Wlecom To Blog Kru Ploy Na Ka

หน้าเว็บ


ขอฝากจากตลาดคลองสาน 100 ปี

วันอังคารที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ประวัติศาสตร์สงครามเก้าทัพ และบทวิเคราะห์ว่าเหตุใดไทยจึงรบชนะพม่าทีมีกำลังมากกว่าหลายเท่าได้





สงครามเก้าทัพ เป็นสงครามระหว่างกรุงรัตนโกสินทร์กับอาณาจักรพม่า หลังจากที่พระบาทพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ เป็นราชธานีแห่งใหม่ เวลานั้นบ้านเมืองอยู่ในช่วงผ่านศึกสงครามมาใหม่ ๆ ประจวบทั้งการสร้างบ้านแปลงเมือง รวมทั้งปราสาทราชวังต่าง ๆ ในปี พ.ศ. 2328 พระเจ้าปดุง กษัตริย์อังวะ หลังจากบรมราชาภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์พม่าแล้ว ต้องการประกาศแสนยานุภาพ เผยแผ่อิทธิพล โดยได้ทำสงครามรวบรวมเมืองเล็กเมืองน้อยรวมถึงเมืองประเทศราชให้เป็นปึกแผ่น แล้วก็ได้ยกกองกำลังเข้ามาตีไทย โดยมีจุดประสงค์ทำสงครามเพื่อทำลายกรุงรัตนโกสินทร์ให้พินาศย่อยยับเหมือน เช่นกรุงศรีอยุธยา



สงครามครั้งนี้พระเจ้าปดุงได้ยกทัพมาถึง 9 ทัพ รวมกำลังพลมากถึง 144,000 นาย โดยแบ่งการเข้าโจมตีกรุงรัตนโกสินทร์ออกเป็น 5 ทิศทาง

* ทัพที่ 1 ได้ยกมาตีหัวเมืองประเทศราชทางปักษ์ใต้ตั้งแต่เมืองระนองจนถึงเมืองนครศรีธรรมราช
* ทัพที่ 2 ยกเข้ามาทางเมืองราชบุรีเพื่อที่จะรวบรวมกำลังพลกับกองทัพที่ตีหัวเมืองปักษ์ใต้แล้วค่อยเข้าโจมตีกรุงรัตนโกสินทร์
* ทัพที่ 3 และ 4 เข้ามาทางด่านแม่ละเมาแม่สอด
* ทัพที่ 5-7 เข้ามาทางหัวเมืองฝ่ายเหนือตั้งแต่เชียงแสน เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง ตีตั้งแต่หัวเมืองฝ่ายเหนือลงมาสมทบกับทัพที่ 3 4 ที่ยกเข้ามาทางด่านแม่ละเมา เพื่อตีเมืองตาก กำแพงเพชร พิษณุโลก นครสวรรค์
* ทัพที่ 8-9 เป็นทัพหลวงพระเจ้าปดุงเป็นผู้คุมทัพ โดยมีกำลังพลมากที่สุดถึง 50,000 นาย ยกเข้ามาทางด่านพระเจดีย์สามองค์เพื่อรอสมทบกับทัพเหนือ และใต้โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะเข้ารบกับกรุงเทพฯ



เวลานั้นทางฝ่ายไทยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รวบรวมกำลังไพล่พลได้เพียง 70,000 นายมีกำลังน้อยกว่าทัพพระเจ้าพม่าถึง 2 เท่า ประจวบเป็นทหารรบเดิมของพระเจ้ากรุงธนบุรีที่เคยกอบกู้บ้านเมืองสมัยเสีย กรุงศรีอยุธยาไว้ได้ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก จึงทรงปรึกษาวางแผนการรับข้าศึกกับ สมเด็จพระอนุชาธิราชเจ้า สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาทกรมพระราชวังบวรสถานมงคล ว่าจะทำการป้องกันบ้านเมืองอย่างไร แผนการรบของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ คือจัดกองทัพออกเป็น 4 ทัพโดยให้รับศึกทางที่สำคัญก่อน แล้วค่อยผลัดตีทัพที่เหลือ

* ทัพที่ ๑ ให้ยกไปรับทัพพม่าทางเหนือที่เมืองนครสรรค์
* ทัพที่ ๒ ยกไปรับพม่าทางด้านพระเจดีย์สามองค์ ทัพนี้เป็นทัพใหญ่ มีสมเด็จพระบวรราชเจ้ามาหาสุรสิงหนาทเป็นแม่ทัพ คอยไปรับหลวงของพระเจ้าปดุงที่เข้ามาทางด่านพระเจดีย์สามองค์
* ทัพที่ ๓ ยกไปรับทัพพม่าที่จะมาจากทางใต้ที่เมืองราชบุรี
* ทัพที่ ๔ เป็นทัพหลวงโดยมีพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ เป็นผู้คุมทัพคอยเป็นกำลังหนุน เมื่อทัพไหนเพลี้ยงพล้ำก็จะคอยเป็นกำลังหนุน

สมเด็จพระอนุชาธิราช พระบวรราชเจ้ามาหาสุรสิงหนาท ได้ยกกองทัพไปถึงเมืองกาญจนบุรี ตั้งรับทัพอยู่บริเวณทุ่งลาดหญ้า เชิงเขาบรรทัด สกัดกั้นไม่ให้ทัพพม่าได้เข้ามารวบรวมกำลังพลกันได้ นอกจากนี้ยังจัดกำลังไปตัดการลำเลียงเสบียงของพม่าเพื่อให้กองทัพขาดเสบียง อาหาร แล้วยังใช้อุบาย โดยทำเป็นถอยกำลังออกในเวลากลางคืน ครั้นรุ้งเช้าก็ให้ทหารเดินเข้ามาผลัดเวร เสมือนว่ามีกำลังมากมาเพิ่มเติมอยู่เสมอ เมื่อทัพพม่าขาดแคลนเสบียงอาหารประจวบกับครั้นคร้ามคิดว่ากองทัพไทยมีกำลัง มากกว่า จึงไม่กล้าจะบุกเข้ามาโจมตี สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาทเมื่อสบโอกาสทำการโจมตีกองทัพ 8-9 จนถอยร่นพระเจ้าปดุงเมื่อเห็นว่าไม่สามารถบุกโจมตีต่อได้ประจวบทั้งกองทัพ ขาดเสบียงอาหารจึงได้ถอยทัพกลับ สำหรับการโจมตีทางด้านอื่น ทางด้านเหนือพระยากาวิละเจ้าเมืองลำปางสามารถป้องกันทัพพม่าที่ยกมาทางหัว เมืองฝ่ายเหนือได้สำเร็จ



ส่วนทัพที่บุกมาทางด่านแม่ละเมามีกำลังมากกว่าจึงสามารถตีเมืองพิษณุโลก ได้ แต่เมื่อเสร็จศึกทางด้านพระเจดีย์สามองค์แล้ว พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช จึงเสด็จยกทัพขึ้นไปช่วยหัวเมืองทางเหนือ

ส่วนทางปักใต้ สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท เมืองเสร็จศึกที่ลาดหญ้าแล้ว เสด็จยกทัพลงไปช่วยทางปักต์ใต้ต่อ แต่ก่อนที่จะเสด็จไปถึงทัพพม่าได้โจมตีเมืองระนองถึง เมืองถลาง เวลานั้นเจ้าเมืองถลางเพิ่งจะถึงแก่กรรมยังไม่มีการตั้งเจ้าเมืองคนใหม่ แต่ชาวเมืองถลางนำโดยคุณหญิงจันภริยาเจ้าเมืองถลางที่ถึงแก่กรรมและนางมุก น้องสาว ได้รวบรวมกำลังชาวเมืองต่อสู้ข้าศึกจนสุดความสามารถ สามารถป้องกันข้าศึกพม่าไม่ให้ยึดเมืองถลางไว้ได้ หลังเสร็จศึกแล้วพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้คุณหญิงจันเป็นท้าวเทพกษัตรีย์ (หรือท้าวเทพสตรี) นางมุกน้องสาวเป็นท้าวศรีสุนทร นอกจากนี้ทัพพม่าบางส่วนสามารถตีเมืองนครศรีธรรมราชได้ และยกลงไปตีเมืองสงขลาต่อ เจ้าเมืองและกรมการเมืองพัทลุงพอทราบข่าวทัพพม่าตีเมืองนครศรีธรรมราชได้ ด้วยความขลาดจึงหลบหนีเอาตัวรอด แต่มีภิษุรูปหนึ่งนามว่าพระมหาช่วยมีชาวบ้านนับถือศรัทธากันมาก ได้ชักชวนชาวเมืองพัทลุงให้ต่อสู้ป้องกันสกัดทัพพม่าไม่ให้เข้ายึดเมือง พัทลุงได้ เมืองกองทัพสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท ยกกองทัพลงมาช่วยหัวเมืองปักต์ใต้ ตีทัพพม่าตั้งแต่เมืองไชยาลงมาจนถึงนครศรีธรรมราช เมื่อทัพพม่าแตกพ่ายถอยร่นไปพ้นจากหัวเมืองปักต์ใต้แล้ว พระมหาช่วยต่อมาได้ลาสิกขาบทและเข้ารับราชการ

ที่มา: วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

อ้างอิงภาพจาก : กองบัญชาการกองทัพบก www.rta.mi.th






บทวิเคราะห์ ราชการสงครามกับพม่าสมัยกรุงรัตนโกสินทร์

หลังจากกรุงศรีอยุธยาถูกพม่าตีแตก พระบาทสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีหรือสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้ทรงกอบกู้เอกราชของไ
ทยไว้ได้และทรงตั้งกรุงธนบุรีเป็นราชธานี และมีราชการสงครามเกือบตลอดรัชกาล ต่อมาสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ได้ทรงปราบดาภิเษกเป็นสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช สถาปนาราชวงศ์จักรี และย้ายเมืองหลวงมาฝั่งบางกอก ตั้งเป็นกรงรัตนโกสินทร์หรือกรุงเทพมหานครนั่นเอง

นับตั้งแต่กรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานีของไทย ราชอาณาจักรไทยได้ทำสงครามกับพม่ารวมทั้งหมดสิบครั้งด้วยกัน เป็นสงครามฝ่ายพม่ารุกรานไทย๕ครั้ง ข้างไทยไปโจมตีพม่า๕ครั้ง ในสิบครั้งนี้เป็นสงครามในรัชกาลที่หนึ่ง๗ครั้ง รัชกาลที่สอง๑ครั้ง รัชกาลที่สาม๑ครั้ง และรัชกาลที่สี่๑ครั้งส่วนในรัชกาลที่ห้า เป็นเพียงการขับไล่พวกพม่ามิได้ถึงกับรบพุ่งกัน และในการรบกันแต่ละครั้งเป็นสงครามใหญ่อยู่แต่ในสมัยรัชกาลที่๑ ส่วนในรัชกาลอื่นๆต่อมาเป็นเพียงการปะทะกันตามแนวชายแดน ไม่ได้เป็นการรบพุ่งกันจริงจังแต่อย่างใด

ในสมัยรัชกาลที่๑ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงใช้เวลาสร้างกรุงรัตนโกสินทร์เป็นเวลาสามปี ที่มีเวลาพอสร้างก็เพราะว่าพม่ามีปัญหาการเมืองภายใน พอแก้ปัญหาได้ ข้างฝ่ายไทยก็ลงหลักปักฐานมั่นคงเสียแล้ว ประเจ้าปดุงกษัตริย์พม่าจึงหมายยกทัพมาปราบไทยให้ราบคาบจึงเป็นที่มาของสงครามครั้งแ

รกของกรุงรัตนโกสินทร์ หรือที่รู้จักกันในนามสงครามเก้าทัพ ซึ่งในสงครามครั้งนี้ไทยได้ใช้ยุทธวิธีใหม่ไม่เหมือนที่ผ่านมาแต่เก่าก่อน กล่าวคือ

ในสมัยอยุธยาไทยได้ใช้ตัวพระนครเป็นปราการตั้งรับพม่า รอจนฤดูน้ำหลากให้พม่าถอยทัพไปเองแต่ในสงครามคราวนี้ไทยได้ใช้ยุทธวิธีใหม่คือไม่ใช้
ตัวพระนครตั้งรับแต่ยกทัพไปออกมาตั้งรับจนถึงชายแดน เรียกว่ากลยุทธปิดตรอกตีพม่า ซึ่งจะได้กล่าวรายละเอียดในบทต่อๆไป หลังจากที่ไทยรบชนะพม่าหลายครั้งหลายครั้งก็คิดจะยกทัพไปตีพม่าบ้าง แต่ก็ไม่สำเร็จได้แต่หัวเมืองลื้อเขิน3 ของพม่ามาเป็นของไทยบ้างเท่านั้น

ในสมัยรัชกาลที่๒พม่าก็ยกทัพมาตีไทยอีกแต่มีเหตุขัดข้อง เลยเพียงแค่ปล้นหัวเมืองฝ่ายใต้พอทัพหลวงยกไปปราบก็พ่ายแพ้ไป ในรัชกาลที่๓อังกฤษชวนไทยไปตีพม่า ไทยได้รบกับพม่าบ้างประปราย แต่ไม่ได้ช่วยอังกฤษรบอย่างจริงจัง เพียงแต่ตั้งทัพคอยอยู่เท่านั้นเนื่องด้วยมีการขัดกันด้านผลประโยชน์ไม่ลงตัว ในรัชกาลที่๔ไทยไปตีเมืองเชียงตุง เนื่องด้วยพม่ามักใช้เชียงตุงเป็นฐานมาตีหัวเมืองเหนือของไทยเสมอ ฝ่ายไทยจึงใคร่อยากได้เชียงตุงมาเป็นของไทยเพื่อเป็นการตัดทางพม่า แต่กระทำการไม่สำเร็จเพราะไม่ชำนาญภูมิประเทศ และเหตุการณ์ครั้งนี้ก็เป็นการรบครั้งสุดท้ายกับพม่าเพราะหลังจากนี้อังกฤษได้ครอบคร
องหัวเมืองมอญของพม่าทั้งหมด ต่อมาพระเจ้ามินดงพยายามจะทำสัมพันธไมตรีกับไทยแต่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่ห
ัวไม่ทรงรับ

ในสมัยรัชกาลที่๕พวกพม่าที่อพยพมาอยู่เมืองเชียงแสนเกิดกระด้างกระเดื่อง ร.๕จึงโปรดเกล้าฯให้กองทัพเจ้านายในมณฑลพายัพยกขึ้นไปขับไล่พม่า พวกพม่าจึงหนีกลับเมืองพม่ากันหมด1การรบครั้งนี้เป็นเพียงการปราบปรามพวกพม่าที่อพยพ
มาเชียงแสนจำนวนพันเศษเท่านั้นไม่นับว่าเป็นการทำสงครามกับประเทศพม่า อีกอย่างหนึ่งคือพม่าในขณะนั้นเสียเอกราชแก่อังกฤษแล้ว ไม่มีกำลังจะมารบกับไทยได้อีกต่อไป


สาเหตุของการเกิดสงครามเก้าทัพ

ก่อนจะเกิดสงครามเก้าทัพในเมืองพม่าเกิดเหตุการณ์วุ่นวายตามที่พงศาวดารพม่าบันทึกไว
้ ดังนี้

เมื่อพระเจ้าอลองพญาสิ้นพระชนม์ มังลอกราชบุตรองค์โตขึ้นครองราชต่อมา พระเจ้ามังลอกมีราชบุตรกับมเหสีองค์หนึ่งชื่อมังหม่อง เมื่อพระเจ้ามังลอกสิ้นพระชนม์ราชสมบัติตกแก่มังระอนุชา เมื่อมังหม่องโตขึ้นมังระมีดำริจะฆ่ามังหม่องแต่นางราชชนนีผู้ย่าขอชีวิตไว้ให้บวชเร

ียนตลอดชีวิตมิให้ยุ่งเกี่ยวราชการ

พระเจ้ามังระมีราชบุตรสององค์ องค์โตชื่อจิงกูจาเป็นลูกมเหสี องค์รองชื่อแชลงจาเป็นลูกพระสนม จิงกูจามีประพฤติเสเพล พระเจ้ามังระมิใคร่เต็มใจให้เป็นรัชทายาท ครั้น พ.ศ.๒๓๑๙
พระเจ้ามังระประชวนหนักใกล้สินพระชนม์จึงมอบราชสมบัติให้แก่จิงกูจา ด้วยเกรงว่ามอบให้ผู้อื่นจะเกิดจราจล พระเจ้าจิงกูจาได้ราชสมบัติแล้วก็เกรงคนคิดร้าย จึงจับแชลงจาสำเร็จโทษ เรียกอะแซหวุ่นกี้กลับจากเมืองพิษณุโลกแล้วถอดบรรดาศักดิ์ แล้วจับพระเจ้าอาองค์ใหญ่ชื่อ มังโปตะแคงอะเมียงสำเร็จโทษอีกองค์หนึ่ง และให้เนรเทศพระเจ้าอาอีกสามองค์ คือมังเวงตะแคงปดุง มังจูตะแคงพุกาม และมังโพเชียงตะแคงแปงตะแล ไปจากเมืองอังวะเอาตัวไปคุมไว้ในหัวเมือง

พระเจ้าจิงกูจามีมเหสีแต่ไม่มีราชบุตร จากนั้นได้ธิดาอำมาตย์อะตวนหวุ่นมาเป็นสนม แต่แรกมีความเสน่ห์หานางนั้นมากถึงกับยกให้เป็นสนมเอก บิดาของนางก็ยกย่องให้เป็นขุนนางผู้ใหญ่ วันหนึ่งพระเจ้าจิงกูจาเมาและเกิดพิโรธให้เอานางสนมเอกไปถ่วงน้ำเสีย แล้วถอดอะตวนหวุ่นบิดาลงมาเป็นไพร่ อะตวนหวุ่นโกรธแค้นจึงไปคบคิดกับตะแคงปดุงพระเจ้าอาปรึกษาจะกำจัดพระเจ้าจิงกูจาเสีย
ตะแคงปดุงกลัวอนุชาสององค์จะไม่ให้ราชสมบัติจึงอุดหนุนมังหม่องบุตรมเหสีพระเจ้ามังล
อกซึ่งบวชเป็นสามเณรให้ชิงราชสมบัติ

ปี พ.ศ.๒๓๒๔ พระเจ้าจิงกูจาเสด็จออกประพาสหัวเมือง มังหม่องจึงสึกออกมาคุมพรรคพวกเข้าปล้นเมืองอังวะได้โดยง่าย มังหม่องจะถวายราชสมบัติกับพระเจ้าอาทั้งสาม แต่พระเจ้าอาไม่ยอมรับ มังหม่องจึงขึ้นว่าราชการ แต่มังหม่องไม่สามารถปกครองแผ่นดินได้ พวกข้าราชการจึงเชิญตะแคงปดุงขึ้นครองราชสมบัติ มังหม่องนั่งเมืองอยู่๑๑วันก็ถูกสำเร็จโทษ

ฝ่ายพระเจ้าจิงกูจาซึ่งออกประพาสหัวเมืองเมื่อทราบข่าวว่ามังหม่องชิงเมืองอังวะ พวกไพร่พลที่ติดตามไปด้วยก็หลบหนีไปเป็นอันมาก เหลือแต่ขุนนางคนสนิทอยู่ไม่กี่คน แต่แรกพระเจ้าจิงกูจาคิดจะไปอาศัยอยู่กระแซ แต่เป็นห่วงราชชนนีจึงลอบลงมาใกล้กรุงอังวะแล้วมีหนังสือกราบทูลว่าจะไปอยู่เมืองกระ

แซ นางราชชนนีห้ามปรามว่า ”เกิดเป็นกษัตริย์ ถึงตายก็ชอบที่จะตายอยู่ในเมืองของตัว ที่จะหนีไปพึ่งเมืองน้อยอันเคยเป็นข้าหาควรไม่” พระเจ้าจิงกูจาก็เกิดมานะ พาพวกบริวารเข้าไปในเมืองอังวะ ทำเหมือนเสด็จไปประพาสแล้วเสด็จกลับคืนพระนคร พวกไพร่พลที่รักษาประตูเห็นเป็นพระเจ้าจิงกูจาก็เกรงกลัวไม่กล้าต่อสู้ พระเจ้าจิงกูจาเสด็จเข้าไปถึงในเมืองพออะตวนหวุ่นทราบความจึงคุมพลมาล้อมจับพระเจ้าจ
ิงกูจา อะตวนหวุ่นฟันพระเจ้าจิงกูจาสิ้นพระชนม์ พระเจ้าปดุงทรงทราบความว่าอะตวนหวุ่นฆ่าพระเจ้าจิงกูจาก็ทรงพิโรธว่าควรจับมาถวายโดย
ละม่อม ไม่ควรฆ่าฟันเจ้านายโดยพละการ ให้เอาตัวอะตวนหวุ่นไปประหารชีวิตเสีย

ขณะเมื่อเกิดแย่งชิงราชสมบัติกันวุ่นวายในเมืองพม่าครั้งนั้น พวกหัวเมืองต่างๆก็พากันกระด้างกระเดื่อง บางเมืองถึงขั้นยกทัพบุกอังวะเลยก็มี พระเจ้าปดุงจึงต้องทำสงครามปราบกบฎอยู่หลายปี แต่พระเจ้าปดุงนั้นทรงเชี่ยวชาญการศึกมากกว่ากษัตริย์องค์อื่นในราชวงศ์เดียวกันพระอ
งค์ทรงสามารถปราบได้ทั้งพวกรามัญและไทยใหญ่ จากนั้นจึงทรงสร้างเมืองอมระบุระขึ้นเป็นราชธานีใหม่ แล้วยกทัพไปตีประเทศมณีบุระทางฝ่ายเหนือ และยะไข่ทางตะวันตก ได้ทั้งสองประเทศ แผ่ขยายอาณาเขตได้มากกว่ารัชกาลอื่นๆที่ผ่านมา

พระเจ้าปดุงครองราชย์ได้สามปีก็คิดจะยกทัพมาตีประเทศไทยให้ปรากฏเกียรติยศดังเช่นพระ
เจ้ากรุงหงสาวดีบุเรงนอง ประกอบกับรบชนะมาทุกหัวเมืองทำให้ทหารมีความฮึกเหิมลำพองใจและได้รี้พลเพิ่มเติมจากห
ัวเมืองต่างๆที่ตีได้ จึงหมายยกทัพใหญ่มาปราบให้ราบคาบเหมือนเมื่อคราวกรุงศรีอยุธยา


การจัดทัพของทั้งฝ่ายไทยและฝ่ายพม่า

การจัดกำลังทัพของฝ่ายพม่า

ครั้นถึงวันพฤหัสบดี เดือนธันวาคม แรม ๔ ค่ำ ปีมะเส็ง พ.ศ.๒๓๒๘ พระเจ้าปดุงสั่งเคลื่อนพลออกจากเมาะตะมะ ซึ่งได้ยกทัพมาเป็นห้าทางตามที่พงศาวดารพม่าระบุคือ
ทางเส้นมะริด กำลังพล ๑๑,๐๐๐
ทางเส้นทวาย กำลังพล ๑๑,๐๐๐
ทางเส้นเชียงใหม่ กำลังพล ๓๓,๐๐๐
ทางเส้นระแหง กำลังพล ๕,๐๐๐
ทางด่านเจดีย์สามองค์พม่าเรียกทางเส้นไทรโยค มีกำลังรวม ๘๗,๙๐๐ แบ่งเป็นทัพช้าง ๕๐๐ ทัพม้า ๘,๔๐๐ และพลเดินเท้า ๗๙,๐๐๐ รวม ๑๔๗,๙๐๐๐

ส่วนพระราชพงศาวดาร รัชกาลที่๑ฉบับเจ้าพระยาทิพพากรวงศ์ระบุไว้ว่าทัพพม่ายกมา ๑๐๓,๐๐๐ ส่วนพงศาวดารไทยรบพม่าของกรมพระยาดำรงราชานุภาพระบุไว้ว่าพม่ายกทัพมา ๑๔๔,๐๐๐ จัดกระบวนเป็นเก้าทัพคือ

ทัพที่๑ เมื่อแรกให้แมงยีแมงข่องกยอเป็นแม่ทัพแต่แมงยีแมงข่องกยอไม่อาจจัดหาเสบียงพอแกกองทั

พเมื่อทัพหลวงยกมาพระเจ้าปดุงจึงประหารเสียแล้วจึงยกเกงหวุ่นแมงยีมหาสีหะอัครมหาเสน
าบดีเป็นแม่ทัพแทน
นายกองทัพย่อยมี๒ทัพได้แก่ ๑.นัดมีแลง,แปดตองจา,นัดจักกีโบ,ตองพะยุงโบ,ปะเลิงโบคุมพลตีเมืองชุมพร เมืองไชยา ๒.ยี่วุ่น,บาวาเชียง,แวงยิงเดชะ,บอกินยอตีเมืองถลาง รวมจำนวนคนทั้งหมด ๑๐,๐๐๐ ตีหัวเมืองฝ่ายใต้

ทัพที่ ๒ อนอกแฝกคิดหวุ่นเป็นแม่ทัพถือพล๑๐,๐๐๐ มาตั้งที่เมืองทวาย เดินทัพเข้าด่านบ้องตี้ตีราชบุรี เพชรบุรีไปบรรจบกับทัพที่หนึ่งที่ชุมพร นายทัพย่อยมี๓ทัพได้แก่ ๑.ทวายวุ่น,จิกแก,มนีจอข้อง,สีหะแยจอข้อง,เบยะโบยกทัพไปทางด่านเจ้าข้าว ๒.จิกสิบโบ,ตะเรียงยามะซู,มนีสินตะ,สุรินทะจอข้อง ๓.อนอกแฝกคิดหวุ่น

ทัพที่ ๓ หวุ่นคยีสะโดะศิริมหาอุจจะนาเจ้าเมืองตองอูเป็นแม่ทัพถือพลสามหมื่นยกมาทางเชียงแสนม
าตีเมืองลำปาง สวรรคโลก สุโขทัย พิษณุโลกลงมาบรรจบกับทัพใหญ่ที่กรุงเทพนายทัพย่อยมี เนมโยสีหซุย,ปันยีตะจองโบ,ลุยลั่นจองโบ,ปลันโบ,มัดชุนรันโบ,มิกอุโบ,แยจอนระทา,สาระจ
อซู

ทัพที่ ๔ เมียนหวุ่นแมงยีมหาทิมข่องเป็นแม่ทัพถือพล ๑๑,๐๐๐ ยกมาตั้งทัพที่เมาะตะมะเป็นทัพหน้าที่จะเข้าสู่ด่านเจดีย์สามองค์ นายทัพย่อยประกอบด้วยกลาวุ่น,บิลุ่งยิง,สะเลจอ,ปิญาอู อากาจอแทง,ลันชังโบ,อะคุงวุ่น,บันยีตะจอง,ละไมวุ่น,ซุยตองอากา

ทัพที่ ๕ เมียนเมหวุ่นเป็นแม่ทัพถือพล ๕,๐๐๐ มาตั้งที่เมาะตะมะเป็นทัพหนุนที่ ๔ นายทัพมี ยอยแหลกยาเยข้อง,จอกาโบ,จอกแยกาโบ,ตะเรียงบันยี

ทัพที่ ๖ ตะแคงกามะราชบุตรที่๒(ศิริธรรมราชา) เป็นแม่ทัพถือพล ๑๒,๐๐๐ มาตั้งที่เมืองเมาะตะมะเป็นทัพหน้าของทัพหลวงที่จะยกเข้ากรุงเทพทางด่านเจดีย์สามองค
์ มีจานจุวุ่น,จิตกองสิริย,แยเลวุ่น,อะตอนวุ่นเป็นนายทัพ

ทัพที่ ๗ ตะแคงจักกุราชบุตรที่๓(สะโดะมันซอ)เป็นแม่ทัพถือพล ๑๑,๐๐๐ มาตั้งที่เมาะตะมะเป็นทัพหน้าที่สองของทัพหลวง นายทัพได้แก่ เมมราโบ,อะ กีตอ,อากาปันยี,มะโยลักวุน

ทัพที่ ๘ พระเจ้าปดุงเป็นจอมพลนำทัพหลวง ๕๐,๐๐๐ มาตั้งที่เมาะตะมะ แบ่งเป็น๕ทัพ

๑.พระเจ้าปดุงทัพกลาง ๒.อะแซวังมู,จาวาโบ,ยะไข่โบ,ปะกันวุ่น,ลอกาซุนถ่อวุ่น,เมจุนวุ่นเป็นกองหน้า ๓.มะยอกวังมู,อำมะลอกวุ่น,ตวนแซงวุ่น,แลจาลอพวา,ยักจอกโบ,งาจูวุ่นเป็นปีกขวา ๔.ตองแมงวู,แลกรุยกีมู,แลแซวุ่น,ยอนจูวุ่น,เยกีวา,สิบจอพวาเป็นปีกซ้าย ๕.อะนอกวังมู,ระวาลักวุ่น,ออกกะมาวุ่น,โมกองจอพวา,โมเยียงจอพวา,โมมิกจอพวา ยกมาทางด่านเจดีย์สามองค์

ทัพที่ ๙ จอข่องนรทาเป็นแม่ทัพ(พงศาวดารฉบับเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ว่าซุยจองเวระจอแทงเป็นแม่ทัพ
) ยกเข้ามาทางด่านแม่ละเมา มาตีเมืองตาก เมืองกำแพงเพชรลงมาบรรจบทัพหลวงที่กรุงเทพ แบ่งเป็นสองทัพคือ ๑.ทัพหน้ามีซุยจองเวระจอแทง,ซุยจองนรทา,ซุยจองสิริยะจอจะวา ๒.ทัพหลังมีจอข่องนรทา1

ทัพพม่าทั้งเก้านี้มีแผนที่จะตีหัวเมืองต่างๆของไทยทั้งทางทิศเหนือ ทิศตะวันตกและทิศใต้โดยจะมาบรรจบกัน๕ทัพที่กรุงเทพมหานคร หมายจะปิดล้อมจากสามทิศและเข้าตีให้ราบพนาสูรในคราวเดียวเหมือนเมื่อครั้งกรุงศรีอยุ
ธยา ส่วนที่เหลืออีกสี่ทัพแบ่งตีหัวเมืองฝ่ายเหนือ๒ทัพและหัวเมืองฝ่ายใต้สองทัพ


การจัดกำลังทัพฝ่ายไทย

ฝ่ายกรุงเทพมหานคร วันอาทิตย์ เดือน๑๒ แรม๙ค่ำ ปีมะเส็ง พ.ศ.๒๓๒๘ จ.ศ.๑๑๔๗ พวกกองมอญไปลาดตระเวนสืบทราบมาว่า พม่ายกทัพมาประชุมพลอยู่ที่เมืองสมิ(เมาะตะมะ) เตรียมจะยกมาตีพระนคร1 จากนั้นหัวเมือเหนือใต้ทั้งปวงก็แจ้งข่าวพม่ามา พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกจึงทรงเรียกประชุมพระบรมวงศานุวงศ์ และขุนนางน้อยใหญ่เรื่องการเตรียมรับศึกพม่า แล้วจึงจัดแบ่งเป็นสี่ทัพออกรับศึกคือ

ทัพที่ ๑ ให้พระเจ้าหลานเธอเจ้าฟ้ากรมหลวงอนุรักษ์เทเวศร์เป็นแม่ทัพ พร้อมด้วยกรมหลวงนรินทร์รณเรศ เจ้าพระยามหาเสนา พระยาพระคลัง พระยาอุทัยธรรม และเท้าพระยาข้าราชการในกรุงและหัวเมือง ถือพล ๑๕,๐๐๐ ไปตั้งขัดตาทัพพม่าที่นครสวรรค์ป้องกันพม่ายกทัพมาทางเหนือขณะที่ทัพใหญ่รบอยู่ที่ลา
ดหญ้า

ทัพที่ ๒ เป็นทัพใหญ่นำทัพโดยสมเด็จพระอนุชาธิราชสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท กรมพระราชวังบวรสถานมงคล ยกพล ๓๐,๐๐๐ ไปตั้งรับทัพพระเจ้าปดุงที่เมืองกาญจนบุรี

ทัพที่ ๓ นำโดยเจ้าพระยาธรรมาธิกรณ์(บุญรอด)และพระยายมราชนำพล ๕,๐๐๐ ไปตั้งอยู่ที่เมืองราชบุรี คอยรักษาเส้นทางลำเลียงเสบียงของทัพหลวง และคอยป้องกันพม่าที่จะยกมาจากทางใต้

ทัพที่ ๔ เป็นทัพหลวงกำลังพล ๒๐,๐๐๐ ตั้งมั่นอยู่ที่กรุงเทพ เป็นกองหนุนถ้าทัพใดรับศึกไม่ไหวก็จะยกไปช่วย2 และคอยเป็นกำลังรักษาพระนคร

ทัพทั้งสี่นี้ยกออกไปตั้งรับพม่าตามจุดยุทธศาสร์ต่างๆที่พม่าจะยกเข้ามา เพื่อสกัดกั้นทัพพม่ามิให้ยกมาได้ถึงตัวพระนคร

การรบในสมรภูมิต่างๆ

สมรภูมิลาดหญ้าเมืองกาญจนบุรี

เมื่อกรมพระราชวังบวรสถานมงคล เดินทัพมาถึงตำบลลาดหญ้าแล้ว ก็ทรงมีพระราชบัณฑูรดำรัสให้หยุดทัพหลวงที่ทุ่งลาดหญ้าเชิงเขาบรรทัด แล้วให้กองหน้าตั้งค่ายขึ้นหลายค่าย ชักปีกกาถึงกันทุกๆค่ายเพื่อสกัดทางพม่ามิให้เข้ามาลอบตีด้านหลังได้ และค่ายหลวงตั้งห่างกันลงมา๕เส้น แล้วให้ขุดสนามเพลาะปักขวากหนามป้องกันข้าศึก จากนั้นให้พระยามหาโยธาคุมกองมอญ ๓,๐๐๐ ยกไปขัดตาทัพอยู่ที่ด่านกรามช้าง

ฝ่ายกองทัพพระเจ้าปดุงอังวะทัพหน้ายกมาถึงด่านกรามช้างก็ตีกองมอญของของพระยามหาโยธา

แตกพ่ายหนีกลับมา แล้วจึงเดินทัพมายังลาดหญ้า ทัพหน้าที่สองก็ยกมาหนุน เมียนหวุ่นและเมียนแมวุ่นแม่ทัพก็ให้ตั้งค่ายเรียงรายกันหลายค่ายชักปีกกาถึงกัน ทัพตะแคงกามะยกมาตั้งที่ท่าดินแดง ทัพตะแคงจักกุยกมาตั้งที่สามสบ ส่วนทัพหลวงพระเจ้าอังวะตั้งค่ายอยู่แนวต่อชายแดนด่านเจดีย์สามองค์คอยฟังข้อราชการจ

ากทัพหน้า

กรมพระราชวังบวรสถานมงคลทรงให้นายทัพนายกองทังปวงยกพลออกตีพม่า พวกพม่าก็ออกรบอย่างแข็งขัน ทหารไทยและทหารพม่าต่างยิงปืนตอบโต้กันทั้งสองฝ่าย บาดเจ็บล้มตายกันทั้งคู่ ไทยจะตีเอาค่ายพม่าไม่ได้ก็ถอยกลับเข้าค่าย กรมพระราชวังบวรฯจึงให้ทำครกกับสากใหญ่ไว้ในค่าย ใครถอยหนีพม่าจะเอาตัวลงครกโขลกเสีย

จากนั้นทรงให้พระยาสีหราชเดโช พระยาท้ายน้ำ พระยาเพชรบุรี เป็นนายทัพกองโจร พระยารามกำแหง พระยาเสนานนท์ เป็นปลัดทัพ นำพล๕๐๐ยกลัดป่าไปคอยตีกองลำเลียงพม่าที่ต.พุไคร้ช่องแคบอย่าให้พม่าส่งลำเลียงกันได
้ พระยาทั้งสามทำการได้สักหน่อยก็คิดย่อท้อหนีไปตั้งทัพอยู่ที่อื่น เลยถูกลงพระราชอาญาประหารเสียทั้งสามคน แล้วให้เสียบประจานที่หน้าค่าย กรมพระราชวังบวรฯจึงตั้งพระเจ้าหลานเธอพระองค์เจ้าขุนเณรเป็นนายทัพกองโจร คุมทหาร๑,๐๐๐คนไปรวมกับของเดิมอีก๕๐๐คนเป็น๑,๕๐๐คน ไปคอยตีสกัดเสบียงพม่าที่พุไคร้เหมือนเดิม คราวนี้ทำการสำเร็จตลอด ได้เสบียงและช้างม้ามาอยู่เนืองๆ

ทางฝ่ายค่ายพม่าตั้งหอรบขึ้นหลายแห่งหน้าค่ายเอาปืนใหญ่ขึ้นตั้งยิงค่ายไทย ข้างฝ่ายไทย
จึงเอาปืนลูกไม้ตั้งแต่ครั้งกรุงธนบุรีเข็นออกไปตั้งหน้าค่ายยิงหอรบพม่าหักพังลง ทหารพม่าก็ถูกปืนลูกไม้ล้มตายเป็นอันมาก ไม่อาจออกนอกค่ายได้ เสบียงอาหารก็ขัดสน กรมพระราชวังบวรจึงให้แต่งหนังสือบอกข้อราชการสงครามมาถวายยังกรุงเทพมหานคร

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงทราบถึงข้อราชการก็ทรงพระวิตกว่าจะเอาชนะข้าศึกไม่ได้โดยเร็ว ครั้นถึงวันอาทิตย์ เดือนยี่ ขึ้น ๙ ค่ำ จึงทรงเสด็จออกจากกรุงเทพมหานครพร้อมทัพหลวง ๒๐,๐๐๐ ไปทางเรือถึง ณ ค่ายลาดหญ้าเมืองกาญจนบุรี กรมพระราชวังบวรฯกราบทูลว่าทัพพม่าใกล้แตกแล้วขอทรงเสด็จกลับพระนครเถิด ค่ำวันนั้นจึงเสด็จกลับพระนคร

ทางข้างพม่าได้ยินเสียงฆ้องกลองช้างม้าดังสนั่นจึงขึ้นดูบนหอรบ เห็นทัพหลวงมาหนุนก็เกิดครั่นคร้ามทัพไทย แม่ทัพพม่าทั้งสองนายคือเมียนหวุ่นกับเมียนเมวุ่น จึงให้เก็บลูกปืนไม้ที่ยิงตกมาในค่ายไปถวายพระเจ้าปดุงอังวะ และกราบทูลว่า ”ไทยเอาไม้ทำเป็นลูกปืนได้ ต่อไม้หมดทั้งป่าจึงจะสิ้นกระสุน แล้วเมื่อใดไม้ในป่าจึงจะสิ้นจะตีให้ได้เมืองไทยนั้นเหลือกำลังทั้งกองโจรไทยก็มาซุ่

มสะกัดตีตัดลำเลียงเสบียงอาหารจะส่งถึงกันก็ขัดสน รี้พลก็อดอยากถดถอยกำลังลงทุกวันจึงขอพระราชทานล่าทัพ” พระเจัาปดุงจึงตอบกลับไปว่าให้รอดูท่าทีก่อนถ้าเห็นว่ารี้พลอิดโรยนักเห็นจะทำการไม่

สำเร็จค่อยล่าทัพแต่อย่าให้เสียทีแก่ข้าศึก แม่ทัพพม่าทราบดังนั้นจึงตั้งรับอยู่แต่ในค่ายไม่ออกรบ

กรมพระราชวังบวรฯเกิดคิดกลศึกทำลายขวัญพม่า จึงให้ไพร่พลยกออกจากค่ายในเวลากลางคืนไปยังค่ายเมืองกาญจนบุรี พอเช้าก็ยกกลับลงมายังค่ายหลวง ทั้งนี้เพื่อลวงพม่าว่ามีทัพหนุนยกมามาก และทำเช่นนี้ทุกวัน

ฝ่ายพม่าขึ้นดูบนหอรบเห็นดังนั้นก็หมายว่าทัพไทยยกมาเพิ่มทุกวันก็เกิดครั่นคร้ามเกร

งกลัว
คิดท้อถอย อีกทั้งยังเกิดโรคระบาดในกองทัพพม่าเจ็บป่วยล้มตายกันเป็นอันมาก และขาดเสบียงอาหารด้วยทำให้กำลังรบถดถอยลงทุกด้าน

กรมพระราชวังบวรสถานมงคลทรงสังเกตเห็นว่า ข้าศึกอ่อนกำลังลงมากแล้ว ครั้นถึง วันศุกร์ เดือน๓ แรม๔ค่ำ จึงให้แม่ทัพนายกองทั้งปวง ยกพลบุกค่ายพม่าทุกทัพทุกกอง เอาปืนใหญ่ลากล้อออกยิงค่ายพม่าทุกค่าย ค่ายและหอรบพม่าพังทลายลงหลายแห่ง พม่ายิงปืนใหญ่น้อยโต้ตอบอยู่จนค่ำ คั้นเวลาประมาณทุ่มเศษแม่ทัพพม่าเห็นทีจะต้านไม่อยู่ จึงทิ้งค่ายทัพพม่าจึงแตกออกจากค่ายไป ทหารไทยเคลื่อนพลเข้าค่ายพม่าได้ทั้งสิ้น จับเชลยและเครื่องศาสตราวุธได้เป็นอันมาก กรมพระราชวังบวรฯจึงรับสั่งให้ไล่ตามตีพม่าไปจนถึงชายแดน จับพม่าซึ่งหนีไปไม่ทันและได้ช้างศาสตราวุธมาถวายเป็นอันมาก ฝ่ายพระองค์เจ้าขุนเณรซึ่งรับหน้าที่กองโจรเมื่อทราบข่าวว่าพม่าแตกทัพแล้วก็ยกมาตาม

ตีจับได้ทังคนอาวุธและช้าม้าจำนวนมากส่งมาถวายยังค่ายหลวง แล้วจึงยกไปจนถึงท่าดินแดงและสามสบ

ครั้นพระเจ้าปดุงทรงทราบความว่ากองทัพหน้าแตกเสียแล้ว ก็เห็นว่าจะทำการต่อไปคงไม่
สำเร็จ ด้วยกองทัพที่มากับพระเจ้าปดุงทางด่านเจดีย์สามองค์เกิดขัดสนเสบียงอาหาร และผู้คนเจ็บไข้ล้มตายลงทุกๆทัพจึงสั่งให้เลิกทัพกลับไปเมืองเมาะตะมะ

ฝ่ายกองทัพพม่าที่นำด้วยอนอกแฝกคิดหวุ่น ยกมาตั้งที่ทวายนั้น เมื่อรวบรวมรี้พลได้แล้วจึงจัดพระยาทวายเป็นกองทัพหน้าถือพล๓,๐๐๐ อนอกแฝกคิดหวุ่นเองเป็นทัพกลางถือพล๔,๐๐๐ ให้จิกสิบโบเป็นกองหลัง ถือพล๓,๐๐๐ ยกเข้ามาทางด่านบ้องตี้ แต่ทางที่มาเป็นภูเขากันดารกว่าทางด่านเจดีย์สามองค์ ช้างม้าพาหนะต่างๆผ่านมายากจึงเข้ามาช้าเพราะต้องรั้งรอกันทุกระยะ ในที่สุดกองหน้าของพระยาทวายก็มาตั้งค่ายที่นอกเขางู อนอกแฝกคิดหวุ่นตั้งทัพที่ท้องชาตรี จิกสิบโบทัพหลังตั้งที่ด่านเจ้าเขว้าริมลำน้ำภาชี ไม่รู้ว่าทัพหลวงที่ลาดหญ้าแตกไปแล้ว

แต่เจ้าพระยาธรรมาและพระยายมราชไม่ส่งกองลาดตระเวนไปดูลาดเลาเลยไม่รู้ว่าพม่ามาตั้ง

ทัพอยู่ปลายจมูก จนกรมพระราชวังบวรฯรบชนะที่ลาดหญ้าแล้ว มีรับสั่งให้พระยากลาโหมราชเสนากับพระยาจ่าแสนยากรคุมกองทัพกลับลงมาทางบก มาทรงทราบว่าพม่าตั้งค่ายอยู่นอกเขางูจึงยกกองทัพเข้าตีค่ายพม่า รบพุ่งกันถึงตะลุมบอน พม่าทานกำลังไทยไม่ได้ก็แตกหนีทั้งกองหน้าและกองหลัง ไทยไล่ตามไปจนปะทะกับทัพหลังพม่า ทัพหลังพม่าก็พลอยแตกไปด้วย กองทัพไทยจับช้างม้าเชลยและได้ศาสตราวุธมากมาย พวกพม่าที่เหลือก็หนีกลับไปยังเมืองทวาย 2 พอทัพหลวงเสด็จมาถึงราชบุรีได้ทรงทราบความก็ทรงพิโรธให้ลงพระราชอาญาจองจำเจ้าพระยาธ

รรรมาธิกรณ์ พระยายมราชและแม่ทัพนายกองทั้งปวงไว้แล้วแจ้งไปยังกรุงเทพฯ พระเจ้าอยู่หัวจึงโปรดให้ลงทัณฑ์ประจานตามอัยการศึกแล้วถอดจากถานันดรศักดิ์ แล้วจึงเลิกทัพกลับพระนคร



การรบที่ปากน้ำพิงเมืองเหนือ

ฝ่ายกองทัพสะโดะมหาสิริยะอุจนาเจ้าเมืองตองอู เมื่อมาประชุมพลที่เมืองเชียงแสนแล้วจึงให้เนมะโยสีหะปติคุมพล ๕,๐๐๐ ยกลงมาทางแจ้ห่มเพื่อตีสวรรคโลก สุโขทัย พิไชย และพิษณุโลก แล้วให้โปมะยุง่วนคุมพล ๓,๐๐๐ เป็นกองหน้าตนเองเป็นกองหลวง ถือพล๑๕,๐๐๐ยกลงมาทางเมืองเชียงใหม่

เวลานั้นเชียงใหม่เป็นเมืองร้างเพราะพระยาวิเชียรปราการเจ้าเมืองอพยพผู้คนหนีพม่ามา

อยู่ที่สวรรคโลกตั้งแต่ครั้งกรุงธนบุรี เมื่อพระยาวิเชียรปราการถึงแก่กรรม ชาวเมืองก็ยกกลับขึ้นไปอยู่ลำปาง ทัพพม่าจึงยกผ่านเชียงใหม่มาตีนครลำปางเลย พระยากาวิละเจ้าเมืองจึงเกณฑ์คนขึ้นเชิงเทินป้องกันเมืองอย่างเหนียวแน่น พม่าจึงไม่สามารถตีเอาเมืองได้ ก็ตั้งทัพล้อมเมืองไว้ ส่วนทางสวรรคโลก สุโขทัย และพิษณุโลก บ้านเมืองบอบช้ำแต่ครั้งศึกอะแซหวุ่นกี้ มีผู้คนอยู่น้อยจึงพาครอบครัวหนีเข้าป่า ทัพพม่าที่ยกมาจึงได้เมืองทั้งหมดนั้น แล้วยกมาตั้งค่ายอยู่บ้านระแหงแขวงเมืองตาก เจ้าเมืองตากยอมอ่อนน้อมแต่โดยดี พม่าจึงส่งตัวเจ้าเมืองตากกับครอบครัวพลเมืองไปยังเมืองพม่า

ฝ่ายไทยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีท้องตราสารไปถึงกรมหลวงอนุรักษ์เทเวศร์ว่าทา

งกรมพระราชวังบวรสถานมงคลรบได้ชัยชนะแล้ว ถ้ากรมหลวงอนุรักษ์เทเวศร์ยังทำการไม่สำเร็จพระเศียรก็ไม่ได้อยู่คงกายเป็นแน่แท้ กรมหลวงอนุรักษ์เทเวศร์ทราบดังนั้นก็ทรงเกรงพระราชอาญาจึงมีรับสั่งให้กองทัพเจ้าพระ

ยามหาเสนาซึ่งตั้งค่ายอยู่ที่พิจิตร ให้ยกขึ้นไปตีค่ายพม่าที่ปากน้ำพิง เจ้าพระยามหาเสนาจึงให้แต่งกองทัพพระยาสระบุรีเป็นกองหน้ายกนำไปก่อน แล้วเจ้าพระยามหาเสนาจึงยกตามไป และทัพกรมหลวงอนุรักษ์เทเวศร์ กับกรมหลวงนรินทร์รณเรศก็ยกทัพตามไปทีหลัง

กองทัพพระยาสระบุรียกขึ้นไปเวลาเช้าตรู่เห็นฝูงนกกระทุงข้ามน้ำมา พระยาสระบุรีคิดว่าเป็นพม่าก็ขลาดกลัวสั่งถอยทัพ กรมหลวงอนุรักษ์เทเวศร์ทรงทราบว่าพระยาสระบุรีหนีนกกระทุงจึงให้เอาตัวไปประหารชีวิต

เสีย เอาศีรษะเสียบไว้ที่หาดทราย

ฝ่ายทัพหลวงก็เสด็จหนุนขึ้นไป ดำรัสให้กรมหลวงเทพหริรักษ์ยกทัพไปบรรจบกับพระยาพระคลังและพระยาอุทัยธรรมซึ่งตั้งค่

ายอยู่ชัยนาทให้ยกไปทางปากน้ำโพตีทัพพม่าที่บ้านระแหงให้แตกโดยเร็ว ส่วนทัพหลวงตั้งค่ายอยู่ ณ บางข้าวตอกให้เรือตำรวจขึ้นไปเร่ทัพกรมหลวงอนุรักษ์เทเวศร์ให้ตีค่ายพม่าที่ปากพิงให

้แตกในวันเดียว ถ้าช้าไปจะเอาโทษถึงประหาร กรมหลวงอนุรักษ์เทเวศร์กับเจ้าพระยามหาเสนาแจ้งดังนั้นก็เตรียมจัดทัพ พอถึงวันเสาร์ เดือน๔ แรม๔ค่ำปีมะเส็ง

พ.ศ.๒๓๒๘ เวลาเช้าก็ยกพลบุกตีพม่าพร้อมกันทุกค่าย รบกันแต่เช้าจดค่ำ พม่าต้านทัพไทยไม่ อยู่ก็แตกหนีออกจากค่าย กองทัพไทยก็ไล่ตาม พม่าต้องลงน้ำข้ามแม่น้ำหนีไปฝั่งตะวันตก แต่พม่าจมน้ำตายทั้งคนทั้งม้าประมาณ๘๐๐คนเศษ จนศพลอยเต็มแม่น้ำทัพไทยจับเป็นได้ก็มาก

กรมหลวงอนุรักษ์เวศร์กับเจ้าพระยามหาเสนาจึงให้ม้าใช้ไปกราบทูล ณ ค่ายหลวงบางข้าวตอกว่าได้ตีทัพพม่าแตกไปแล้ว

เมื่อพระเจ้าอยู่หัวทรงทราบก็ทรงโปรดให้เจ้าฟ้ากรมหลวงจักรเจษฎา ยกทัพออกไปสมทบกับทัพเจ้าพระยามหาเสนาเพื่อไปช่วยเมืองลำปางที่โดนพม่าล้อมอยู่ แล้วจึงเรียกหาตัวกรมหลวงอนุรักษ์เทเวศร์ กรมหลวงนรินทร์รณเรศ มาเข้าเฝ้า จากนั้นจึงเลิกทัพหลวงมาประทัพอยู่ ณ ค่ายนครสวรรค์

ฝ่ายกองทัพพม่าที่นำโดยจอข่องนรทาทราบว่ากองทัพที่ปากน้ำพิงแตกไปแล้วและทัพไทยกำลัง

ยกขึ้นมา ก็รีบหนีกลับไปทางด่านแม่ละเมา พระยาคลัง,พระยาอุทัยธรรมสืบรู้ว่าพม่าถอยทัพไปแล้วจึงมาแจ้งแก่กรมหลวงเทพหริรักษ์ๆ

จึงกราบทูลมายังทัพหลวง พระเจ้าอยู่หัวทรงทราบก็ให้เรียกตัวกลับ แล้วเลิกทัพกลับพระนคร

ส่วนเนมโยสีหซุยที่แตกทัพมาจากปากน้ำพิงก็เดินทางมาถึงค่ายพม่าที่เมืองลำปาง แล้วแจ้งแก่สะโดะมหาสิริยอุจนาแม่ทัพใหญ่ว่า รบแพ้ไทยมาและกองทัพไทยก็ไล่ติดตามมาจวนถึงลำปางแล้ว เมื่อกองทัพกรมหลวงจักรเจษฎาและเจ้าพระยามหาเสนายกมาถึงก็สั่งเข้าตีค่ายพม่าที่ตั้ง

ล้อมเมือง สะโดะมหาสิริยอุจนาแม่ทัพใหญ่กับอาประการะมะนีจึงสั่งพลพม่าออกรบ ฝ่ายพระยากาวิละก็คุมกองทัพตีกระหนาบออกมา รบกันอยู่ครึ่งวันพม่าก็แตกทัพหนีกลับไปอยู่เมืองเชียงแสน เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงทราบจากใบบอกแล้วก็ทรงให้เรียกทัพกลับพระน

คร

การศึกที่แหลมมลายูฝ่ายใต้

ฝ่ายกองทัพพม่านำโดยเกงหวุ่นแมงยีมาประชุมพร้อมกันที่เมืองมะริดแล้ว เมื่อถึงเดือนอ้าย ปีมะเส็ง พ.ศ.๒๓๒๘ เกงหวุ่นแมงยี่จึงให้ยี่วุ่นคุมพล๓,๐๐๐ขึ้นเรือมาตีเมืองถลาง ให้เนมโยคุงนะรัดเป็นทัพหน้าคุมพล๒,๕๐๐ ตัวเกงหวุ่นแมงยี่เองถือพล๔,๕๐๐ ยกหนุนมาสองทัพ รวม๗,๐๐๐ คน ยกมาทางบกจากเมืองมะริด ตีเมืองกระบุรี เมืองระนองแล้วยกเข้ามาทางปากจั่นถึงเมืองชุมพร กรมการเมืองชุมพรมีไพรพลน้อยก็พาครอบครัวหนีเข้าป่า ทัพพม่าก็เผาเมืองเสียแล้วยกทัพหน้าไปตีไชยา กรมการเมืองไชยาทราบว่าชุมพรเสียแก่พม่าแล้วก็อพยพครอบครัวหนีเข้าป่า พม่าก็เผาเมืองไชยาแล้วยกไปตีนครศรีธรรมราช

ฝ่ายเจ้าพระยานครพัฒน์ทราบว่าพม่าได้เมืองชุมพรและไชยาแล้วก็จัดกองพล๑,๐๐๐เศษไปขัดต

าทัพที่ท่าข้ามแม่น้ำหลวงเขตต่อเมืองไชยา พม่ายกไปถึงเห็นไทยตั้งทัพอยู่พม่าจึงเอาชาวไชยาที่จับได้ไปร้องบอกพวกนครศรีธรรมราช

ว่า

“เมืองบางกอกเสียแล้ว พวกเองมาตั้งค่ายสู้รบเห็นจะสู้ได้แล้วหรือ ให้เร่งไปบอกเจ้านายให้มาอ่อนน้อมยอมเข้าแต่โดยดีจึงจะรอดชีวิตแม้นขัดแข็งอยู่จะฆ่า

ให้สิ้นเสียทั้งเมือง แม้แต่ทารกก็มิให้เหลือ”

พวกกองทัพเมืองนครฯนำเอาความไปแจ้งแก่พระยานครฯ พระยานครฯพิจารณาดูก็เห็นสมคำพม่าด้วยตั้งแต่แจ้งข่าวไปทัพหลวงก็ไม่ยกมาช่วย แล้วก็ไม่ทราบข่าวทางพระนครเลยเกรงกรุงจะแตกแล้วจึงอพยพชาวเมืองหนีเข้าป่า ข้ามเขาบรรทัดไปทางตะวันตก พม่ายกเข้าเมืองนครศรีธรรมราชได้ก็เที่ยวไล่จับและเกลี้ยกล่อมคนที่หนีไม่ทัน กวาดต้อนผู้คนและทรัพย์สินได้เป็นอันมาก พวกผู้ชายพม่ามักหาเหตุฆ่าเสีย เหลือไว้แต่เด็กและผู้หญิง แต่ทรัพย์สมบัติที่พม่าได้จากนครศรีธรรมราชนั้นเรือที่บรรทุกไปแตกล่มในทะเลของจมน้ำ

หมดหาได้ถึงเมืองพม่า พม่าได้เมืองนครศรีธรรมราชแล้วก็คิดอ่านจะยกไปตีพัทลุงกับสงขลาต่อไป


ฝ่ายยี่วุ่นแม่ทัพเรือสามารถตีได้เมืองตะกั่วป่าตะกั่วทุ่งแล้วก็ไปตีเมืองถลาง ยกพลขึ้นบกที่เกาะถลางแล้วเข้าตั้งค่ายล้อมเมืองถลางไว้หลายค่าย เมื่อทัพพม่ายกไปถึงนั้นพระยาถลางชิงถึงแก่กรรมเสียก่อนแล้ว ไม่มีเจ้าเมืองคนใหม่ คุณหญิงจันทรภรรยาพระยาถลางเป็นเชื้อสายเจ้าเมืองถลางมาก่อน กับนางมุกน้องสาวจึงคิดอ่านกับกรมการ เกณฑ์ไพร่พลตั้งค่ายใหญ่สองค่ายป้องกันเมืองไว้อย่างสามารถยี่หวุ่นล้อมเมืองไว้ได้เ

ดือนเศษก็เสบียงหมดต้องยกทัพกลับ

ทางเมืองพัทลุงทราบข่าวว่าเมืองไชยา ชุมพร และนครศรีธรรมราชเสียแก่พม่าแล้ว พระยาแก้วโกรพและกรมการเมืองก็หนีเอาตัวรอดเข้าป่าไป ครานั้นมีพระภิกษุองค์หนึ่งเป็นอธิการอยู่ในวัดเมืองพัทลุงชื่อว่าพระมหาช่วย ชาวเมืองนับถือว่าเป็นผู้มีวิชาอาคมมีความรู้ ได้ชักชวนชาวพัทลุงต่อสู้รักษาเมือง ได้ลงยันต์ ตะกรุด ผ้าประเจียดและมงคลแจกจ่ายเป็นอันมาก กรมการและนายบ้านจึงชักชวนหาคนมาขอของขลังพระมหาช่วยแล้วคิดการยกรบพม่า จนหาคนมาได้พันเศษ ตระเตรียมอาวุธแล้วยกพระมหาช่วยขึ้นคานหาม ยกจากเมืองพัทลุงมาตั้งค่ายดักทางพม่าที่จะยกออกจากเมืองนครศรีธรรมราช

ฝ่ายทัพกรมพระราชวังบวรสถานมงคล เดินทัพมาทางเรือผ่านอ่าวไทยมาถึงชุมพรจึงให้ตั้งค่ายหลวงแล้วดำรัสให้พระยากลาโหมรา

ชเสนา พระยาจ่าแสนยากร ยกทัพหน้าล่วงไปตั้งอยู่เมืองไชยา

ทางทัพพม่ารู้ข่าวทัพกรุงเทพฯมา เกงวุ่นแมงยี่จึงให้เนมโยคุงนะรักเป็นนายทัพหน้ายกมาประจันกับทัพไทย กองทัพพม่าปะทะกับทัพไทยที่ไชยาพม่ายังไม่ทันตั้งค่ายก็ถูกทัพไทยเข้าโอบล้อม ขุดสนามเพลาะรบกันตั้งแต่เช้าจนค่ำ เกิดมีฝนตกห่าใหญ่ปืนเปียกยิงไม่ออกพม่าจึงฝ่าออกไปได้ แต่ตองพยุงโบนายทัพคนหนึ่งของพม่าตายในที่รบ ทหารไทยไล่ตามตีฆ่าฟันและจับเป็นได้เป็นอันมาก เกงวุ่นแมงยี่แม่ทัพทราบว่ากองหน้าแตกแล้วจึงรีบยกทัพกลับเมืองพม่า



ปราบเมืองแขกมลายู

หลังจากเสร็จศึกกับพม่าแล้ว สมเด็จกรมพระราชวังบวรสถานมงคลทรงพระราชดำริจะเอาหัวเมืองมลายูที่เคยเป็นของไทยเมื่

อครั้งกรุงศรีอยุธยากลับคืนมา ด้วยเหตุว่าเมื่อเสียกรุงแล้วพวกหัวเมืองมลายูพากันแยกตัวออก เมื่อครั้งกรุงธนบุรีก็มิได้ปราบเสียให้ราบคาบ แต่เมื่อเสร็จศึกคราวนี้แล้วทัพหลวงมาตั้งอยู่ที่สงขลา สะดวกต่อการทำการยิ่งนัก จึงส่งข้าหลวงเชิญรับสั่งไปยังหัวเมืองแขกคือปัตตานีและไทรบุรีให้เข้ามาอ่อนน้อมแต่

โดยดี

สุลต่านเจ้าเมืองปัตตานีทราบความในรับสั่งแล้วก็แข็งขืนไม่ยอมอ่อนน้อม กรมพระราชวังบวรฯจึงดำรัสให้พระยาจ่าแสนยากรและพระยากลาโหมเป็นกองหน้าไปตีเมืองปัตต

านี แล้วจึงเสด็จลงตามไป ทัพไทยรบชนะตีได้เมืองปัตตานีและได้ปืนใหญ่และทรัพย์สมบัติมาเป็นอันมาก ปืนใหญ่นั้นชื่อพระยาตานี กรมพระราชวังบวรทรงให้นำลงสำเภาส่งมากรุงเทพฯ

เมื่อพระยาไทรพระยากลันตันและพระยาตรังกานูทราบว่าปัตตานีรบแพ้ไทยจึงแต่งเครื่องราช

บรรณาการมาถวายขออยู่ภายใต้ขอบขัณฑสีมาด้วย หลังจากเสร็จการใหญ่แล้วกรมราชวังบวรฯก็ทรงแต่งหนังสือบอกข้อราชการไปยังกรุงเทพมหาน

คร

เมื่อสมเด็จพระอนุชาธิราช กรมพระราชวังบวรสถานมงคลทรงเสด็จมาถึงกรุงเทพมหานครแล้ว พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกก็ทรงตั้งกรมการเมืองที่มีความชอบขึ้นเป็นพระยาถลา

งและตั้งคุณหญิงจันทร์ภรรยาพระยาถลางคนเก่าให้เป็นท้าวเทพสตรี ส่วนนางมุกน้องสาวให้เป็นท้าวศรีสุนทร พระราชทานเครื่องยศทองคำอันได้แก่ ถาดทองคำเชี่ยนหมาก จอกหมากทองคำ ตลับทองคำสามใบเถา คนโททองคำและขันน้ำทองคำอีกหนึ่งใบ1 แล้วโปรดเกล้าฯให้ตั้งหลวงสุวรรณคีรีเป็นพระยาสงขลา ยกให้เป็นเมืองตรีขึ้นต่อกรุงเทพมหานคร ส่วนหัวเมืองประเทศราชมลายูยกให้ขึ้นแก่เมืองสงขลาต่อไป ทางพระมหาช่วยที่ที่เมืองพัทลุงนั้นก็ลาสิกขาออกรับราชการได้ที่เป็นพระยาทุกขราษฎร์

ประจำที่กรมการเมืองพัทลุง ส่วนพระยานครพัฒน์และพระยาพัทลุงทรงไม่ได้เอาโทษที่หนีเข้าป่า เพราะเห็นว่าศึกเกินกำลังและไม่ได้ข่าวสารจากกรุงเทพฯ จึงไม่ลงพระราชอาญา

สาเหตุที่ไทยรบชนะพม่า

1การวางแผนที่ผิดพลาดของพม่า

กองทัพพม่าซึ่งนำโดยพระเจ้าปดุงอังวะมีการวางแผนที่ผิดพลาด กล่าวคือ มีการแยกทัพออกไปมากถึงเก้าทัพ ทำให้กองทัพที่มีกำลังถึงแสนสี่หมื่นคนต้องแบ่งกำลังคนออกเป็นทัพเล็กทัพน้อยทำให้ไม

่สามารถใช้กำลังคนจำนวนมากให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้ เมื่อทัพไทยที่มีกำลังน้อยกว่าครึ่งหนึ่งคือเพียงแค่เจ็ดหมื่นคน(ทัพที่ลาดหญ้าสามหม

ื่นคน)แต่รวมกำลังเข้าจู่โจมทัพหลวงที่เป็นหัวใจหลักของทัพพม่าทำให้ทัพหลวงส่วนหน้า

พ่ายแพ้ไปในที่สุด

อีกสิ่งหนึ่งคือการแบ่งเป็นหลายทัพและกระจายกันออกไป ในพื้นที่ที่ห่างไกลกัน ทำให้การนัดหมายรวมพลไม่เป็นไปตามที่กำหนด ทัพหลวงที่มาทางด่านเจดีย์สามองค์ซึ่งเป็นทางสะดวกและใกล้แหล่งรวมพลคือเมาะตะมะมาถึ

งก่อน ทัพที่มาทางราชบุรีต้องข้ามเทือกเขาบรรทัดมาซึ่งเป็นทางทุรกันดารนัก ก็มาช้ามากทัพหลวงแตกไปแล้วเพิ่งยกมาถึง ทัพที่ยกมาตีหัวเมืองเหนือและใต้ ถึงแม้จะมาเร็วแต่ไม่ได้รับคำสั่งให้มารวมพลที่กรุงเทพและไม่รู้ข่าวกันและกัน เมื่อทัพกลางแตกไปทัพเหนือและใต้ก็ไม่รู้ ได้แต่ทำหน้าที่ของตนไป เมื่อทัพใหญ่ของไทยยกไปตีก็พ่ายแพ้ไปในที่สุด

ถ้าพม่าจะแก้ไขเรื่องข่าวสารระหว่างกองทัพควรตั้งสถานีนกพิราบสื่อสารไว้ตามแนวเทือก

เขาบรรทัดในฝั่งพม่า จะได้คอยส่งหนังสือบอกข่าวระหว่างทัพให้รู้กันโดยไวโดยกองทัพส่งกลับมาที่สถานีแล้วส

่งข่าวต่อไปยังทัพที่ใกล้ที่สุด หรือถ้าไกลนักก็ให้ส่งต่อไปยังสถานีอื่นต่อกันเป็นทอดๆ หรืออย่างน้อยก็ควรมีม้าเร็วส่งข่าวระหว่างทัพจึงจะเป็นการดี


2กลยุทธอันชาญฉลาดของฝ่ายไทย

ในสมัยที่กรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีทัพไทยจะใช้รูปแบบการรบอยู่สองอย่างคือ
1.ถ้าข้าศึกมีกำลังน้อยจะยกทัพออกไปรับนอกพระนคร
2.ถ้าข้าศึกมีกำลังมากกว่ามาก จะตั้งรับอยู่ในพระนครรอจนฤดูน้ำหลากให้ข้าศึกยกทัพกลับไปเอง

ซึ่งทั้งสองกลยุทธนี้ก็ใช้ได้ผลตลอดจนมาเมื่อคราวก่อนกรุงแตก ทัพพม่าได้เตรียมเสบียงอาหารเอาไว้อย่างดี และมีการต่อแพและสร้างค่ายบนที่ดอนไม่ยกกลับไปเมื่อฤดูน้ำหลาก จึงสามารถตีกรุงศรีอยุธยาได้
แต่คราวสงครามเก้าทัพนี้ ฝ่ายไทยได้ใช้ยุทธวิธีใหม่คือ การยกทัพใหญ่ออกไปรบกับพม่าถึงชายแดน ทำให้พม่าต้องหยุดอยู่ที่ทุ่งลาดหญ้าหน้าด่านเจดีย์สามองค์ทำให้ทัพอื่นๆที่ตามหลังม

าต้องหยุดตามไปด้วย กลยุทธนี้สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงวิเคราะห์ไว้ว่าเปรียบเสมือนการปิดตรอกตีพม

่า1 ซึ่งก็คือทัพไทยไปตั้งค่ายดักพม่าอยู่ทุ่งลาดหญ้าหน้าด่านเจดีย์สามองค์ซึ่งเป็นช่อง

เขา เปรียบเสมือนเป็นตรอก ทัพพม่ายกมาเจอทัพไทยตั้งดักอยู่ ก็ต้องหยุดทัพตั้งค่ายทัพพม่าอื่นๆที่ตามมาข้างหลังก็ต้องหยุดตั้งค่ายเรียงรายกันอย

ู่ในช่องเขาบรรทัด เดินหน้าต่อไปไม่ได้ด้วยทัพไทยขวางอยู่เสียแล้ว อีกทั้งการตั้งค่ายก็ตั้งอยู่ตามเชิงเขาซึ่งเป็นที่ทุรกันดาร การคมนาคมขนส่งไม่สะดวก ทำให้ถูกตีชิงเสบียงระหว่างทางขนส่งได้ง่าย

แผนการนี้มีที่มาจาก หลังจากที่ทางพระนครทราบข่าวการเคลื่อนทัพของพม่าจากใบบอกของหัวเมืองเหนือใต้และกอง

มอญลาดตระเวนแล้ว พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงเรียกประชุมพระบรมวงศานุวงศ์และขุนนางข้าราชบริ

พาร ให้มาหารือเรื่องการรับศึกพม่า แต่การหารือครั้งนี้ไม่มีการบันทึกรายงานการประชุมไว้ทำให้ไม่สามารถทราบรายละเอียด แต่พอจะคาดการจากการกระทำได้ว่าจะยกทัพไปจัดการทัพหลวงของพม่าที่ด่านเจดีย์สามองค์ก

่อน แล้วค่อยไปจัดการกับส่วนอื่นๆทีหลังดังจะเห็นได้จากหลังจากที่ทัพกรมพระราชวังบวรฯเส

ร็จศึกทางด่านเจดีย์สามองค์แล้วก็ทรงยาตราทัพขึ้นไปทางเหนือ เมื่อจัดการกับทัพพม่าทางเหนือแล้วก็ทรงเสด็จลงเรือล่องลงใต้สู่แหลมมลายูจัดการกับท

ัพพม่าที่เหลือต่อไป

ยุทธวิธีนี้เปรียบเสมือนการรักษาคนป่วยที่เจ็บหลายที่ จะรักษาให้หายได้นั้นต้องรักษาส่วนที่เห็นว่าหนักหนาสากรรจ์เสียก่อนเพื่อรักษาชีวิต

แล้วจึงค่อยไปรักษาส่วนอื่นๆที่เจ็บน้อยกว่า

3ขวัญกำลังใจและกำลังรบ

ขวัญกำลังใจของทหารเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้กองทัพรบชนะถ้าทหารมีขวัญกำลังใจดีมีความ

ฮึกเหิมในการรบการบชนะก็ไม่ใช่เรื่องยาก แต่ถ้าทหารหมดอาลัยท้อแท้ไม่อยากรบการที่จะรบชนะนั้นก็จะเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้เ

ลย

แต่ในการรบนั้นจะเอาใจใส่แต่ขวัญกำลังใจทหารฝ่ายตนข้างเดียวไม่ได้ ต้องคิดว่าทำอย่างไรจึงจะทำลายขวัญฝ่ายตรงข้ามได้ด้วยกาทำให้ทหารมีขวัญกำลังใจในการ

รบนั้นมีทั้งการขู่และการปลอบ การขู่คือการลงโทษทหารที่กลัวไม่กล้ารบทำให้ทหารคนอื่นๆเกิดความเกรงกลัวการลงโทษยอม

ออกไปรบ ดังเช่นที่กรมพระราชวังบวรสถานมงคลทรงให้สร้างครกกับสากใหญ่ไว้ในค่ายสามสำรับสำหรับ

โขลกพวกที่หนีไม่กล้าสู้พม่า

ส่วนการปลอบนั้นคือการใช้ถ้อยคำปลุกใจหรือการกระทำของตัวผู้นำที่ทำให้ทหารเกิดความฮ

ึกเหิมไม่เกรงกลัวข้าศึก ส่วนการทำลายขวัญข้าศึกคือการกระทำใดๆก็ตามที่ทำให้ข้าศึกเกิดความขลาดกลัวไม่กล้ารบ

ซึ่งในสงครามเก้าทัพนี้ ข้าศึกเริ่มขลาดกลัวฝ่ายไทยเมื่อครั้งที่พม่าต่อหอรบเอาปืนใหญ่ขึ้นตั้งยิงมายังค่าย

ไทย กรมพระราชวังบวรฯจึงทรงให้นำปืนลูกไม้ตั้งแต่ครั้งกรุงธนบุรีออกมาตั้งเรียงรายหน้าค

่ายระดมยิงท่อนไม้ถล่มค่ายพม่าบ้าง ก็ถูกหอรบและป้อมค่ายพม่าหักพังลง อีกทั้งปืนลูกไม้ของไทยใช้ลูกเป็นไม้ทำให้ลำกล้องไม่ร้อนยิงได้เรื่อยๆ และปืนใหญ่โบราณก็เป็นกระสุนวิถีราบเมื่อหอรบพม่าหักพังก็ไม่สามารถจะยิงตอบโต้กับไท

ยได้

อีกตอนหนึ่งคือ เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงมีความเป็นห่วงจึงยกทัพหลวงมาจนถึงค่ายไทย

ที่ลาดหญ้า พม่ามองลงมาจากหอรบลงมาเห็นทหารหลายหมื่นยกมาเพิ่มเติมก็เกิดความขยาดขลาดกลัว อีกทั้งกรมพระราชวังบวรฯทรงดำริแผนทำลายขวัญพม่าได้อีกโดยลอบนำทัพออกจากค่ายลาดหญ้า

ไปพักทัพอยู่ที่เมืองกาญจนบุรีในเวลากลางคืนแล้วยกพลกลับตอนรุ่งสางทำทีว่าเป็นทัพหน

ุนยกมาเพิ่มเติม และทำเช่นนี้ทุกวัน ฝ่ายพม่าเห็นดังนั้นจึงสำคัญว่าเป็นทัพหนุนยกมาเพิ่มทุกวันจึงเกิดความขลาดกลัวไม่กล

้าออกรบได้แต่ตั้งอยู่ในค่ายเมื่อถูกทัพไทยระดมตีจึงพ่ายแพ้ไปในที่สุด

พระเจ้านโปเลียนมหาราชเคยกล่าวไว้ว่า”กองทัพต้องเดินด้วยท้อง”ซึ่งหมายถึงว่ากองทัพจ

ะมีกำลังรบอยู่ได้ ทหารในทัพต้องมีอาหารกินจนอิ่ม เมื่อทหารกินจนอิ่มแล้วจึงจะมีแรงรบแต่ถ้าไม่มีอาหารกิน ทหารอยู่อย่างอดอยากการที่จะรบชนะนั้นก็แทบจะเป็นไปไม่ได้เลย เช่นเดียวกันในศึกสงครามเก้าทัพ กรมพระราชวังบวรฯทรงให้พระองค์เจ้าขุนเณรเป็นผู้นำกองโจร คุมพล๑,๕๐๐คนไปตีตัดเสบียงพม่าที่ส่งมาจากทัพหลังทำให้ทัพหน้าของพม่าที่มารบกับไทยข

าดเสบียงและอดอาหาร ไม่มีแรงรบ และทัพไทยยังได้เสบียงและช้าง ม้า วัวที่ขนเสบียงของพม่าอีกด้วย มีครั้งหนึ่งทัพหลวงพม่าให้เอาเสบียงบรรทุกช้างกว่าหกสิบเชือกทหารหาบหามเสบียงสามร้

อยคนก็ถูกกองโจรไทยตีชิงได้หมด

ถ้าพม่าต้องการแก้ไขตรงนี้ทัพพม่าต้องจัดกองกำลังคุ้มกันเสบียงมากหน่อย ต้องให้มากกว่ากองโจรไทย อย่างน้อยต้องมากกว่าหนึ่งพันห้าร้อยคนของกองโจรไทย หรือวางกลศึกล่อลวงให้กองโจรไทยมาตีชิงเสบียงโดยซุ่มทหารล้อมจับก็อาจแก้ปัญหาการตีต

ัดเสบียงได้



4ความพร้อมในการรบ

ในการทำสงครามนั้นฝ่ายที่มีความพร้อมมากกว่าก็เท่ากับว่ามีชัยชนะไปกว่าครึ่งหนึ่งแล

้ว ดังนั้นการเตรียมพร้อมรบจึงเป็นสิ่งสำคัญมากดังคำพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระมงกุ

ฏเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ว่า ”ถ้ารักสงบจงเตรียมรบให้พร้อมสรรพ” ซึ่งหมายความว่าถ้าต้องการจะอยู่อย่างสงบต้องมีการเตรียมพร้อมในการรบเมื่อมีภัยสงคร

ามมาจะได้สามารถป้องกันเอาไว้ได้

ในสงครามเก้าทัพนี้ถ้าดูจากกำลังพลพม่ามีมากกว่าไทยกว่าครึ่งหนึ่ง แต่ทัพไทยก็ยังสามารถเอาชนะทัพพม่าได้ ในการรบนั้นจำเป็นต้องมีปัจจัยในการรบที่ดีจึงจะสามารถเอาชนะข้าศึกได้ ซึ่งปัจจัยดังกล่าวได้แก่
1.กำลังพล
2.ยุทธโธปกรณ์
3.เวลา
4.ภูมิประเทศ
5.ผู้นำ
6.การดำเนินกลยุทธ
7.การส่งกำลังบำรุง

ถ้าพิจารณาจากบันทึกทางประวัติศาสตร์จะเห็นได้ว่าทัพพม่าจะเหนือกว่าไทยแค่กำลังพลเท

่านั้น ส่วนปัจจัยด้านอื่นๆทัพไทยไม่ได้ยิ่งหย่อนไปกว่าทัพพม่าเลยบางอย่างอาจดีกว่าด้ายซ้ำ

สิ่งที่ทัพไทยเหนือกว่าอาจแจกแจงได้ดังนี้

1.ยุทธโธปกรณ์-ยุทธโธปกรณ์ในการรบในสมัยก่อนนั้นส่วนใหญ่ก็คล้ายๆกันคือมีดาบ ปืนคาบศิลา ปืนใหญ่ เป็นต้น แต่ทัพไทยมีปืนลูกไม้ที่ใช้ยิงท่อนไม้ ถึงแม้อานุภาพไม่ร้ายแรงนักแต่สามารถยิงทำลายหอรบและกำแพงค่ายได้ อีกทั้งยังยิงได้ต่อเนื่องเพราะลำกล้องจะร้อนช้ากว่าใช้กระสุนปืนใหญ่

2.เวลา- ทัพไทยทราบข่าวเร็วจากกองมอญลาดตระเวนและใบบอกจากหัวเมืองว่าพม่าตั้งทัพเตรียมยกมาต

ี ทำให้ทางฝ่ายไทยมีเวลาเตรียมตัวคิดกลยุทธรับศึกและเรียกระดมพล เมื่อทัพพม่ามาถึงลาดหญ้านั้นทัพไทยได้มาตั้งทัพรอยู่ถึงสิบห้าวันแล้ว

3.ภูมิประเทศ-ทัพไทยรู้จักใช้ภูมิประเทศให้เป็นประโยชน์ในการรบและการเดินทาง ทัพไทยเดินทางมาทางเรือซึ่งเร็วกว่าทัพพม่าที่มาทางบกต้องฝ่านป่าและภูเขา

4.ผู้นำ- ทัพไทยมีผู้นำที่ชาญฉลาดเป็นทัพหน้าคือกรมพระราชวังบวรฯส่วนทัพหน้าของพม่าคือเมียนห

วุ่นแมงยี่กับเมียนเมหวุ่นไม่อาจสู้กรมพระราชวังบวรฯได้ถึงแม้ทัพพม่าจะมีแม่ทัพมากแ

ต่ทัพหน้ามีเพียงสองคนนี้เท่านั้น พระเจ้าปดุงเองก็อยู่ทัพหลวงซึ่งห่างออกไปหลายสิบกิโลเมตรไม่อาจบัญชาทัพได้

5.การดำเนินกลยุทธ-ฝ่ายไทยรู้จักใช้ยุทธวิธี”ปิดตรอกตีพม่าซึ่งได้กล่าวไปแล้วในข้างต้น ที่เป็นการใช้ภูมิประเทศให้เป็นประโยชน์ และยังมีการตีชิงเสบียงเพื่อทอนกำลังข้าศึก อีกทังใช้กลศึกลวงพม่าให้เข้าใจผิดว่ามีทัพหนุนมาเพื่อทำให้ข้าศึกเสียขวัญและไทยยัง

สามารถดำเนินกลยุทธได้เหมาะสมทุกขั้นตอนคือ
5.1ขั้นตอนดำเนินการตั้งรับด้วยการเข้ายึดพื้นที่ๆเกือกูลการปฏิบัติเสียก่อน คือการเข้ายึดพื้นที่ทุ่งลาดหญ้า
5. 2การวางกำลังในแนวต้านทานหลักคือการตั้งทัพหน้าดักทัพพม่าที่ทุ่งลาดหญ้าบริเวณหน้าด

่านเจดีย์สามองค์
5.3การจัดหน่วยระวังป้องกันเป็นกองรักษาด่านรบ เพื่อสังเกตการเข้ามาของข้าศึกคือการจัดกองมอญไปขัดตาทัพ
5. 4เมื่อข้าศึกรุกเข้ามาบีบข้าศึกให้เข้าไปอยู่บนเขาอันเป็นพื้นที่ๆจะใช้ปืนใหญ่ยิงคื

อการดึงข้าศึกมาเข้าพื้นที่สังหารแบบคล่องตัว
5.5ทำให้ข้าศึกอ่อนกำลังบอบช้ำและเสียขวัญคือการตีตัดเสบียง การลวงข้าศึกและการยิงปืนใหญ่รบกวน
5.6กลับทำการรุกโดยดำเนินการตามหลักการเข้าตีโดยครบถ้วนคือ
-ใช้ปืนใหญ่ยิงตัดรอนกำลังและยิงรบกวนข้าศึก
-ทำให้ข้าศึกอ่อนกำลังลงด้วยวิธีดังกล่าวมาแล้ว
-เข้าตีข้าศึกอย่างรุนแรงและฉลับพลัน1
ด้วยยุทธวิธีทั้งหมดนี้ทำให้ไทยสามารถเอาชนะทัพพม่าได้ในที่สุด

นอกจากนี้ทัพพม่ายังทำผิดหลักพิชัยสงครามอีกหลายประการเช่นที่ปากพิงทัพพม่าตั้งค่าย

หันหลังให้แม่น้ำเมื่อถูกทัพไทยรุกไล่ก็ไม่มีทางหนีต้องหนีลงแม่น้ำทำให้จมน้ำตายหลา

ยร้อยคน และที่ราชบุรีก็ไม่มีการตรวจตราลาดตระเวนทั้งๆที่ตั้งค่ายอยู่ห่างค่ายไทยเพียงแค่๕ก

ิโลเมตรก็ยังไม่รู้(อันนี้ทัพไทยก็ด้วยเหมือนกัน)


5กองทัพพม่าประกอบด้วยคนหลายเชื้อชาติและตั้งค่ายในป่าทำให้ป่วยกันมาก

ตอนที่พระเจ้าปดุงทรงรวบรวมกำลังพลนั้น ทรงเกณฑ์พลมาจากเมืองประเทศราชที่ตีมาได้ด้วย ทั้งมอญรามัญ ยะไข่ ไทยใหญ่ และมณีบุระ ทำให้กองทัพที่มีกำลังถึงแสนสี่หมื่นคนนั้นอาจไม่เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ซึ่งจะนำไปสู่ความพ่ายแพ้ในที่สุด นอกจากนั้นการที่พม่าตั้งทัพในป่าที่มียุงชุมทำให้ทหารป่วยเป็นไข้ป่า(มาลาเรีย)กันม

าก มีบันทึกไว้ว่าไพร่พลพม่าเจ็บไข้ตายลงกันทุกๆกองทัพ

จากที่ได้กล่าวมาทั้งหมดนั้นคือสาเหตุว่าทำไมทัพไทยที่มีกำลังน้อยกว่าครึ่งหนึ่งจึง

สามารถเอาชนะทัพพระเจ้าปดุงที่ยกพลมากันมหาศาลได้ และยังเป็นบทเรียนสำคัญให้แก่พม่าในการแก้ไขข้อบกพร่องในการเข้ามาตีไทยครั้งต่อไป นั่นคือสงครามครั้งที่สองแห่งกรุงรัตนโกสินทร์สงครามท่าดินแดงนั่นเอง


จบแล้วจ้ารบกันสนุกดีไหมจ๊ะ โฮะๆๆ

หาพงศาวดารพม่าอ่านไม่ได้เล้ย ยังดีมีของนักวิชาการที่อ่านพงศาวดารพม่าแล้วมาเขียนไว้เลยใช้เป็นข้อมมูลอ้างอิงได้

ขืนใช้แต่พงศาวดารไทยลำเอียงตายเลยครับ

หนังสืออ้างอิง

พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์รัชกาลที่๑ โดย เจ้าพระยาทิพพากรวงศ์

"ข้อมูลสงครามเก้าทัพ" โดย พลโทรวมศักดิ์ ไชยโกมินทร์

พม่ารบไทย:ว่าด้วยสงครามระหว่างไทยกับพม่า โดย ดร.สุเนตร ชุตินธรานนท์

พงศาวดารเรื่องไทยรบพม่า โดย สมเด็จพระบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ

ขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้ด้วยค่ะ

7 ความคิดเห็น:

  1. อันนี้มันของผมเขียนลงไว้ที่ไทยสามก๊กนี่

    ตอบลบ
  2. ไม่ระบุชื่อ16 มีนาคม 2555 เวลา 18:38

    ขอบคุนมากคั๊บผมเอามาทำรายงานนะ

    ตอบลบ
  3. สนุกมากเลยค่ะ เคยเรียนมานานแล้ว ได้รื้อฟื้น เลือดรักชาติเดือดปุดๆเลยค่ะ

    ตอบลบ
  4. ขอบคุณครับ

    ตอบลบ
  5. ไม่ระบุชื่อ4 มกราคม 2556 เวลา 18:21

    ขอแบบย่อคับ

    ตอบลบ
  6. ขอคุณคับพาไปทำรายงานนะคับ
    ป.ล. อยากได้แบบย่อมากกว่าอะครับบ

    ตอบลบ
  7. ไม่ระบุชื่อ9 สิงหาคม 2556 เวลา 23:19

    สนุกมากเลยครับ
    ปล.เอาไปทำละครเวที อิอิ 555

    ตอบลบ