวกต่อการใช้

จากจดหมายเหตุประพาสหัวเมืองปักษ์ใต้ของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ ทรงกล่าวไว้ว่า มณฑลภูเก็ตควรใช้คำว่ามณฑลถลาง ทำให้รู้สึกเป็นของเก่าเพราะเมืองถลางมีชื่ออยู่ในพงศาวดาร ส่วนภูเก็ตชื่อยังใหม่ ต่อมาคุณหลวงอภิบาล ได้ความรู้มาจากฝรั่งคนหนึ่งเขาเดาเอาไว้ พวกโปรตุเกสเดินเรือมาถึงเกาะนี้ก่อนฝรั่งชาติอื่น คงตามชาวมลายูว่าชื่ออะไร แขกคงเข้าใจว่าตามแหลมที่เรือจอดอยู่จึงตอบไปว่า "อุยงสะลัง" คือแหลมถลาง อุยง แปลว่า "แหลม" ฝรั่งคงเข้าใจว่าเกาะนี้ชื่ออุยงสะลัง อังกฤษได้คำนี้มาจากโปรตุเกส อีกชั้นหนึ่งจึงออกเสียง ยองก์ หรือ ยังก์ ซึ่งแปลว่า "ตะเภา" ส่วนสะลังนี้น อังกฤษคงฟังคล้ายเกาะลังกาซึ่งฝรั่งเรียกว่า "เล้ง" หรือ "เซลอน" ในภาษาอังกฤษ เลนเอาคำสะลังเป็นเซลอน เกาะถลางจึงกลายเป็น "ยังก์เซลอน" และทรงกล่าวว่า เกาะภูเก็ตนั้นเดิมมาเรียกเกาะถลางและควรจะเรียกเช่นนั้นเพราะชื่อเก่าแก่ว่า ภูเก็ตมากคุณหลวงอภิบาล ว่าเมืองถลาง แปลว่า "เมืองกาง" คือการตั้งขึ้นกลางป่า แต่ไม่เห็นด้วย ทรงเห็นว่าอังกฤษเรียกเกาะนี้ว่า ยังก์เซลอน คำว่า ยังก์ ไม่ทราบว่ามาอย่างไร แต่เซลอนมาจากถลาง คนไทยชอบเอา "ก" หรือ "ต" เป็น "ส" เช่นถนนเป็นสนน ตะพานเป็นสะพาน คำถลางเรียกเป็น สลาง ฝรั่งฟังไม่ถนัดเรียกเป็นเซลอน นอกจากนี้ยังมีบุคคลสันนิษฐานไปต่างๆ นานา บ้างว่ามาจากคำว่า อ่าวฉลอง เกาะฉลามบ้าง ทองหลางบ้างเป็นต้น

ผู้เขียนเข้าใจว่า คำว่า ถลาง มาจากคำว่า "เซลัง" คือเดิมชาวเลอันเป็นเผ่าพันธ์ดั่งเดิมที่อาศัยอยู่ตลอดชายฝั่งทะเลตะวันตก ชนพวก semang เซมัง คงอาศัยอยู่บนภูเก็ตด้วย พม่าเรียกพวกนี้ว่า "เซลัง" ชนพวกนี้ชอบอยู่ใกล้น้ำและจับสัตว์น้ำเป็นอาหาร เดิมพวกน้ำนี้อาจอยู่แถวอ่าวทงเทาตอนเหนือคือ ทะเลพัง ปากแม่น้ำบางใหญ่ใกล้บ้านดอน เมื่อฝรั่งเข้ามาค้าขายในสมัยแรก ๆ คงถามถึงเกาะว่าชื่ออะไร ชาวบ้านจึงบอกว่าหมู่บ้านชาว เซลัง คำว่า "ชาวเซลัง" (ชาวเล) ฝรั่งพวกโปรตุเกสเมื่อได้ฟังมาจึงเขียนเป็นเซลัง ตามภาษานั้นต่อมาจึงกลายเป็น junkseylon หรือ junk celon และในภาษาอังกฤษคำเดียวกันนี้ (เซลัง) คำภาษาไทยยืดออกเป็น เซลาง ซลาง ฉลางและเป็นถลางในที่สุด ตัวเมืองถลางในสมัยนี้อาจจะย้ายมาอยู่ทางตอนกลางของเกาะแล้วส่วนทางด้านตะวันตก และด้านใต้นั้นเป็นเขตแดนของเมืองภูเก็ต เขตแดนที่แบ่งกันนี้ได้ปรากฎมีรายละเอียดอยู่ในเรื่องพงศาวดารเมืองถลาง ซึ่งเขียนขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์และคงจะเป็นแนวเขตแดนที่ได้ แบ่งกันไว้แต่เดิมในสมัยกรุงศรี อยุธยา เมือง ถลางคงเป็นหัวเมืองขึ้นฝ่ายกลาโหมต่อมาจนถึงรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ก็ได้ถูกยกกับกรมท่า เมื่อ พ.ศ. 2205 และได้ยกกลับมาขึ้นฝ่ายกลาโหม ตามเดิมในตอนรัชกาลที่ 1 กรุงรัตนโกสินทร์เช่นเดียวกับหัวเมืองฝ่ายใต้อื่น ในตอนต้นรัชกาลที่ 1 นี้เองพม่าได้ยกทัพเรือมาโจมตีหัวเมืองชายทะเลตะวันตกแตกหมดเมื่อ พ.ศ. 2328 คงเหลือแต่เมืองถลางเมืองเดียวซึ่งมีวีรสตรีสองท่านคือ ท้าวเทพกระษัตรี ท้าวศรีสุนทร เป็นหัวหน้าพาชาวเมืองต่อสู้ป้องกันเมืองไว้ได้ เมืองถลางจึงมีความสำคัญขึ้นโดยได้เป็นเมืองที่ตั้งบัญชาการของ เจ้าพระยาสุรินทราชาผู้สำเร็จราชการหัวเมืองชายฝั่งทะเล ตะวันตก และเมืองตะกั่วป่า กับเมืองขึ้นทั้งหมดก็ต้องมาขึ้นอยู่กับเมืองถลางในระยะนี้ ต่อมาถึงตอนรัชกาลที่ 2 เมื่อพ.ศ. 2352 พม่าได้ยกทัพมาตีหัวเมืองชายฝั่งตะวันตกอีก คราวนี้เมืองตะกั่วป่า เมืองตะกั่วทุ่งก็แตกด้วย ครั้นกองทัพกรุงยกมาขับไล่พม่าไปหมดแล้วเห็นว่าหัวเมืองชายฝั่งทะเลตะวันตกยับเยินนัก และยังไม่ไว้ใจกลัวพม่าจะย้อนกลับมารุกรานอีก จึงมิได้ตั้งเป็นเมืองขึ้นกรุงเทพฯอย่างเดิม แต่ให้ยกเมืองตะกั่วป่า ตะกั่วทุ่ง เมืองถลางไปขึ้นกับเมืองนครศรีธรรมราชเสียทั้งหมด เมืองถลางกับเมืองภูเก็ตในตอนนี้ก็ได้ถูกพม่าเผาผลาน เสียหมดแล้วจึงต้องอพยพผู้คนพลเมืองไปตั้งอยู่ที่ตำบลกราภูงา
( คือปากน้ำภูงา ) บนผืนแผ่นดินใหญ่อยู่ในเขตแขวงเมืองพังงา ต่อมารัชกาลที่ 3 เมื่อพ.ศ.2368 พม่าทำสงครามแพ้อังกฤษต้องเสียเมืองทวาย เมืองมะริก เมืองตะนาวสศรีให้แก่อังกฤษ จึงปิดหนทางพม่ามิให้รุกรานไทยได้อีก ไทยก็หมดสาเหตุที่จะต้องกลัวพม่า ประกอบกับการที่ได้เริ่มทำมาค้าขายกับฝั่งต่างประเทศ เป็นล่ำเป็นสันขึ้นมาใหม่ และแร่ดีบุกเป็นสินค้าที่พ่อค้าต่างประเทศต้องการเช่นเคย ผู้คนพลเมืองจึงพากันกลับมาตั้งหลักฐานหาเลี้ยงชีพด้วยการขุดแร่บนเกาะภูเก็ตอีก จึงได้กลับตั้งเมืองถลางเป็นหัวเมืองขึ้นกับกรุงเทพฯ ขึ้นใหม่ เมืองถลางใหม่นี้คงจะได้ตั้งก่อนหน้าเมืองตะกั่วป่า กับ เมืองตะกั่วทุ่งซึ่งตั้งขึ้นใหม่เมื่อ พ.ศ.2383 เพราะปรากฎหลักฐานในจดหมายเหตุ หลวงอุดมสมบัติซึ่งเขียนไว้เมื่อ พ.ศ.2381 เรียกเจ้าเมืองถลางว่า "พระยาถลาง" ซึ่งหมายถึงว่าเป็นเจ้าเมืองที่ขึ้นตรงต่อกรุงเทพฯ เพระมีฐานะเป็นพระยา เมืองถลางจึงคงจะตั้งขึ้นใหม่ในระหว่าง พ.ศ.2370 - 2380 เมืองถลางมีฐานะเป็นหัวเมืองขึ้นฝ่ายกลาโหมมาจนถึงรัชกาลที่ 5 ถูกลดฐานะเป็นเมืองขึ้นของภูเก็ต เมื่อ พ.ศ. 2405 ทั้งนี้ก็เพราะเมืองภูเก็ตซึ่งเป็นเมืองขึ้นของเมืองถลาง มาตั้งแต่ต้นสมัยรัตนโกสินทร์นั้นได้กลับมีความเจริญยิ่งขึ้นกว่าเมืองถลาง เพราะแร่ดีบุกอุดมสมบรูณ์กว่า และเมื่อถึงสมัยจัดระบอบมณฑลเทศาภิบาลในรัชกาลที่ 5 เมืองถลางก็เลยถูกยุบลงเป็นเพียงอำเภอ เรียกว่า "อำเภอถลาง" ขึ้นอยู่กับเมืองภูเก็ตตั้งแต่ พ.ศ.2442 เป็นต้น มาจนถึงปัจจุบัน เมื่อ พ.ศ.2458 ได้เปลี่ยนชื่ออำเภอถลางเรียกว่า "อำเภอเมืองถลาง" เพราะเหตุที่เคยเป็นที่ตั้งเมืองเก่ามาแต่ก่อน แต่แล้วก็เปลี่ยนมาเรียกว่า "อำเภอถลาง" อย่างเดิมเมื่อ พ.ศ.2481 ที่ตั้งเมืองถลางในสมัยท้าวเทพกระษัตรี นั้นตั้งอยู่ที่บ้านตะเคียน ( ตำบลตะเคียน ) แต่ในสมัยที่ถูกพม่าตีแตก และเผาผลาญเสียเมื่อ พ.ศ.2352 นั้นตั้งอยู่ที่บ้านดอน (ตำบลดอน) ครั้นตั้งเมืองถลางขึ้นใหม่หลัง พ.ศ.2370 จึงได้ย้ายไปตั้งเมืองอยู่ที่บ้านท่าเรือ (ตำบลท่าเรือ) ทางฝั่งตะวันออกของเกาะ เพราะเห็นว่าเมืองเดิมอยู่ทางทะเลหน้านอก รักษายากแต่เมื่อเห็นว่าหมดอันตรายจากพม่า และอังกฤษทางด้านตะวันตกแน่นอนแล้ว จึงได้ย้ายเมืองกลับมาตั้งอยู่ใกล้ ๆ ที่เดิมที่บ้านเมืองใหม่ ( ตำบลตะเคียน ) ครั้นยุบเมืองถลางลงเป็นเมืองอำเภอแล้ว จึงได้กลับมาตั้งที่ว่าการอำเภอที่บ้านตะเคียน และคงอยู่ในที่นี้ตลอดมาจนปัจจุบัน ต่อมาเมื่อ พ.ศ.2475 จึงได้รวมตำบลดอน ตำบลตะเคียน กับตำบลท่ามะพร้าว ตั้งเป็นตำบลเทพกระษัตรี และรวมตำบลท่าเรือกับตำบลลิพอน ตั้งเป็นตำบลศรีสุทร ทั้งนี้ก็เพื่อให้เป็นเกียรติและอนุสรณ์แก่วีรสตรีทั้งสองท่าน ผู้ได้ประกอบคุณงามความดีอย่างใหญ่หลวงไว้แก่ชาติบ้านเมืองและเพื่อที่ได้เป็นเยี่ยงอย่างแก่อนุชนคนรุ่นหลังต่อไปด้วย

ในปัจจุบันอำเภอถลางประกอบด้วย ตำบล และบ้าน ดังต่อไปนี้
ตำบลไม้ขาว มีบ้านบางรากไม้ สวนมะพร้าว บ้านเหนือ อ่าวโต๊ะขุน สนามบิน
ตำบลเทพกระษัตรี มีบ้านเคียน บ้านเหรียง เมืองใหม่ บ้านแขนน บ้านดอน ท่าพร้าว
ตำบลศรีสุนทร มีบ้านลิพอน บางกอก บางใจ ท่าเรือ บ้านใต้
ตำบลป่าคลอก มีบ้านผักฉีด บางแป เกาะนาคา ป่าคลอก พารา
ตำบลสาคู มีบ้านในยาง สาคู กรอกม่วง ในทอน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น