Wlecom To Blog Kru Ploy Na Ka

หน้าเว็บ


ขอฝากจากตลาดคลองสาน 100 ปี

วันอังคารที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ห้องเเรก เสวยราชสมบัติ



ห้องเเรก เสวยราชสมบัติ
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ในพระบรมราชูปถัมภ์



ห้องแรก : เสวยราชสมบัติ
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงประกอบพิธีพระบรมราชภิเษก 2 ครั้ง ในครั้งแรก ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ให้จัดการพระราชพิธี บรมราชาภิเษก ตามขัตติยโบราณราชประเพณี เพื่อประดิษฐาน ความเป็นพระมหากษัตริย์ โดยสมบูรณ์ เมื่อวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๔๕๓ แต่งดการแห่เสด็จเลียบพระนคร และการรื่นเริงอื่นๆ จนกระทั่งถวายพระเพลิง พระบรมศพพระราชบิดา คือ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และครบกำหนด การไว้ทุกข์แล้ว ๑ ปี นับแต่วันสวรรคต จึงโปรดเกล้าฯ ให้จัดการพระราชพิธี บรมราชาภิเษกสมโภช อีกครั้งหนึ่ง ในครั้งนี้ มีเจ้านาย และอรรคราชฑูต ผู้แทนพระองค์ พระราชาธิบดี และผู้แทนประธานนาธิบดี จากนานาประเทศมาร่วม งานถึง ๑๔ ประเทศ

ห้องที่ ๒ : ทัดเทียมประเทศอารยะ
ใน พ.ศ. ๒๔๕๗ ได้เกิดสงครามขึ้นในทวีปยุโรปโดยแบ่งออกเป็นฝ่ายมหาอำนาจอันได้แก่ เยอรมัน และออสเตรีย-ฮังการี กับฝ่ายสัมพันธมิตรได้แก่อังกฤษ ฝรั่งเศส เบลเยี่ยม และรัสเซีย เป็นต้น ต่อมาสงครามนี้ ได้กลายเป็นมหาสงครามโลกครั้งที่ 1
ในระยะแรก ของสงครามสยามประเทศ ได้ประกาศความเป็นกลาง แต่เนื่องจาก พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นนายทหารเก่าแก่แห่งกรมทหารราบเบาเดอรัม พระองค์พระราชทานพระราชทรัพย์แก่ทายาทของทหาร ในกรมทหารราบเบาเดอรัม ที่เสียชีวิตในสงคราม และสมเด็จ พระเจ้ายอร์ชที่ ๕ แห่งอังกฤษ ทรงซาบซึ่งพระทัย ได้ถวายพระยศ นายพลเอกพิเศษแห่งกองทัพบกอังกฤษ และพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ถวายพระยศ พลเอกพิเศษแห่งกองทัพบกสยาม เป็นการตอบแทน

ห้องที่ ๓ : นำชัยชนะสู่สยาม
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระบรมราชโองการ ประกาศสงครามกับ ประเทศเยอรมนี และออสเตรีย-ฮังการี เมื่อวันที่ ๒๒ กรกฎาคม ๒๔๖๐ เพื่อรักษาประโยชน์ ของประเทศ และเพื่อรักษา ความเป็นธรรม ของโลกส่วนรวม พระองค์ทรงโปรดเกล้าฯ ให้จัดกองทหาร อาสามสมัคร ไปร่วมรบกับ ฝ่ายสัมพันธมิตร ณ สมรภูมิ ทวีปยุโรป เมื่อสงครามโลกยุติลง กองทหารอาสาสมัคร เดินทางถึง กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ ๒๑ กันยายน พ.ศ. ๒๔๖๒ ทรงโปรดฯ ให้จัดงานฉลอง พระราชทาน เครื่องราชอิสริยาภรณ์ อันมีศักดิ์รามาธิบดี แก่ธงไชยเฉลิมพล โดยทรงผูกประทับดวงตรา ที่ยอดคันธงไชยเฉลิมพลนั้น ด้วยพระองค์เอง
การร่วมกับฝ่ายชนะสงครามนี้ ทำให้เราสามารถแก้ไข สนธิสัญญาทางการค้า และการศาลกับนานาประเทศ ได้เป็นผลสำเร็จ


ห้องที่ ๑๐ : เกิดอุดมศึกษา

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสนพระทัย ในเรื่องการศึกษาของชาติเป็นอย่างยิ่ง ด้วยทรง พระราชดำริว่า "…การศึกษาย่อมเป็นการสำคัญอย่างยิ่ง และเป็นต้นเหตุแห่งความเจริญของชาติบ้านเมือง ผู้ใดอุดหนุนการศึกษา ผู้นั้นได้ชื่อว่า อุดหนุนชาติบ้านเมือง…" พระองค์ทรงริเริ่ม สร้างโรงเรียนขึ้นแทนวัด ประจำรัชกาล และพระราชทานการอุดมศึกษาแก่คนไทย โดยทรงโปรดฯ ให้ตราพระราชบัญญัติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พร้อมกับพระราชทานเงินไว้ เป็นทุนของมหาวิทยาลัย และพระราชทานที่ดิน พระคลังข้างที่ ที่ตำบลสระปทุม เนื้อที่ ๑,๓๐๙ ไร่ ไว้เป็นอาณาเขต ทั้งยังทรงพระกรุณาเสด็จฯ ไปทรงวาง ศิลาพระฤกษ์ ตึกบัญชาการ ซึ่งปัจจุบัน คือ คณะอักษรศาสตร์ เมื่อวันที่ ๓ มกราคม พ.ศ. ๒๔๕๘ อีกด้วย

ห้องที่ ๑๑ : ทดลองประชาธิปไตย

ดุสิตธานี เป็นเมืองจำลองเล็ก ๆ ตั้งอยู่ในบริเวณ พระราชวังดุสิต และภายหลังย้ายมาที่ พระราชวังพญาไท ประกอบด้วย อำเภอ ๖ อำเภอ บ้านเรือน ๓๐๐ หลังคาเรือน ถนน วัด ร้านค้า โรงเรียน โรงพยาบาล สถานที่ ประชุม พระราชวัง และสวนสาธารณะ มีนคราภิบาล ทำหน้าที่บริหาร มีพรรคการเมือง ๒ พรรค มีการทดลองการเลือกตั้ง คือแบบเลือกนคราภิบาลโดยตรง และให้เลือก เชษฐบุรุษของอำเภอ แล้วจึงเลือกตั้ง นคราภิบาล จากเชษฐบุรุษเหล่านั้น ฉะนั้น ดุสิตธานีจึงเป็นภาพรวม ของการทดลอง การปกครองระบอบประชาธิปไตย ในระยะแรก อาคารบ้านเรือนต่างๆ พลัดหายไปมาก ที่จัดแสดง มีพระที่นั่งเทวอาสน์จำรูญ พระที่นั่งไพชยนต์มหาปราสาท พระที่นั่งบรมพิมาน และพระที่นั่งสุทไธสูรย์ปราสาท

ห้องที่ ๑๒ : ทรงนำไทยให้รุ่งเรือง

"ในขั้นต้น กิจกรรมต่าง ๆ คงต้องเดินอย่างช้า ๆ เพราะมีเครื่องกีดขวางอยู่หลายอย่าง ที่ฉันจะต้องข้าม เราอยู่ในสมัยที่ลำบาก เพราะมีขนบธรรมเนียมโบราณ คอยต่อสู้ขัดขวางการเปลี่ยนแปลง แต่ฉันไม่คิด ยอมแพ้ ฉันหวังว่า ฉันจะยังมีชีวิตอยู่นานพอ จะได้เห็น ประเทศสยามได้เข้าร่วมอยู่ ในหมู่ชาติต่าง ๆ โดยได้รับเกียรติและความเสมอภาคอย่างจริง ๆ ตามความหมายของคำนั้นทุกประการ"

ด้วยพระราชปณิธาน ที่พระราชทานแก่พระอนุชา เมื่อต้นรัชกาลตลอดเวลา ๑๕ ปี ในรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงนำ รัฐนาวาฝ่าคลื่นแห่งปัญหา ครั้งแล้วครั้งเล่า เพื่อไปให้ถึงจุดหมายที่ทรงวาดหวังไว้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น