Wlecom To Blog Kru Ploy Na Ka

หน้าเว็บ


ขอฝากจากตลาดคลองสาน 100 ปี

วันอังคารที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2553

แหล่งโบราณคดีภาคใต้ - บ้านท่าเรือ ชุมชนโบราณเมืองถลาง



ภาค ภาคใต้
จังหวัด ภูเก็ต

•สถานที่ตั้ง ห่างจากตัวเมืองประมาณ ๑๒ กิโลเมตร ขึ้นกับตำบลศรีสุนทร อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต
•ประวัติความเป็นมา
เป็นชุมชนโบราณในจังหวัดภูเก็ตที่ปรากฏขึ้นตั้งแต่ยุคแรก ๆ ที่มีการติดต่อขนถ่ายสินค้าข้ามคาบสมุทรมลายู บ้านท่าเรือเป็นชุมชนเมืองท่าหรือสถานีการค้าแห่งหนึ่งที่เกิดขึ้นในยุคนั้น

ประวัติความเป็นมาของชุมชนบ้านท่าเรือจะเป็นไปพร้อมกับการพัฒนาของเมืองถลาง ซึ่งเป็นเมืองที่ปรากฏขึ้นก่อนเมืองภูเก็ต เมื่อภูเก็ตพัฒนาขึ้นมานั้นในระยะแรกก็เป็นเมืองที่ขึ้นกับเมืองถลาง จวบจนเมืองถลางต้องเสื่อมลงเพราะภัยจากพม่าข้าศึกเมื่อพัฒนาขึ้นมาใหม่ก็ กลายเป็นเมืองที่ขึ้นกับการปกครองของภูเก็ต

เมืองถลางเป็นชุมชนโบราณที่มีมาก่อน พ.ศ. ๗๐๐ ในสภาพที่ยังเป็นแหลมยื่นลงมาจากดินแดนตะโกลาหรือตะกั่วป่า เป็นที่รู้จักของนักเดินเรือจากตะวันตกที่เข้ามาติดต่อค้าขายในดินแดนต่าง ๆ ในภูมิภาคตะวันออกด้วยเป็นดินแดนที่มีชัยภูมิเหมาะสม กล่าวคือ มีอ่าวขนาดใหญ่ค่อนไปทางตะวันออกของเมือง เหมาะต่อการใช้เป็นที่กำบังคลื่นลม การจอดพักเรือตลอดจนการใช้เป็นสถานีการค้าด้วยเพราะอยู่ใกล้กับแหล่งวัตถุ ดิบทั้งที่เป็นของถลางเองและของแผ่นดินใหญ่
เมื่อพิจารณาที่ตั้งของอ่าวต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องติดต่อกับอาณาเขตของอำเภอถลางในปัจจุบันแล้ว พบว่าอ่าวทางตะวันออกของเมืองถลางที่สำคัญ ได้แก่ อ่าวปอ อ่าวบางโรง และอ่าวท่าเรือ ซึ่งบรรดาอ่าวต่าง ๆ ที่กล่าวมาพบว่าอ่าวท่าเรือและบ้านท่าเรือจะได้รับการกล่าวถึงในบันทึกของ นักเดินเรือมากกว่าอ่าวอื่น ๆ เช่น

พ.ศ. ๒๓๒๗ งานบันทึกของโธมัส ฟอร์เรสท์ กัปตันเรือชาวอังกฤษ ระบุได้ว่า หมู่บ้านท่าเรือมีบ้านถึง ๘๐ หลัง
พ.ศ. ๒๓๖๗ เรือเอกเจมส์โลว์ นายทหารชาวอังกฤษ นำเรือรบมาจอดที่บ้านท่าเรือ และได้บันทึกชมชัยภูมิของอ่าวท่าเรือไว้ว่า สามารถป้องกันอ่าวนี้ให้พ้นจากการรุกล้ำทั้งปวงได้อย่างง่ายดาย แล้วยังระบุอีกว่าที่นี่มีแม่น้ำหลายสายขนาดไม่ใหญ่นักไหลผ่านหมู่บ้านท่า เรือ ทำให้ประชาชนได้อาศัยใช้น้ำ

พันเอกเยรินี นายทหารอังกฤษ วิเคราะห์ไว้ว่า ท่าเรือน่าจะเคยเป็นนิคมใหญ่ของชาวโปรตุเกสมาก่อน
อย่างไรก็ตาม จากศึกพม่า ทำให้เมืองถลางต้องเสื่อมโทรมลงมาดังนิราศถลางของหลวงศุภมาตราระบุไว้ว่า "เป็นเมืองเก่าร้างเรื้อเหลือพม่า ดูโรยราร้างไปเป็นไพรสณฑ์" ซึ่งก็อาจรวมถึงชุมชนบ้านท่าเรือด้วย และความเจริญแห่งใหม่ก็ได้ปรากฏขึ้นที่ภูเก็ตซึ่งอยู่ทางใต้ของถลาง

•ลักษณะทั่วไป
เป็นชุมชนที่เกิดขึ้นจากการค้าขายมีขนาดเล็ก สำหรับเป็นที่จอดเรือพักหลบคลื่นลม ไม่มีความยั่งยืนเนื่องจากการเดินเรือค้าขายในสมัยก่อนเป็นไปตามฤดูกาลของลม มรสุม ทำให้ต้องอาศัยอยู่ที่ชุมชนนั้น ๆ เป็นเวลาแรมเดือนแล้วจึงเดินเรือต่อไปเมื่อหมดฤดูมรสุม ชุมชนเหล่านี้จึงคึกคักเป็นฤดูกาล



•หลักฐานที่พบ
ความเป็นเมืองชุมชนท่าเรือขนาดเล็ก คึกคักเป็นฤดูกาล ทำให้ไม่ปรากฏหลักฐานที่เป็นถาวรวัตถุ เช่น กำแพงเมือง บ้านเรือนที่อยู่อาศัย จึงไม่มีอะไรเหลือเป็นชิ้นเป็นอัน อย่างไรก็ตามก็ยังปรากฏหลักฐานทางโบราณสถานอยู่บ้าง ได้แก่ ศาลหลักเมืองท่าเรือ และคลองท่าเรือซึ่งในอดีตคลองนี้จะมีความกว้างขนาดเรือสำเภาแล่นเข้าไปจอด ได้ แต่ปัจจุบันจะตื้นเขินแทบไม่เหลือทางร่องน้ำ มีแต่น้ำไหลรินของคู

•เส้นทางเข้าสู่บ้านท่าเรือ ชุมชนโบราณเมืองถลาง
จากอำเภอถลาง ไปตามเส้นทางหลวงหมายเลข ๔๐๒ ถนนเทพกระษัตรีผ่านอนุสาวรีย์ท้าวเทพกระษัตรีท้าวศรีสุนทร ไปอีกประมาณ ๒ กิโลเมตร ก็จะถึงบ้านท่าเรือ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น