Wlecom To Blog Kru Ploy Na Ka

หน้าเว็บ


ขอฝากจากตลาดคลองสาน 100 ปี

วันเสาร์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

โรงพยาบาลศิริราช






โรงพยาบาลศิริราช เป็นโรงพยาบาลของรัฐ สังกัดคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ตั้งอยู่ เลขที่ 2 ถนนพรานนก แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ตรงข้ามกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ท่าพระจันทร์)
ประวัติ
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเกิดอหิวาตกโรคระบาดชุกชุมเมื่อ พ.ศ. 2424 ในครั้งนั้นทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งโรงพยาบาลขึ้นชั่วคราวในที่ชุมชนรวม 48 ตำบล ครั้นโรคร้ายเสื่อมถอยลง โรงพยาบาลจึงได้ปิดทำการ หากแต่ในพระราชหฤทัยทรงตระหนักว่า โรงพยาบาลนั้นยังประโยชน์บำบัดทุกข์ บำรุงสุข ให้พสกนิกรและผู้อยู่ใต้ร่มพระบรมโพธิสมภาร แต่การโรงพยาบาลนั้นเป็นการใหญ่ จำเป็นอยู่ที่ต้องมีคณะกรรมการเพื่อจัดการโรงพยาบาลให้สำเร็จ


เมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2429 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาการจัดสร้างโรงพยาบาลขึ้น ได้แก่ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นสิริธัชสังกาศ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นดำรงราชานุภาพ พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าศรีเสาวภางค์ พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าวัฒนานุวงศ์ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าปฤษฏางค์ พระยาโชฏึกราชเศรษฐี เจ้าหมื่นสรรเพชรภักดี และดอกเตอร์ ปีเตอร์ เคาแวน ทำหน้าที่จัดการและดำเนินการก่อสร้างโรงพยาบาลเพื่อพระราชทานให้เป็นสถานที่รักษาแก่ประชาชนอย่างเท่าเทียมกัน โดยสถานที่ตั้งของโรงพยาบาลนั้น อยู่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณพระราชวังบวรสถานพิมุข หรือ วังหลัง ซึ่งเป็นวังเดิมของกรมพระราชวังบวรสถานพิมุข เนื่องจากบริเวณดังกล่าวเป็นสถานที่รกร้าง แต่มีความร่มเย็นเหมาะสมสำหรับเป็นสถานที่รักษาพยาบาลผู้ป่วย

ในระหว่างที่เตรียมการก่อสร้างโรงพยาบาลนั้น สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์ พระราชโอรสอันประสูติจากสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ ได้ประชวรโรคบิดสิ้นพระชนม์ลงเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2430 ยังความอาลัยเศร้าโศกแห่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ยิ่งนักถึงกับทรงมีพระราชปณิธานอย่างแรงกล้าที่จะให้มีโรงพยาบาลขึ้น ครั้นเสร็จงานพระเมรุแล้ว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รื้อโรงเรือนและเครื่องใช้ต่าง ๆ ในงานพระเมรุนำไปสร้างโรงพยาบาล ณ บริเวณวังหลังดังกล่าว นอกจากนี้ยังพระราชทานทรัพย์ส่วนของสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์ฯ แก่โรงพยาบาลอีกด้วย


ในระยะแรกคณะกรรมการจัดสร้างโรงพยาบาล ได้จัดสร้างเรือนพักผู้ป่วยขึ้น 6 หลัง และเมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2431 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ทรงพระกรุณาเสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเปิด และพระราชทานนามว่า โรงศิริราชพยาบาล หรือที่ชาวบ้านนิยมเรียกว่า โรงพยาบาลวังหลัง โดยทำการบำบัดรักษาผู้ป่วยไข้ทั้งแผนปัจจุบันและแผนโบราณของไทย

ในระยะแรกคณะกรรมการจัดสร้างโรงพยาบาล ได้จัดสร้างเรือนพักผู้ป่วยขึ้น 6 หลัง และเมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2431 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ทรงพระกรุณาเสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเปิด และพระราชทานนามว่า โรงศิริราชพยาบาล หรือที่ชาวบ้านนิยมเรียกว่า โรงพยาบาลวังหลัง โดยทำการบำบัดรักษาผู้ป่วยไข้ทั้งแผนปัจจุบันและแผนโบราณของไทย


สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์ (27 พฤศจิกายนพ.ศ. 2428 - 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2430) เป็นพระราชบุตรพระองค์ที่ 53 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ประสูติแต่สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระพันปีหลวง ในวันที่พระองค์ประสูตินั้นมีฝนดาวตกเต็มท้องฟ้า ชาววังจึงได้ออกพระนามของพระองค์ว่า “ ทูลกระหม่อมดาวร่วง” พระองค์ประชวรด้วยโรคบิด และสิ้นพระชนม์ เมื่อพระชนมายุเพียง 1 ปี 6 เดือน เท่านั้น

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโป รด เกล้าฯ ให้สร้างพระเมรุ ณ ท้องสนามหลวง เมื่อเสร็จการพระเมรุแล้ว โปรดเกล้าฯ ให้รื้อพระเมรุไปสร้างเรือนคนไข้ภายในโรงพยาบาล และพระราชทานนามโรงพยาบาลวังหลังใหม่ว่า "โรงศิริราชพยาบาล"

พระประวัติ
ประสูติ : สมเด็จ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์ เป็นพระราชบุตรพระองค์ที่ 53 (พระราชโอรสพระองค์ที่ 23) ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระราชโอรสพระองค์ที่ 5 ในสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระพันปีหลวง ประสูติเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2428 ณ ห้องเขียว ภายในพระที่นั่งบรมราชสถิตยมโหฬาร โดยสมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ เรียก สมเด็จเจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์ว่า "น้องชายเอียด" และได้จดบันทึกถึงเหตุการวันประสูติของสมเด็จเจ้าฟ้า พระองค์นี้ไว้ในจดหมาย เหตุรายวันของพระองค์ว่า

“เราตื่นนอนเช้า กินข้าวแล้วไปเรียนหนังสือ เสด็จน้าประชวรพระครรภ์ เราไปเฝ้าทูลหม่อมบนก่อนแล้วออกไปเรียนหนังสือ บ่ายสองโมงเศษประสูติเป็นผู้ชาย เราดีใจมาก เราได้รับไว้กับเสด็จน้าแล้วว่า ถ้าเป็นผู้ชายเราจะทำขวัญสิ่งของ ถ้าเป็นหญิงเราไม่ให้ เย็นกินข้าวที่บน สมเด็จแม่รับสั่งให้เรานอนบน เรานอนกับน้อง ๆ ในห้องประทมเก่าของเสด็จน้า นอนสี่ทุ่ม เมื่อเรานอนสมเด็จแม่เสวยอยู่ เรากินเครื่องฝรั่งด้วย แล้วตามเสด็จสมเด็จแม่ไปดูดาวตก เรายังไม่เคยเห็นเลย ตกมากจริง ๆ ลางทีก็เห็นย้อยลงมายาวคล้ายดอกไม้เพลิง วันนี้พระยาภาสได้ให้สมุดฝรั่งต่าง ๆ เราหลายเล่ม”

หลังจาก นั้น ในวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2428 จึงมีพิธีสมโภช 3 วันสมเด็จพระเจ้าลูกเธอประสูติ และสมโภชเดือนในวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2428 ณ พระที่นั่งบรมราชสถิตยมโหฬาร พร้อมกันนี้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพร ะราชทานพระนามสมเด็จพระ เจ้าลูกเธอพระองค์นี้ว่า สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์ สรรพวิสุทธิมหุดิมงคล อเนกนพดลดารารัตน์ สมันตบริพัตรวโรกาส อดิศรราชจุฬาลงกรณ์ บดินทรเทพยวโรรส วิสุทธิสมมติวโรภโตปักษ์ อุกฤษฐศักดิ์ อัครวรราชกุมาร

โดยสร้อย พระนาม "อเนกนพดลดารารัตน์" แปลว่า ดวงดาวราวแก้วมณีพร่างพรายเต็มท้องฟ้า มาจากวันที่พระองค์ประสูตินั้นมีฝนดาวตกเต็มท้องฟ้าแ ละสามารถมองเห็นได้ใน พระนคร ดังนั้น ชาววังจึงได้ออกพระนามของพระองค์ว่า “ทูลกระหม่อมดาวร่วง”

พระองค์ ทรงมีพระเชษฐภคินี พระเชษฐา และพระอนุชาร่วมพระมารดา ได้แก่ เจ้าฟ้าพาหุรัดมณีมัย เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ (รัชกาลที่ 6) เจ้าฟ้าตรีเพ็ชรุตม์ธำรง เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ เจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์ เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก และเจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดช (รัชกาลที่ 7) รวมทั้งสิ้น 8 พระองค์

สิ้นพระชนม์
เมื่อ แรม 8 ค่ำ 9 ค่ำ เดือนหก ปีกุน นพศก พระองค์ทรงเริ่มพระประชวร มีอาการทรงพระอาเจียนบ่อย ๆ และพระกายซูบลง พระอาการทรุดลงเรื่อย ๆ จนกระทั่ง วันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2430 เวลา 7 ทุ่ม 24 นาที สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์สิ้นพระชนม์ด้วยโรคบิด ณ พระที่นั่งบรมราชสถิตย์มโหฬาร สิริพระชนมายุ 1 ปี 6 เดือน เป็นที่ทรงพระอาลัยเศร้าโศกของพระบาทสมเด็จพระจุลจอม เกล้าเจ้าอยู่หัวและพระ นางเจ้าเสาวภาผ่องศรีเป็นอันมาก

งานพระศพ
การประดิษฐานพระศพ : หลัง จากการสิ้นพระชนม์ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระภาณุพันธุวงศ์วรเดชทรงให้เจ้าพนักงานเตรียมการ อัญเชิญพระศพ โดยสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช พระบรมวงศานุวงศ์ และเสนาบดี สรงน้ำพระศพตามลำดับ หลังจากนั้น เจ้าพนักงานทรงเครื่องพระศพตามโบราณราชประเพณีและอัญ เชิญพระศพลงพระโกศลองใน อย่างเล็ก ประกอบพระโกศมณฑปน้อย ประดิษฐานบนพระแว่นเท่นฟ้า 3 ชั้น รายด้วยเครื่องสูงตามพระเกียรติยศ ณ หอธรรมสังเวช

พระราชทานเพลิงพระบุพโพ
หลัง จากนั้น ในวันพุธ เดือนสิบ ขึ้น 13 ค่ำ ปีกุน นพศก พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชทา นเพลิงพระบุพโพ โดยเจ้าพนักงานได้อัญเชิญพระศพเปลี่ยนพระโกศลงพระโกศ ลองในกลมอย่างเล็ก ประกอบพระโกศหุ้มทองคำรูปทองใหญ่ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุ ณาโปรดเกล้าฯ ให้พระองค์เจ้าขจรจรัสวงศ์ทำขึ้นใหม่เฉพาะแต่งานนี้ง านเดียว แล้วอัญเชิญขึ้นประดิษฐานบนพระแว่นเท่นฟ้าเดิม และเชิญเครื่องที่บรรจุในพระโกศเดิมลงในถ้ำพระบุพโพ แล้วจึงเชิญพระบุพโพไปพระราชทานเพลิง ณ วัดมหาธาตุ

พระเมรุ
พระบาทสมเด็จพระ จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงกำหนดงานพระเมรุ ณ ท้องสนามหลวง โดยสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระภาณุพันธุวงศ์วรเดชเป็นแม่กองในการก่อสร้างพระ เมรุห้ายอด ซึ่งนอกจากใช้เป็นพระเมรุถวายพระเพลิงพระศพของสมเด็จ ฯ เจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์แล้ว ยังใช้สำหรับถวายพระเพลิงพระศพของสมเด็จพระเจ้าลูกยา เธอ เจ้าฟ้าตรีเพ็ชรุตม์ธำรง, สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพาหุรัดมณีมัย กรมพระเทพนารีรัตน์ และพระอรรคชายาเธอ พระองค์เจ้าเสาวภาคนารีรัตน์ รวมทั้งหมด 4 พระองค์ ซึ่งสิ้นพระชนม์ภายในระยะเวลาใกล้เคียงกัน ภายหลังงานพระเมรุโปรดให้รื้อไม้ที่ใช้ในการก่อสร้าง พระเมรุไปสร้างเรือนคน ไข้ภายในโรงพยาบาลวังหลัง พร้อมทั้งพระราชทานเครื่องใช้สอยต่าง ๆ ที่ใช้ในการออกพระเมรุให้นำไปใช้ภายในโรงพยาบาลด้วย

นอกจากนี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระนางเจ้า เสาวภาผ่องศรี พระราชเทวี (พระยศขณะนั้น) ยังพระราชทานเงินของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์เป็นจำนวน 700 ชั่ง เพื่อใช้สำหรับเป็นค่าใช้จ่ายในการสร้างถาวรวัตถุขึ้ นภายในโรงพยาบาล และพระราชทานนามโรงพยาบาลวังหลังใหม่ว่า "โรงศิริราชพยาบาล"

พระราชทานเพลิงพระศพ
เมื่อ วัน 6 เดือน 4 ขึ้น 6 ค่ำ เจ้าพนักงานได้อัญเชิญพระโกศพระศพสมเด็จพระเจ้าลูกยา เธอ เจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์ประกอบพระโกศทองเล็ก พร้อมด้วยพระโกศพระศพสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ พาหุรัดมณีมัยประกอบพระโกศทองใหญ่ ขึ้นพระยานมาศสามลำคาน แล้วจึงเชิญพระศพพระโกศทองใหญ่ขึ้นทรงพระมหาพิไชยราช รถ และพระศพพระโกศทองเล็กขึ้นทรงเวชยันตราชรถบริเวณหน้า วัดพระเชตุพน แล้วเชิญไปยังพระเมรุบริเวณท้องสนามหลวง หลังจากนั้น มีการแห่พระโกศเวียนพระเมรุโดยอุตตราวัฏ 3 รอบ แล้วจึงเชิญพระโกศทั้ง 2 ประดิษฐานเหนือพระแท่นแว่นฟ้าทองคำ 3 ชั้น ภายใต้เบญจปดลเศวตรฉัตร โดยพระศพพระโกศสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์ประดิษฐานทางด้านทิศตะวันตกข องพระเมรุ และพระศพพระโกศสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ พาหุรัดมณีมัยประดิษฐานทางด้านทิศตะวันออกของพระเมรุ

วัน 2 เดือน 4 ขึ้น 9 ค่ำ เป็นวันพระราชทานเพลิงพระศพ โดยได้เชิญพระโกศทั้ง 2 พระโกศลงจากพระเมรุเพื่อเปลื้องพระโกศแล้วประกอบพระโ กศจันทน์แทน แล้วจึงเชิญพระโกศทั้งสองขึ้นยังพระเมรุซึ่งได้รื้อพ ระแท่นแว่นฟ้าออก แล้วตั้งฐานพระพระราชทานเพลิงประดับพระจิตกาธารบริเว ญทิศเหนือและทิศใต้ อย่างละแห่ง โดยพระโกศสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์ประดิษฐานทางด้านทิศใต้ และพระศพพระโกศสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ พาหุรัดมณีมัยประดิษฐานทางด้านทิศเหนือ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานเ พลิงพระศพสมเด็จพระเจ้า ลูกเธอทั้ง 2 พระองค์

หลังจากนั้น จึงเชิญหีบพระสรีรางคารของสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์ พร้อมทั้งหีบพระสรีรางคารของสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าตรีเพ็ชรุตม์ธำรงและสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพาหุรัดมณีมัย กรมพระเทพนารีรัตน์ ไปบรรจุ ณ พระเจดีย์เสาวภาประดิษฐาน ภายในสุสานหลวง วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร ซึ่งเป็นพระเจดีย์สำหรับบรรจุพระสรีรางคารพระราชบุตร ในพระบาทสมเด็จพระจุล จอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี พระพันปีหลวง

อนุสรณ์สถาน
อนุสาวรีย์ราชานุสรณ์ เป็นอนุสาวรีย์ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู ่หัวทรงพระกรุณาฯ โปรดเกล้าให้สร้างขึ้น ณ พระราชวังบางปะอิน เพื่อระลึกถึงพระอัครชายาเธอ 1 พระองค์ พระราชโอรส 2 พระองค์ และพระราชธิดา 1 พระองค์ ที่สิ้นพระชนม์ในปีเดียวกัน ได้แก่

1. สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์ สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2430
2. พระอรรคชายาเธอ พระองค์เจ้าเสาวภาคนารีรัตน์ สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2430
3. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพาหุรัดมณีมัย กรมพระเทพนารีรัตน์ สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2430
4. สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าตรีเพ็ชรุตม์ธำรง สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2430

อนุสาวรีย์ราชานุสรณ์ ตั้งอยู่ด้านตะวันออกของพระราชวังบางปะอิน อยู่ใกล้กับอนุสาวรีย์สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารี รัตน์ สร้างด้วยหินอ่อน แต่ละด้านของอนุสาวรีย์ประดับด้วยพระรูปเหมือนแกะสลั กด้วยหินอ่อนของทั้ง 4 พระองค์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น