Wlecom To Blog Kru Ploy Na Ka

หน้าเว็บ


ขอฝากจากตลาดคลองสาน 100 ปี

วันอังคารที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2553

คลองหลอดวัดราชนัดดาราม และคลองหลอดวัดราชบพิธ


คลองที่ขุดเชื่อมระหว่างคลองคูเมืองเดิมกับคลองรอบกรุง เรียกสั้นๆว่า คลองหลอด ซึ่งคลองมาจากลักษณะของคลองที่เล็กและตรงเท่ากันตลอดสาย ทำหน้าที่ชักน้ำระหว่างคลอง คลองหลอดที่กรุงเทพฯ มี ๒ คลอง คือ
คลองหลอดแรก เริ่มจากคลองคูเมืองเดิมบริเวณใกล้วัดบุรณศิริอมาตยาราม ผ่านวัดมหรรณพารามวรวิหาร ออกคลองรอบกรุงบริเวณวัดเทพธิดาวรวิหาร บางครั้งเรียกชื่อคลองตามชื่อวัดว่า คลองวัดเทพธิดา หรือ เรียกตามสถานที่ที่คลองหลอดผ่าน เช่นคลองวัดบุรณศิริฯคลองวัดมหรรณพฯและคลองวัดราชนัดดา เป็นต้น
คลองหลอดที่สอง เริ่มจากคลองคูเมืองเดิมบริเวณใกล้วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามวรวิหาร ผ่านวัดสุทัศน์เทพวรารามราชวรมหาวิหาร ออกคลองรอบกรุงบริเวรสะพานถ่าน บางครั้งเรียกชื่อคลองตามชื่อวัดว่า คลองวัดสุทัศน์หรือเรียกตามสถานที่ที่คลองหลอดสายนี้ผ่าน คลองสะพานถ่าน คลองวัดราชบพิธฯ เป็นต้น
คลองหลอดทั้งสองนี้ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ขุดขึ้นหลังจากขุดคลองรอบกรุงแล้ว ด้วยมีพระราชประสงค์ให้เป็นเส้นทางคมนาคมสัญจรติดต่อค้าขายของราษฎร และราษฎรพากันเรียกคลองทั้งสองว่าคลองหลอด ตามลักษณะของคลอง
ในสมัยต่อมาชื่อคลองหลอดถูกนำไปเรียกคลองคูเมืองเดิม ทั้งนี้น่าจะเกิดจากความเข้าใจผิดอันเนื่องมาจากประกาศของสุขาภิบาล ร.ศ. ๑๒๗ (พ.ศ.๒๔๕๑) ให้แบ่งระยะเรียกชื่อคลองคูเมืองเป็น ๓ ตอน ตอนกลางคือระยะจากปากคลองหลอดวัดราชนัดดาถึงปากคลองหลอดวัดสุทัศน์ ให้เรียกว่าคลองหลอด จึงเรียกชื่อคลองคูเมืองเดิมทั้งสายว่าคลองหลอด
ในโอกาสสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ ๒๐๐ ปี รัฐบาลจึงมีมติเมื่อวันที่ ๗ ธันวาคม พ.ศ ๒๕๒๕ ให้เรียกชื่อคลองทั้งหลายให้ถูกต้องตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ คลองหลอดทั้งสองจึงได้ชื่อว่า คลองหลอดวัดราชนัดดารามและคลองหลอดวัดราชบพิธ

แหล่งอ้างอิง: ข้อมูลดีๆ จากหนังสือ "ชื่อบ้าน นามเมือง" โดยคุณศันสนีย์ วีระศิลป์ชัย ในเครือสำนักพิมพ์มติชน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น