Wlecom To Blog Kru Ploy Na Ka

หน้าเว็บ


ขอฝากจากตลาดคลองสาน 100 ปี

วันศุกร์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

อารยธรรมกรีกโบราณ (Civilization of Ancient Greece)









หัวข้อ
1. บทนำ
2. ที่ตั้งและลักษณะภูมิประเทศ
3. นครรัฐ
4. สาเหตุที่สปาร์ต้าไม่เป็นผู้นำในอารยนธรรมกรีก
5. ความเจริญของชนชาติกรีกโบราณ
6. ผลของสภาพภูมิศาสตร์ต่อความสามารถและการปกครองของชาวกรีก
7. การปรับปรุงของโซลอนและการวางรากฐานประชาธิปไตยของเอเธนส์
8. การก่อตั้งสมาพันธ์รัฐเดลอส
9. อารยธรรมกรีกสมัยเฮเลนิสติค
10. ศิลปะและสถาปัตยกรรมของกรีก
11. บทสรุป
12. คำถามท้ายบทที่ 6
13. หนงสืออ่านประกอบประจำบท

แนวคิด
อารยธรรมตะวันตกมีแหล่งอารยธรรมที่สำคัญคือ อารยธรรมกรีกโบราณ อาณาจักรโรมัน สิ่งที่สะท้อนให้เห็นทางการเมืองการปกครอง อาทิเช่น นครรัฐเอเธนส์ และนครรัฐสปาร์ต้า อาจกล่าวได้ว่าชาวตะวันตกเป็นชาติที่มีความสามารถด้านการเมือง การปกครอง ปรัชญา ศิลปะอย่างยอดเยี่ยม มีกษัตริย์ที่ปรีชาหลายท่าน อาทิเช่น กษัตริย์โซลอน มีมีผลงานในการจัดตั้งสมาพันธ์รัฐเดลอส และที่สำคัญคือสถาปัตยกรรมกรีกที่มีอิทธิพลต่อโลก

บทนำ
อารยธรรมกรีกโบราณได้แก่อารยธรรมนครรัฐกรีก คำว่า กรีก เป็นคำที่พวกโรมันใช้เป็นครั้งแรก โดยใช้เรียกอารยธรรมเก่าตอนใต้ของแหลมอิตาลี ซึ่งเจริญขึ้นบนแผ่นดินกรีกในทวีปยุโรป และบริเวณชายฝั่งตะวันออกของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ด้านเอเซียไมเนอร์ ซึ่งในสมัยโบราณเรียกว่า ไอโอเนีย (Ionia) อารยธรรมที่เจริญขึ้นในนครรัฐกรีกมีศูนย์กลางสำคัญที่นครรัฐเอเธนส์ และนครรัฐ สปาร์ต้า นครรัฐเอเธนส์ เป็นแหล่งความเจริญในด้านต่างๆ ทั้งด้านการปกครอง เศรษฐกิจ สังคม ศิลป วิทยาการด้านต่างๆ รวมทั้งปรัชญา ส่วนนครรัฐสปาร์ตาเจริญในลักษณะที่เป็นรัฐทหารในรูปเผด็จการ มีความแข็งแกร่งและเกรียงไกร เป็นผู้นำของรัฐอื่นๆ ในแง่ของความมีระเบียบวินัย กล้าหาญ และเด็ดเดี่ยว การศึกษาเกี่ยวกับอารยธรรมกรีกโบราณ จึงเป็นการศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับนครรัฐเอเธนส์ และนครรัฐสปาร์ตา
ชาวกรีกเรียกตัวเองว่า เฮลีนส์ (Hellenes) เรียกบ้านเมืองของตนว่า เฮลัส (Hellas) และเรียกอารยธรรมของตนว่าอารยธรรมเฮเลนิค (Hellenic Civilization)(1) ชาวกรีกโบราณเป็นชาวอินโด-ยูโรเปียน ชาวกรีกตั้งบ้านเรือนของตนเองอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ตรงปลายสุดของทวีปยุโรป ตรงตำแหน่งที่มาบรรจบกันของทวีปยุโรป เอเซีย และแอฟริกา เป็นต้นเหตุให้กรีกโบราณได้รับอิทธิพลความเจริญโดยตรงจากทั้งอียิปต์และเอเซีย กรีกได้อาศัยอิทธิพลดังกล่าวพัฒนาอารยธรรมของตนขึ้น โดยคงไว้ซึ่งลักษณะที่เป็นของตนเอง ชาวกรีกสมัยโบราณถือว่าตนเองมีคุณลักษณะพิเศษบางอย่างที่ผิดกับชนชาติอื่น และมักจะเรียกชนชาติว่าบาเบเรียน ซึ่งหมายความว่าผู้ที่ใช้ภาษาผิดไปจากภาษาของพวกกรีก

ที่ตั้งและลักษณะภูมิประเทศ
กรีกในสมัยโบราณ อยู่ทางด้านตะวันออกสุดของยุโรปภาคใต้ ประกอบด้วยดินแดนกรีกบนผืนแผ่นดินหมู่เกาะต่างๆ ในทะเลเอเจียน หรือฝั่งตะวันตกของเอเซียไมเนอร์ ซึ่งนิยมเรียกว่านครรัฐ ไอโอเนียน (Ionian Cities)(2) รวมเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 5 หมื่นตารางไมล์ ในจำนวนนี้ดินแดนส่วนใหญ่ คือ ประมาณ 4 ใน 5 คือ ดินแดนกรีกบนผืนแผ่นดินใหญ่ในทวีปยุโรปดินแดนตอนนี้แบ่งออกเป็นภาคใหญ่ๆ ได้ 3 ภาค คือ
1. กรีกภาคเหนือ อันได้แก่ แคว้นมาซีโดเนีย (Macedonia) เทสซาลี (Thessaly) เอไพรัส (Epirus) รวมอาณาบริเวณประมาณครึ่งของดินแดนกรีกบนผืนแผ่นดินใหญ่ ในสมัยคลาสสิค ไม่นิยมรวมมาซีโดเนียเป็นส่วนหนึ่งของกรีก
2. กรีกภาคกลาง ได้แก่ บริเวณซึ่งเป็นเนินเขาสูง ระหว่างกรีกภาคกลาง และอ่าวคอรินธ์ บริเวณนี้มีสถานที่สำคัญๆ ในประวัติศาสตร์กรีกอยู่หลายแห่ง เช่น นครเทบีส นครเลฟิ เทอร์มอปิเล (thermopylae) และยอดเขาพาร์นาซุด (Parnasus) อันเป็นที่สิงสถิตของแอโปโล (Apollo) สุริยเทพ ตรงปลายสุดด้านตะวันออกของบริเวณนี้คือแคว้นอันติก (Attica) อันมีเมืองหลวงคือนครรัฐเอเธนส์ ที่กำเนิดของศิลปวิทยาการ ปรัชญาและระบอบการปกครองอันมีชื่อเสียง

3. เพลอปปอนเนซุส (Peloponnesus) ได้แก่ บริเวณคาบสมุทร ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของ อ่าวคอรินธ์ บริเวณนี้เชื่อมติดกับภาคกลาง และภาคเหนือด้วยคอคอดคอรินธ์ ซึ่งมีความกว้างประมาณ 30 ไมล์ใต้บริเวณคอคอดนี้ลงมาคือที่ตั้งของเมืองอาร์กอลิส (Argolis) ซึ่งเป็นศูนย์กลางของอารยธรรม กรีกที่ได้เจริญขึ้นเป็นครั้งแรก ใจกลางของคาบสมุทรแห่งนี้เป็นที่ตั้งของนครรัฐสปาร์ตา (Sparta) ซึ่งมีชื่อเสียงในด้านการรบและการทหาร เมืองโอลิมเปีย (Olympia) ที่สิงสถิตของบรรดาเทพเจ้ากรีกอยู่ชิดกับฝั่งทะเลไอโอเนีย ด้านตะวันตกของคาบสมุทรเพลอปปอนเนซุส

4. ภูเขา ในประเทศกรีกเต็มไปด้วยภูเขา ภูเขาเหล่านี้แบ่งกรีกออกเป็นที่ราบในหุบเขาเล็ก แยกออกจากกันมากมาย ภูเขาเป็นอุปสรรคสำคัญในการติดต่อคมนาคมระหว่างคนที่อาศัยตามที่ราบในหุบเขาดังกล่าว ด้วยเหตุนี้ หมู่บ้านตามหุบเขาเหล่านี้จึงมักปกครองตนเองเป็นอิสระต่อกัน คนที่อาศัยอยู่ตามแต่ละหมู่บ้านก็เป็นคนแปลกหน้าซึ่งกันและกัน บางครั้งเกิดการสงสัยอิจฉาริษยากัน จนกระทั่งเกิดการทะเลาะวิวาทกลายเป็นสงคราม พวกที่อาศัยอยู่ตามเกาะต่างๆ ในทะเลเอเจียนก็มีลักษณะแยกกันอยู่เช่นเดียวกัน

5. สภาพพื้นดิน สภาพพื้นดินส่วนใหญ่ของกรีกขาดความอุดมสมบูรณ์ นอกจากนั้นสภาพภูมิประเทศที่เต็มไปด้วยภูเขาสูงและเนินเขา ทำให้กรีกขาดดินที่จะเก็บเกี่ยว หว่าน ไถได้ถึง 1 ใน 3 พื้นดิน ที่เหลืออีก 2 ส่วน ถึงแม้จะพอทำการเพาะปลูกได้ ก็ต้องอาศัยแรงงานอย่างมากมาย กรีกมีทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์อยู่บ้าง แต่ก็เป็นทุ่งหญ้าที่เหมาะแก่การเลี้ยงแพะและแกะเท่านั้น ไม่เหมาะแก่การเลี้ยงสัตว์จำพวกวัวควายหรือม้า บริเวณที่อุดมสมบูรณ์ที่สุดของกรีก ได้แก่ที่ราบระหว่างหุบเขา ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบ กับความอุดมสมบูรณ์ของที่ราบลุ่มแม่น้ำไนล์ หรือแม่น้ำไทกรีส และยูเฟรตีสแล้วก็ด้อยกว่ามาก

แม่น้ำในกรีกเป็นแม่น้ำสายสั้นๆ ไหลเชี่ยวในฤดูที่มีฝนตกมาก กระแสน้ำจะพัดพาเอาดินอุดมตามเชิงเขาไป ส่วนในฤดูแล้งน้ำไม่มีการถ่ายเท แม่น้ำจึงกลายเป็นแหล่งเพาะยุง ด้วยสภาพพื้นดินดังกล่าว เมื่อบ้านเมืองเจริญขึ้น พลเมืองเพิ่มขึ้น อาหารก็ไม่พอเพียงกับจำนวนพลเมือง ระดับการครองชีพในกรีก จึงค่อนข้างต่ำ อย่างไรก็ตามชาวกรีกสมัยโบราณได้ปรับปรุงตนเองในการมีชีวิตอยู่ในสภาพที่ขาดแคลนได้เป็นอย่างดีและได้สร้างสมอารยธรรมอยู่บนรากฐานของเศรษฐกิจที่มั่นคงพอสมควร
6. ทะเลกรีกจัดเป็นประเทศที่มีความสะดวกสบายในทางออกทะเล ส่วนใหญ่ของแผ่นดินมีลักษณะคล้ายแหลมยื่นไปในทะเล และส่วนที่ลึกเข้าไปในแผ่นดินไม่ไกลจากทะเลมากนัก ชาวกรีกมีโอกาสมองเห็นทะเลได้จากเกือบทุกๆ ส่วนของประเทศ ประกอบกับพื้นดินแห้งแล้งและขาดความอุดมสมบูรณ์ ชาวกรีกจึงหันเหความสนใจไปสู่ทะเล อนึ่ง ชายฝั่งทะเลกรีกก็มักเว้าๆ แหว่งๆ ใช้เป็นอ่าวธรรมชาติสำหรับจอดเรือกำบังคลื่นลมได้เป็นอย่างดี และบรรดาเกาะเล็กเกาะน้อยในทะเลเอเจียนก็เป็นเครื่องส่งเสริมให้ชาวกรีกแล่นเรือออกไปไกลๆ ไปสู่เอเซียไมเนอร์และดินแดนตะวันออก

ครรัฐ
กรีกโบราณมีรูปแบบการเมืองการปกครองเป็นนครรัฐ ไม่ได้รวมเป็นอาณาจักรที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันอย่างเช่นอียิปต์ นครรัฐกรีกเป็นหน่วยทางการเมืองที่มีอธิปไตยอย่างสมบูรณ์ แต่ละหน่วยคือ รัฐอิสระที่ดำเนินนโยบายและตัดสินเรื่องต่างๆ ด้วยตัวเอง กรีกเรียกหน่วยเหล่านี้ว่า โปลิส(1) กรีกประกอบด้วยโปลิสจำนวนมากมาย แต่โปลิสที่สำคัญและมีบทบาทมากในอารยธรรมยุคโบราณ ได้แก่ เอเธนส์และสปาร์ตา

สภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์และภูมิอากาศเป็นปัจจัยส่วนหนึ่งที่ทำให้กรีกแบ่งแยกอำนาจจากกันมากมาย ภูเขาเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการติดต่อระหว่างคนที่อาศัยอยู่ตามที่ราบในหุบเขาดังกล่าว ดังนั้นหมู่บ้านตามหุบเขาเหล่านี้จึงปกครองตนเองเป็นอิสระ คนในแต่ละท้องที่จะจงรักภักดีแต่เฉพาะในเขตของตน เนื่องจากนครรัฐนี้ การปกครองได้มีประชาชนเข้าร่วมด้วยอย่างใกล้ชิด ยังมุ่งจัดการศึกษาเพื่ออบรมจิตใจ สติปัญญา ให้เฉลียวฉลาดทุกด้าน นอกจากนี้ก็มีการอบรมเกี่ยวกับทหาร เด็กผู้ชายชาวเอเธนส์เมื่ออายุ 7 ปี จะต้องไปเข้าโรงเรียน เวลาไปโรงเรียน มีพี่เลี้ยงคอยดูแล พี่เลี้ยงโดยมากเป็นทาส พวกทาสที่เป็นพี่เลี้ยงพาเด็กไปโรงเรียน เรียกว่า เพดาก๊อจ (pedogoge) นอกจากนี้ พ่อแม่ยังมอบอำนาจให้ควบคุมดูแลความประพฤติของเด็กและลงโทษเด็กได้ด้วย คำว่า เพดาก๊อจ ต่อมากลายเป็นคำศัพท์ว่า เพดากอดี้ (pedagogy) ซึ่งแปลว่าวิชาครู ปัจจุบันใช้ว่า education (2)

นครรัฐของกรีกกำเนิดขึ้นเพราะความจำเป็นต้องร่วมกันในการป้องกันภัยจากศัตรู การค้าขยายตัวและประการสุดท้ายธรรมชาติมนุษย์ที่นิยมอยู่ร่วมกันเป็นหมู่ใหญ่ ในขั้นต้นมนุษย์อยู่รวมกันเป็นหมู่เล็กๆ เป็นหมู่ของครอบครัวที่สืบมาจากบรรพบุรุษเดียวกัน เรียกว่าโคตร ตระกูล เมื่อหลายโคตรตระกูลมารวมกันเข้ากลายเป็นหมู่ใหญ่เรียกว่า วงศ์วาน และเมื่อมีหลายวงศ์วานเข้าก็รวมกันเป็นเผ่าพันธุ์ และเผ่าพันธ์ุเหล่านี้เข้ามารวมกันอยู่ในนครรัฐ ส่วนการปกครองภายในนครรัฐนั้น ในขั้นต้นราษฎรเลือกหัวหน้าหมู่ขึ้นปกครองดำรงตำแหน่งกษัตริย์ และมีคณะขุนนางอันได้แก่ ราษฎรชั้นสูงเป็นที่ปรึกษา ภายหลังพวกขุนนางก็ชิงอำนาจการปกครองมาไว้ในคณะของตน ครั้นนานวันเข้าเมื่อราษฎรไม่พอใจในการปกครองของขุนนาง ก็ได้ชิงอำนาจปกครองมาอยู่ที่ตนเอง มีลักษณะเป็นการปกครองแบบประชาธิปไตยที่ราษฎรทุกคนมีส่วนในการปกครองนั้น บางนครรัฐก็มิได้วิวัฒนาการการปกครองในรูปประชาธิปไตย แต่มีการปกครองในรูปอื่น เช่น การปกครองแบบคณาธิปไตยหรือโดยชนหมู่น้อย (Oligarchy) การปกครองโดยชนชั้นสูงผู้ดีหรืออภิชน (Aristocracy) และปกครองโดยอำนาจปกครองอยู่ในมือคนคนเดียวคือปกครองแบบทรราชย์ (Tyranny)

สภาวะทางการเมืองและสังคมแบบนครรัฐไม่ส่งเสริมความสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ชาว กรีกทั้งมวลพัฒนาการที่จะนำไปสู่ความเป็นอาณาจักรเดียวกันจึงเป็นได้ยาก อีกทั้งไม่เกื้อกูลในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยในกรณีที่มีการคุกคามจากภายนอก นครรัฐกรีกทั้งปวงแตกต่างกันในการพัฒนาความก้าวหน้า บางนครรัฐอาจเจริญก้าวไปไกลกว่านครรัฐอื่นๆ นครรัฐที่มีขนาดใหญ่และแข็งแกร่งที่สุด คือนครรัฐสปาร์ตา แต่นครรัฐที่เจริญที่สุดและมีอิทธิพลมากที่สุดต่อโลกสมัยต่อมาคือ นครรัฐเอเธนส์

นครรัฐเอเธนส์

นครรัฐเอเธนส์ประกอบด้วยบริเวณที่สำคัญ 2 บริเวณ คือ อโครโปลิส (Acropolis) และ อกอรา (Agora) อโครโปลิสเป็นเนินเขาสูงเป็นที่ประดิษฐานวัดวาอารามและสถานที่สำคัญทางราชการ เนินนี้อาจดัดแปลงเป็นป้องที่ให้ผู้คนพลเมืองเข้ามาลี้ภัย และตั้งรับศัตรูได้ในยามที่ถูกรุกราน ใต้บริเวณอโครโปลิส ลงมาเป็นร้านรวงและที่อยู่อาศัยของพลเมืองเรียกว่าอกอรา
นครรัฐเอเธนส์เป็นนครรัฐเล็ก มีพลเมืองเพียง 50,000 คน นอกนั้น ได้แก่พวกทาสและชนต่างถิ่น ซึ่งรวมด้วยกันทั้งสิ้นประมาณ 130,000 คน เอเธนส์ได้วิวัฒนาการการปกครอง เป็นสาธารณรัฐปกครองในรูปประชาธิปไตย โดยเจ้าหน้าที่ซึ่งเลือกมาจากพลเมือง 50,000 คน รูปการปกครองแบบประชาธิปไตยของเอเธนส์แตกต่างจากประชาธิปไตยที่เข้าใจในสมัยปัจจุบัน แต่ก็เป็นรูปการปกครองที่ให้สิทธิเสรีภาพมากที่สุดในสมัยโบราณ ที่แตกต่างจากประชาธิปไตยในปัจจุบันคือ
1. สิทธิในการปกครอง สงวนไว้สำหรับประชากรเพียง 1/6 เท่านั้น
2. สตรีไม่มีหน้าที่หรือสิทธิใดๆ นอกครัวเรือน
3. พลเมืองแต่ละคนใช้สิทธิในระบอบประชาธิปไตยของตนโดยตรง ไม่ต้องเลือกผู้แทนเข้าไปใช้สิทธิดังกล่าว
จำนวนพลเมืองมีสิทธิไม่มาก จึงไม่จำเป็นต้องมีผู้แทน พลเมืองทุกคนจะร่วมประชุมสภาราษฎรและถกเถียงในปัญหาต่างๆ ได้อย่างอิสระ การโต้กันในสภาราษฎร อาจเป็นเรื่องเกี่ยวกับการสร้างอาคารใหม่ วิธีการเกษตรแบบใหม่หรือการลงมตินำรัฐเข้าสู่สงคราม พลเมืองทุกคนมีสิทธิพูดและลงคะแนนเสียงเห็นด้วยหรือโต้แย้งญัตติใดๆ ด้วยตนเอง วิธีดังกล่าวเมื่อนำมาใช้กับรัฐปัจจุบันที่มีพลเมืองมากมายย่อมไม่เป็นผล ด้วยเหตุนี้ประชาธิปไตยปัจจุบันจึงดัดแปลงด้วยการเลือกผู้แทนขึ้นพูดและลงคะแนนเสียงในญัตติต่างๆ

พลเมืองชาวเอเธนส์มีสิทธิที่จะเข้าร่วมในคณะลูกขุนซึ่งพิจารณาคดีต่างๆ โดยใจสมัคร ในการพิจารณาคดี ผู้พิพากษาจะนั่งเป็นประธานเท่านั้น ส่วนการชี้ว่าผิดหรือถูก เป็นหน้าที่ของคณะลูกขุน ซึ่งประกอบด้วยพลเมือง มติต่างๆ ของสภาผู้แทนราษฎร จะมีคณะเจ้าหน้าที่บริหารเป็นผู้ดำเนินการ เจ้าหน้าที่บริหารเหล่านี้อาจเลือกขึ้นมาหรือจับฉลาก ได้รับเงินเดือนเพียงเล็กน้อย แต่ถือว่าเป็นเกียรติยศชื่อเสียง ชาวเอเธนส์ที่ได้รับตำแหน่งเจ้าหน้าที่บริหารจะทำงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เพื่อรักษาเกียรติยศที่ตนได้รับชาวเอเธนส์รักนครรัฐของตนเป็นชีวิตจิตใจ ข้าวของเงินทองที่หามาได้ใช้บำรุงนครรัฐของตนให้สวยงาม น่าอยู่ ชาวกรีกไม่นิยมความหรูหราฟุ่มเฟือยและดูถูกคนที่ใช้จ่ายเงินทองซื้อเพชรนิลจินดาเสื้อผ้าแพรพรรณ บ้านช่องที่โอ่อ่าหรูหราพร้อมด้วยสมบัติส่วนตัว คนกรีกมีความเห็นว่าคนเหล่านั้นหยาบกระด้างและยังไม่ได้ขัดเกลา เขานิยมคนที่ใช้เงินทองเพื่อของส่วนรวม เช่น การก่อสร้างสาธารณสถาน หรือวัดวาอารามต่างๆ ชีวิตในนครรัฐเอเธนส์เป็นชีวิตที่แจ่มใสและน่าอยู่ นครรัฐตั้งอยู่ติดกับทะเลและมีเนินเขาย่อมๆ อากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียนกำลังสบายไม่หนาวเกินไปหรือร้อนเกินไป ท้องฟ้าและทะเลเป็นสีฟ้าครามตลอดทั้งปี ข้าวปลาอาหาร ถึงแม้จะไม่สมบูรณ์ก็เพียงพอเลี้ยงพลเมือง ผู้คนพลเมืองมีจิตใจกล้าหาญเป็นนักรบ แต่ในยามสงบแล้วรักสันติและรักการสนทนาโต้ตอบแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ชาวกรีกรักการสนทนาโต้แย้งฉันท์มิตร เพราะเป็นหนทางที่จะเรียนรู้สิ่งต่างๆ ด้วยตัวเอง การโต้แย้งกันในทางวิวาทชาวกรีกถือว่าเป็นของต่ำ และแสดงความโง่เขลาเบาปัญญา ชาวกรีกถกเถียงกันในปัญหาทุกเรื่องอย่างสงบและโดยปราศจากอคติ ทุกคนต่างเคารพสิทธิของผู้อื่นในการแสดงความคิดเห็น และถึงแม้ผู้อื่นจะไม่เห็นพ้องกับความคิดของตนหรือตนไม่เห็นด้วยกับความคิดของผู้อื่นก็ไม่ถือว่าคนทั้งสองเป็นศัตรูต่อกัน

นครรัฐสปาร์ตา
นครรัฐสปาร์ตา เป็นนครที่ใหญ่ที่สุดและทรงอำนาจแข็งแกร่งที่สุดในบรรดานครรัฐกรีกทั้งหลาย เป็นผู้นำทางด้านการทหาร เนื่องจากมีกองทัพที่มีระเบียบวินัยและเกรียงไกรที่สุด(1) ประกอบขึ้นด้วยทหารที่มีความเสียสละอดทนและอุทิศชีวิตเพื่อความยิ่งใหญ่ของนครรัฐ
ประชาชนในนครรัฐสปาร์ตาแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม
1. สปาร์เตียตส์ (Spartites) เป็นพวกดอเรียนส์ที่อพยพมาตั้งถิ่นฐานในสปาร์ตา ถือเป็นชาว สปาร์ตาโดยแท้ พวกนี้ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในนครรัฐ ทำหน้าที่เป็นทหารรัฐ
2. เปริโอซิ ((Perioeci) คำนี้ภาษากรีกแปลว่า ผู้ที่อาศัยอยู่โดยรอบ ได้แก่ประชาชนที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านโดยรอบนครรัฐสปาร์ตา เป็นชาวเลซีเดโมเนียนที่สืบเชื้อสายปะปนกันมา พวกนี้จัดเป็นเสรีชนและมีส่วนในกิจการต่างๆ ภายในหมู่บ้านของตน แต่ขาดสิทธิในทางการเมืองภายในนครรัฐ สปาร์ตา ขาดสิทธิในการสมรสกับหญิงสปาร์เตียตส์ มีหน้าที่ต่อรัฐคือรับราชการทหารและประกอบการ กสิกรรม
3. เฮล็อต (Helot) พวกนี้เป็นชนพื้นเมืองเดิม ที่อาศัยอยู่ในดินแดนนี้มาก่อน เมื่อพวกเลซีเดโมเนียนเข้ามาตั้งบ้านเรือน ก็ได้ปกครองคนเหล่านี้ในฐานะเป็นทาสของรัฐ มีหน้าที่ทำงานในที่ดินของผู้่ที่เป็นนายและแบ่งผลประโยชน์ที่ได้จากที่ดินให้แก่ผู้ที่เป็นนาย พวกเฮล็อตนั้นเป็นชาวกรีกโดยแท้และมีจิตใจรักอิสรภาพเช่นชาวกรีกทั้งหลาย เมื่อมาถูกจำกัดอิสรภาพและลดฐานะก็เกิดความไม่พอใจ และมักปักใจอยู่กับการก่อการปฏิวัติ พวกสปาร์เตียตส์ก็ตระหนักในเรื่องนี้ดี ดังนั้น เมื่อมีการสงสัยว่าเฮล็อต คนใดคิดการปฏิวัติ ผู้นั้นจะได้รับโทษถึงประหารชีวิตทันที
ชาวกรีกโบราณมีคุณลักษณะพิเศษที่น่าชื่นชมอยู่ 2 ประการ คือ
1. เป็นผู้มีสติปัญญารอบรู้ สิ่งนี้เป็นผลมาจากความอยากรู้อยากเห็น และมีจิตใจเป็นผู้ชอบซักถามและมีวิจารณญาณที่ดี ชอบค้นคว้าแสวงหาเหตุผลของทุกๆ สิ่งที่อยู่รอบตัวและในชุมนุมชนที่อยู่ห่างไกลออกไป
2. เป็นผู้มีความรู้สึกละเอียดอ่อนละมุนละไมในความงดงามและมีพลังความสามารถที่จะสร้างสิ่งที่งดงาม
ด้วยคุณลักษณะ 2 ประการดังกล่าว ชาวกรีกโบราณได้ประสบผลสำเร็จในการสร้างสมอารยธรรมอันเป็นมรดกตกทอดมาสู่โลกตะวันตกจนถึงปัจจุบัน

สาเหตุที่สปาร์ต้าไม่เป็นผู้นำในอารยธรรมกรีก
ในสมัยศตวรรษที่ 7 ที่หลักฐานเชื่อถือได้ว่าสปาร์ต้าเป็นผู้นำในอารยธรรมกรีก กวีเอกชาวกรีก ได้เขียนไว้ในโคลงของเขาบรรยายถึงการดำเนินชีวิตอย่างสุขสบายเต็มไปด้วยความสุขสงบ ความรักและความเพลิดเพลินในชีวิตของสปาร์ตาในสมัยศตวรรษที่ 7 ก่อนคริสตกาลนี้ เครื่องปั้นดินเผาที่ขุดพบก็แสดงถึงอารยธรรมที่สูงส่งของชาวสปาร์ต้า และชาวสปาร์ต้าก็มิได้อยู่อย่างโดดเดี่ยวแต่ก็มีการติดต่อกับพวกเอเซียติคกรีก (Asiatic Greek) ในศตวรรษที่ 6 ก่อนคริสตกาล สปาร์ต้าเริ่มไม่สนใจกับศิลปวิทยาการ และสูญเสียฐานะผู้นำทางอารยธรรมไปให้กับเอเธนส์ในที่สุด ซึ่งสาเหตุที่สปาร์ตาไม่เป็นผู้นำในอารยธรรมกรีกนั้น พอจะสรุปได้ดังนี้

1. สปาร์ตาตั้งอยู่บนคาบสมุทรเพลอปปอนเนซุส ซึ่งเกือบจะถูกตัดขาดจากผืนแผ่นดินใหญ่มีเพียงคอคอดรินธ์เชื่อมต่อกับกรีกตอนกลางล้อมรอบด้วยภูเขาทางตะวันออกเฉียงเหนือและตะวันตก ขาดท่าเรือดีๆ ที่จะติดต่อกับโลกภายนอก การรับถ่ายทอดอารยธรรมหรือการเผยแพร่อารยธรรมเป็นไปได้โดยลำบาก

2. หวาดเกรงพวกเฮล็อตซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมากในความดูแลของสปาร์ตาจะก่อการกบฎแย่งชิงอำนาจจากพวกตนซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนน้อยมาก สปาร์ตาเริ่มหวาดระแวงเกรงตนจะสูญเสียอำนาจ เร่งปรับปรุงทางด้านการทหารให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น ไม่สนับสนุนการค้าหรือศิลปวิทยาการใดๆ ตัดการติดต่อกับโลกภายนอก ไม่ยอมรับแนวความคิดใหม่ๆ หรืออารยธรรมใดๆ ทั้งสิ้น ความคิดเห็นส่วนบุคคลและความคิดสร้างสรรค์ก็ถูกขัดขวางมิให้แสดงออกทำให้ชาวสปาร์ตาล้าหลังกว่านครรัฐอื่นๆ ในด้านศิลปวิทยาการและความนึกคิด

3. สปาร์ตาเชื่อว่าการหลงละเมออยู่ในความสุข ความสะดวกสบาย ความมั่งคั่งและศิลปวิทยาการจะทำให้สปาร์ตาสูญเสียอำนาจในการเป็นรัฐผู้นำในคาบสมุทรเพลอปปอนเนซุสประกอบกับความหวาดระแวงในศัตรูตัวฉกาจคือนครรัฐอาร์กอส (Argos) จะแย่งชิงอำนาจจากตน ทำให้สปาร์ตา ไม่สนใจในการทำนุบำรุงศิลปวิทยาการเช่นนครรัฐเอเธนส์

ความเจริญของชนชาติกรีกโบราณ
1. อารยธรรมดั้งเดิมแถบทะเลอีเจียนก่อนพวกกรีกอพยพลงมา
ดินแดนแถบฝั่งทะเลทางตะวันตกของเซียไมเนอร์ (Asia Miner) เกาะต่างๆ ในทะเลอีเจียน (Aegean Sea) และเมืองทางแห่งขุนแหลมกรีกเจริญก่อนที่พวกกรีกจะอพยพมาตั้งแต่ 3000 B.C. พร้อมๆ กันอียิปต์และแถบลุ่มแม่น้ำ 2 สาย ลงมาจนราว 1100 B.C. อารยธรรมแถบนี้รวมเรียกว่า Aegean Civilization
1.1 แถบที่เจริญหน้าที่สุดได้แก่ที่เกาะ Cvete ซึ่งเจริญสูงสุดในระหว่าง 1700-1400 B.C. อารยธรรมที่แบ่งนี้มีชื่อเฉพาะลงไปอีกว่า Minoan Civilization
เมืองที่สำคัญที่เกาะ Crete ได้แก่ Cnassus Knossus ซึ่ง Sir. Arthur Evans ได้ทำการขุดค้นเมื่อราว ค.ศ. 1900 ปราสาทสูงหลายชั้น 3-4 ชั้น มีห้องจำนวนมากและมีห้องใต้ดิน ทางเข้าวกวนมีระบบการระบายน้ำเสีย การประปามีสถานที่สำหรับเล่นกีฬา มีการใช้ Bronze และทำเครื่องปั้นดินเผาแบบโอ่ง ไห ขนาดใหญ่จนถ้วยเล็กๆ ซึ่งมีลวดลายสวยงาม มีการใช้ทอง งาช้าง และเพชรนิลจินดาเป็นเครื่องประดับ มีการวาดภาพตามฝาผนัง มีตัวอักษรใช้เป็นรูปภาพ แบบ Symbolic ซึ่งมีสลักบนแผ่นดิน
1.2 แถบที่เจริญบนแหลมกรีก เมือง Mycenac
ซึ่งเจริญต่อจากแถบ Crete ราว 1600-1100 B.C. ผู้ที่ทำการขุดค้นคือ Heinrica Schliemanr (1870) ปรากฎว่ามีความเจริญทางการก่อสร้างปราสาทมีหอคอยล้อมและมีกำแพงหน้าถึง 10 ฟุต หลุมฝังศพใช้หินก้องใหญ่ มีความร่ำรวยเห็นได้จากการใช้ทอง สัมฤทธิ์ ใช้เงิน ใช้ทองปิดหน้าศพด้วยน้ำทำด้วยทองและเงิน แหวนทอง ดาบ และมีดทำด้วยทองสัมฤทธิ์ พวกกรีกสาขา Achaeans ซึ่งเป็นพวกแรกที่อพยพลงมาจากทางเหนือจะมาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่ Mycenae นี้ และจะทำความเจริญให้จนผลที่สุดจะถูกพวก Darians เข้ามาคุกคามเมื่อ 1200-450 B.C.
1.3 เมืองแถบฝั่ง Asia Miner-Trov เจริญในระยะแรกนี้เช่นเดียวกัน Heinrich Schlieman เป็นผู้ขุดค้นพบสถานที่แสดงว่าเคยเจริญมาจริงๆ ได้มีสงครามระหว่างพวกกรีก Myceneans กับ Troy เมื่อราว 1200 B.C. เรียกว่า Trojan War



2. สภาพภูมิศาสตร์
แหลมกรีกเขตภายใต้ของแหลมบอลข่าน (Balkan) ซึ่งนับตั้งแต่แม่น้ำดานูบลงไปนับเป็นแหลมใหญ่ของยุโรปตะวันออกเฉียงใต้ ภูมิอากาศเป็นประเภทเมดิเตอร์เรเนียนอบอุ่นและมีแดดมากกว่าทางเหนือของยุโรป พืช ได้แก่ องุ่น โอลิพ สินค้าที่มีมากแต่โบราณ คือน้ำมันมะกอก เหล้าองุ่น สัตว์ ได้แก่ แพะ แกะ หน้าร้อนไม่ร้อนจัดได้รับลมทะเลอยู่มากเพราะฝั่งทะเลเว้าแหว่ง
ภูมิประเทศมีภูเขาใหญ่น้อยมากมาย มีคอคอดชื่อ Corinth ทางใต้ของคอคอดเป็นแหลมที่มีชื่อแต่โบราณว่า Peloponnesus Morea ที่ราบมีน้อยแห่ง ที่กว้างขวางคือ Plain of Thessalia เหนือแม่น้ำมีขนาดสั้นและไหลเชี่ยวไม่สะดวกในการเดินเรือ แนวฝั่งทะเลเว้าแหว่งมาก และมีเกาะมากมายในทะเลทางตะวันออกซึ่งมีชื่อว่าทะเลอีเจียน Aegean Sea ไม่มีส่วนใดของทะเลเมดิเตอร์เรเนียนที่จะมีเกาะแหลมและอ่าวมากเท่ากับแถบตะวันออกของแหลมกรีก

ผลของสภาพภูมิศาสตร์ต่อความสามารถและการปกครองของชาวกรีก
ความเว้าแหว่งของฝั่งทะเลเป็นที่กำบังคลื่นลม เกาะต่างๆ ช่วยให้เดินเรือต่อออกไปได้ไกล ชาวกรีกแต่โบราณจึงมีความชำนาญในการเดินเรือยิ่งความสามารถนี้จะช่วยให้พวกกรีกรอดพ้นภยันตรายเมื่อถูกเปอร์เซียนรุกราน ภูเขาเป็นสิ่งกีดกั้นการติดต่อจึงทำให้แยกกันอยู่เป็นหมู่ๆ อย่างเป็นอิสระ แต่ละหน่วยของการปกครองของกรีก เรียกว่า Polis หรือ City state แต่ละหน่วยของการปกครองด้วยตัวเมืองและบริเวณรอบๆ ขนาดของ Athens ว่า ราว 1,000 ตารางไมล์ Sparta ราว 100 ตารางไมล์ ส่วนสำคัญที่สุดของแต่ละนครรัฐ มักจะอยู่บนเนินเขาสูงของเมือง เรียกว่า Acropolis
นครรัฐแต่ละแห่งปกครองตนเองมีกฎหมายของตนเองไม่ค่อยลงรอยกันแก่งแย่งชิงดีกัน แต่ในยามมีศึกจากภายนอกบรรดานครรัฐทั้งหลายก็ร่วมกันรบข้าศึกเมื่อขับไล่ศัตรูไปได้แล้วก็แยกกันดังเดิม
3. สมัยต่างๆ ในประวัติศาสตร์กรีก
กรีกสมัย Iliad และ Obysocy หมายถึง สมัยเริ่มตั้งประเทศราว 1300 B.C. - 600 B.C. Obysocy ซึ่งเป็นบทประพันธ์แบบมหากาพย์ของ Homer-Homeric Epics สันนิษฐานว่าเขียนราว 900-800 B.C. Homer เป็นนักประพันธ์ตาบอดมีถิ่นฐานอยู่แถบเกาะ Chios มีผู้ตั้งแนวคิดว่ามหากาพย์ทั้ง 2 เรื่องนี้ไม่ใช่ฝีปากของ Homer งานเดิมของ Homer สั้นกว่านี้ แต่มีนักประพันธ์อื่นมาช่วยกันแต่งต่อเติม
IIiad มาจากชื่อ Ilium, Ilion ซึ่งเป็นชื่ออีกชื่อหนึ่งของ Troy มุ่งกล่าวถึงวีรบุรุษในสงครามระหว่างชาวกรีกและชาวทรอย (Trojan War) วีรบุรุษคนสำคัญชื่อ Achilles มูลเหตุของสงครามเกี่ยวเนื่องกับเทพเจ้าของกรีกในงานเลี้ยงระหว่างเทพเจ้าเนื่องในการสมรส Eris ไม่ได้รับเชิญแต่ก็มาปรากฏตัวในงานพร้อมด้วยนำแอปเปิลทองคำมาประกาศให้แก่ผู้ที่งามที่สุด Hera, Athena และ Aphroldite ซึ่งมีอีกชื่อว่า Juno, Minerva และ Venus ตามลำดับ เป็นผู้ที่มุ่งเข้าแข่งขันกันจะเป็นเจ้าของแอปเปิลทองคำตกลงกันไปให้ Paris เป็นผู้ตัดสินแต่ละองค์ก็พยายามให้รางวัล อำนาจ ความรู้ หญิงงามที่สุด ต่อมา Paris ได้พบกับ Helen มเหสีของ King Menelaus ของ Spurta ซึ่งเป็นหญิงงามที่สุดในขณะนั้น และได้ลักพากลับ Troy โดยมี Aphrodite เป็นผู้ช่วย พวกกรีกทั้งหลายพากันยกทัพตามมาเพื่อนำ Helen กลับคืน ในบรรดาแม่ทัพมี Aganmemnon อนุชาของ Menelaus ผู้เป็นกษัตริย์ของ Mycenae เป็นหัวหน้าสำคัญอยู่ด้วยคนหนึ่ง การรบติดพันอยู่ถึง 10 ปี ไม่แพ้ชนะกันอย่างเด็ดขาด จนกระทั่งมีการคิดอุบายทิ้งม้าไม้ไว้แล้วทำเป็นคอยทัพกลับจึงสามารถตี Troy ได้สำเร็จ
Obysocy เป็นเรื่องของ Obysscus (Ulysses) กษัตริย์แห่ง Ithaca ซึ่งต้องเร่ร่อนอยู่ถึง 10 ปี จึงสามารถเดินทางกลับบ้านเมือง และกลับไปพบ Penelope มเหสีผู้จงรักภักดีได้ Obysseus ถูกลงโทษจากเทพเจ้าที่เข้าข้าง Troy เพราะเป็นผู้คิดอุบายสร้างม้าไม้
จากทั้งสองเรื่องนี้ ช่วยให้เราเข้าใจเรื่องเกี่ยวกับเทพเจ้าของกรีกว่ามีลักษณะคล้ายคลึงกับมนุษย์ แต่มีิอิทธิฤทธิ์เหนือกว่า ยังมีอารมณ์รัก โลภ โกรธ หลงและมีความสนใจลงมาเกี่ยวข้องกับมนุษย์ สิงสถิตย์อยู่ที่ภูเขาโอลิมปัส (Olumpus) ซึ่งมีหิมะปกคลุมอยู่เสมอ มีการยกย่องวีรบุรุษจนเป็นเสมือนกึ่งเทพเจ้า มีเรื่องราวของคนธรรมดา การค้าขาย การหาเลี้ยงชีพ การทำไร่ไถนา ลักษณะความเป็นไปของพระเจ้าแผ่นดินของกรีกโบราณด้วย
4. กรีกสมัยแสวงหาอาณานิคม ราว 800-600 B.C. หลังจากตั้งถิ่นฐานมั่นคงแล้ว แถบช่องแคบ Hellespaont Dardanelles ปัจจุบันเข้าไปยังทะเล Marmara ผ่าน Bospours ออกไปยังทะเลดำ (Black Sea) แถบทางใต้ของอิตาลีและเกาะชิลี ชาวกรีกอพยพไปตั้งถิ่นฐานกันมากมาย จนมีชื่อเรียกว่า Great Greece Magna Graecia เมืองหลายเมืองมีชื่อมาจากชื่อกรีกเช่น Naples มาจาก Neapotis แถบทางใต้ของฝรั่งเศส และตะวันออกของสเปนมีเมืองซึ่งมีชื่อสืบเนื่องมาจากกรีก เช่น Nice มาจาก Nike

สรุปเกี่ยวกับการออกแสวงหาดินแดน คือ มีนิสัยชอบท่องเที่ยวผจญภัย เนื่องจากความไม่อุดมสมบูรณ์ของที่ดิน เครื่่องอุปโภคอาจไม่เพียงพอ จำนวนพลเมืองเพิ่มมากขึ้น หลังจากตั้งถิ่นฐานเรียบร้อยแล้ว จึงต้องหาทางระบายพลเมือง หลังจากนี้การค้าขายเจริญขึ้น พวกเจ้าของที่ดินพยายามหาทางปรับปรุงการเพาะปลูก ผู้ที่มีเงินทุนและรู้จักวิธีปรับปรุงก็ร่ำรวยขึ้น พวกที่ทุนน้อย การเพาะปลูกไม่ได้ผลก็ยากจนลงต้องขายที่ดินไปทำอาชีพรับจ้าง สังคมจะซับซ้อนยิ่งขึ้น

ลักษณะพลเมืองรัฐเอเธนส์

ลักษณะการแบ่งฐานะของพลเมืองในรัฐเอเธนส์ก่อนศตวรรษที่ 7 จะเห็นได้ว่าชนชั้นสูงสุดคือ พวกขุนนางหรือพวกผู้ดีมีตระกูลเป็นพวกที่มีอำนาจสูงสุด มาในศตวรรษที่ 7 ก่อนคริสตกาลฐานะของพลเมืองในนครรัฐเอเธนส์ก็เริ่มเปลี่ยนแปลงไป มีการเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัดคือ การที่พวกผู้ดีหรือ ขุนนาง ซึ่งเคยเป็นพลเมืองชั้นสูงสุดของนครรัฐเริ่มหมดความสำคัญลงทีละน้อย ปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว สืบเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงในทางเศรษฐกิจกล่าวคือในระยะศตวรรษที่ 7 ก่อนคริสตกาล การค้าและอุตสาหกรรมของนครรัฐเอเธนส์เจริญขึ้นและขยายตัวอย่างรวดเร็ว เอเธนส์มีสินค้าออกที่สำคัญคือน้ำมันมะกอก และการทำภาชนะบรรจุน้ำมันมะกอก จัดเป็นอุตสาหกรรมที่ขึ้นหน้าขึ้นตาที่สุด พวกชนชั้นพ่อค้าเริ่มร่ำรวยขึ้นและทำการสะสมเงินทองมากขึ้นทุกที ขุนนางบางคนที่ต้องการฐานะร่ำรวยขึ้่นก็หันมาจับงานค้าขายบางคนร่ำรวยขึ้น แต่บางคนยากจนลงกว่าเดิม ในระยะนี้ความมั่งมีและทรัพย์สินเป็นที่ยอมรับในวงสังคมและการเมืองเช่นเดียวกัน มีความเท่าเทียมกับคนมีตระกูล ฐานะของพลเมืองและสิทธิในการเมืองวัดกันด้วยความมั่งคั่งและทรัพย์สินเงินทอง หรือผลิตผลในที่ดิน กล่าวคือผู้ที่มีผลิตผลในที่ดินมากที่สุดเป็นชนชั้นสูงสุด ผู้ที่มีผลิตผลในที่ดินรองลงมาก็เป็นชนชั้นรองลงมาตามลำดับมาในระยะนี้ชนชั้นสูงสุดจึงไม่จำเป็นจำต้องเป็นพวกผู้ดีมีตระกูล แต่เป็นคนที่มีทรัพย์สินเงินทอง พวกนี้มีสิทธิดำรงตำแหน่งสูงๆ ในทางการเมืองด้วย นอกจากนี้ยังมีพวกกสิกรที่มีนาของตนเอง แต่ผลิตผลที่ได้จากที่นามีจำนวนน้อยไม่มากพอที่จะจัดอยู่ในอันดับของพลเมืองที่กล่าวมาแล้ว พวกนี้รวมกับพวกจ้างฝีมือเรียกว่า ThetesŽ มีความหมายว่ากรรมกรเป็นพลเมืองแต่ขาดสิทธิทางการเมือง
การปรับปรุงของโซลอน (Solon) และการวางรากฐานประชาธิปไตยของเอเธนส์

การปกครองนครรัฐเอเธนส์ในชั้นต้นก็คล้ายคลึงกับนครรัฐอื่นๆ ของกรีก คือในสมัยต้นๆ มีกษัตริย์ปกครอง ต่อมาเป็นการปกครองโดยอภิสิทธิ์ชนและต่อจากนั้นก็วิวัฒนาการกลายเป็นรูปการปกครองแบบประชาธิปไตย(1) การปฏิรูปการปกครองให้คล้อยตามความต้องการของคนหมู่มากในสังคมขึ้นต่อมาเป็นผลงานของขุนนางชื่อโซลอน (Solon) ซึ่งได้รับเลือกเป็นอาร์คอน เมื่อ 594 ปี ก่อนคริสตกาล ทางด้่านอำนาจและตำแหน่งทางการเมืองนั้นเคยเป็นอภิสิทธิ์ของผู้ที่ถือกำเนิดมาในตระกูลขุนนางเก่าๆ เท่านั้น โซลอนได้เปลี่ยนแปลงเสียโดยใช้ฐานะทางเศรษฐกิจและทรัพย์สมบัติแทนกำเนิดเป็นเครื่องบ่งสิทธิในการเข้ารับตำแหน่งทางการปกครอง ราษฎรของเอเธนส์ทั้งหมดแบ่งออกเป็น 4 พวก ตามรายได้โดยไม่จำกัดว่าเป็นรายได้จากที่ดินหรือจากการค้าขาย และผู้ที่อยู่ในกลุ่มผู้ที่มีรายได้สูงสุดเท่านั้น ที่จะมีสิทธิที่จะเข้ารับตำแหน่งสูงสุดคือ ตำแหน่งอาร์คอนได้ โซลอนได้ยกฐานะของพวก Thetes เป็นชนชั้นที่ 4 สังคม มีสิทธิในทางการเมืองบ้างในขอบเขตที่จำกัด เช่น สิทธิในการเลือกแมจิสสเตรท (Magistrate) คือเจ้าหน้าที่สูงสุดในการปกครองรัฐและได้รับสิทธิเป็นทหารในกองทหารใช้อาวุธบ้างและเป็นกะลาสีในส่วนที่เกี่ยวกับระเบียบการปกครองรัฐ โซลอนได้ปรับปรุงใหม่บางประการ คือ
1. ให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารหรือคณะอาร์คอนคงมีอำนาจหน้าที่ตามเดิม แต่ให้รับผิดชอบต่ำกว่าศาลสูงสุดของประชาชน ซึ่งโซลอนได้ตั้งขึ้น
2. การจัดตั้งสภาสี่ร้อย (Council of Four Hundred) เพื่อเตรียมงานทางด้านนิติบัญญัติ มีสมาชิก 400 คน เลือกมาจากพลเมืองทั้ง 4 หมู่ ที่ประกอบขึ้นเป็นชาวนครเอเธนส์หมู่ละ 100 คน พลเมืองชั้นสูงสุดทั้ง 3 ชั้นของนครรัฐมีสิทธิได้รับเลือกเข้านั่งในสภาส่วนพวก Thetes ชนชั้นที่ 4 ยังไม่มีสิทธิ์
3. สภาราษฎร (Assembly) ให้ประกอบด้วยพลเมืองทุกคนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ซึ่งมาร่วมประชุมในสภานี้ มีอำนาจหน้าที่เลือกตั้งเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารหรือคณะอาร์คอนตามเดิม และมีอำนาจลงมติในปัญหาต่างๆ ที่สภาสี่ร้อยเสนอขึ้นมา
การปฏิรูประเบียบการปกครองของโซลอนนี้แม้จะนับว่าอยู่ในระบอบธนาธิปไตย (Timocracy) เพราะยังถือเอาทรัพย์สมบัติเป็นเกณฑ์ในการกำหนดสิทธิและหน้าที่ทางการเมืองก็ดี แต่มีส่วนเป็นประชาธิปไตยอยู่มาก นับได้ว่าเป็นก้าวแรกไปสู่ระบอบประชาธิปไตย
นอกจากการปรับปรุงระเบียบการปกครองในด้านนิติบัญญัติแล้ว โซลอนก็ยังได้ปรับปรุงแก้ไขทางด้านเศรษฐกิจและสังคมอีกหลายอย่างคือ
1. โซลอนออกกฎหมายห้ามการส่งพืชผลทุกชนิดออกนอกประเทศ เว้นแต่น้ำมันมะกอก ซึ่งมีอยู่มาก การห้ามเช่นนี้ก็เพื่อป้องกันความขาดแคลนเครื่องบริโภคภายในประเทศ
2. โซลอนออกกฎหมายบังคับให้บิดาสอนบุตรของตนให้ทำการค้าขาย และได้ออกกฎหมายส่งเสริมการประกอบอุตสาหกรรมหลายฉบับ ทั้งนี้โดยพิจารณาเห็นว่าที่ดินในรัฐนั้นไม่มีสภาพเหมาะสมแก่การประกอบกสิกรรม จึงได้มุ่งที่จะสร้างความเจริญให้แก่ประเทศทางพาณิชย์และอุตสาหกรรม ซึ่งในสมัยต่อมาเอเธนส์ก็ได้ถือเอากิจการทั้งสองประเภทนี้เป็นหลักสำคัญในการสร้างความเจริญให้แก่บ้านเมือง
3. โซลอนได้ออกกฎหมายจำกัดเสรีภาพของหญิง เช่น ห้ามไม่ให้ออกนอกบ้านเวลากลางคืน หญิงในสมัยโซลอนมีเสรีภาพน้อยกว่าในสมัยก่อนๆ มาก และมีเสรีภาพน้อยกว่าหญิงในสปาร์ต้าในขณะเดียวกัน ต้องเก็บตัวอยู่ในบ้านมากขึ้นทุกทีอันเป็นเหตุให้อิทธิพลทางสังคมของหญิงน้อยลงเป็นสำคัญ
เมื่อโซลอนเป็นว่าได้ทำหน้าที่ของตนให้สิ้นไปแล้ว ทั้งไม่ต้องการอยู่เพื่อแก้ไขกฎหมายก็ตามตราขึ้นอีก จึงได้ออกเดินทางไปประเทศต่างๆ เพื่อค้าขายและท่องเที่ยวเป็นเวลา 10 ปี แต่เมื่อกลับมาประเทศของตนโซลอนกลับประสบกับสถานการณ์ที่ยุ่งเหยิงอย่างที่สุด เพราะปรากฏว่าไม่มีใครพอใจในการปรับปรุงแก้ไขของโซลอน แม้ว่าโซลอนจะได้ตรากฎหมายอย่างดีเยี่ยมขึ้นไว้ก็ตาม แต่หามีผู้ใดปฏิบัติตาม หรือคอยบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมายด้วยความเต็มใจ

การก่อตั้งสมาพันธรัฐเดลอส
มหาภัยจากเปอร์เซียครั้งนี้ทำให้พวกนครรัฐในกรีกมีความเห็นว่าการที่จะเข้าร่วมกัน แต่เพียงในระยะที่มีสงครามติดพันไม่เป็นการเพียงพอเสียแล้ว ควรจะสร้างสมกำลังไว้แม้ในยามสงบ จึงได้จัดตั้งสมาคมหรือสมาพันธ์รัฐขึ้นเรียกว่า สมาพันธรัฐเดลอส(1) หรือ The Delian League ตามชื่อเกาะเดลอส ซึ่งเป็นเกาะเล็กๆ ซึ่งถือว่าเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของเทพเจ้าอพอลโล (Apollo) และสมาพันธรัฐใช้เป็นศูนย์กลางและเป็นที่เก็บทรัพย์สมบัติ สมาชิกของสมาพันธรัฐนี้ นอกจากเอเธนส์และนครรัฐที่อยู่ใกล้เคียงทางตะวันออกเฉียงเหนือของคาบสมุทรกรีกแล้วยังมีรัฐอีกหลายรัฐที่อยู่ตามเกาะเล็กๆ ในทะเลอีเจียนและรัฐที่เอเซียไมเนอร์ สมาพันธ์รัฐเดลอสนี้ในชั้นต้นมีจุดประสงค์ให้มีลักษณะเป็นสันนิบาตที่มีทัพเรือรวมกันในการป้องกันภัยจากการรุกรานของเปอร์เซีย แต่ภายหลังเมื่อภัยจากการรุกรานของเปอร์เซียหมดไป จุดมุ่งหมายของสมาพันธรัฐก็เปลี่ยนแปลงไป กองเรือของสมาพันธรัฐกลับถูกนำไปใช้ในการปราบปรามนครรัฐที่ต้องการแยกตัวออกหรือใช้บังคับนครรัฐอื่นให้เข้ามารวมกับสมาพันธรัฐตามต้องการ
ในสมัยของเพริคลิส สมาพันธรัฐก็เปลี่ยนสภาพไปเป็นจักรวรรดิของเอเธนส์โดยเปิดเผยใน 459 ปี ก่อนคริสตกาล ศูนย์กลางพร้อมทั้งคลังย้ายจากเกาะเดลอสไปยังนครเอเธนส์เพื่อสะดวกในการดำเนินงานตามที่เพริคลิสอ้าง สิ่งสำคัญที่สุดแสดงว่าสหพันธรัฐที่ตั้งขึ้นด้วยความสมัครใจของรัฐสมาชิกได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิเอเธนส์ก็คือการห้ามมิให้สมาชิกแยกตัวออกจากสมาพันธ์ เพริคลิสได้ใช้กำลังบังคับมิให้รัฐที่ต้องการจะลาออกจากการเป็นสมาชิกทำเช่นนั้น แต่การตกเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิ เอเธนส์ก็มีผลดีแก่นครรัฐเล็กๆ เหล่านี้เหมือนกัน นอกจากจะให้ความคุ้มครองจากศัตรูภายนอกแล้ว นครเอเธนส์มีการค้าขายติดต่อกับนครอื่นๆ และประเทศอื่นๆ อย่างกว้างขวางและสมาชิกในจักรวรรดิ็พลอยได้มีส่วนในความมั่นคงนี้ด้วย โดยปกตินครเอเธนส์จะปล่อยให้นครรัฐในอารักขาของตนเหล่านี้ทำการปกครองตนเอง แต่ถ้ามีการจลาจลแก่งแย่งอำนาจชนชั้นสูงและเปลี่ยนระบบการปกครองให้คล้ายระบอบ ประชาธิปไตยŽ ของนครเอเธนส์เอง

อารยธรรมของกรีกสมัยเฮเลนิสติค

ระยะเวลาภายหลังจาก 323 B.C. ยาวประมาณ 300 ปี อารยธรรมกรีก แพร่หลายออกไปนอกแหลมกรีก ทั่วอาณาจักรของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ขยายไว้ อาณาจักรของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ แบ่งแยกเป็น 3 ส่วนใหญ่ๆ ภายหลังจากที่พระองค์สิ้นพระชนม์
1. แถบมาซีโดเนีย (Macedonia) และกรีก เกิดการแก่งแย่งอำนาจในระหว่างแม่ทัพสำคัญๆ ผลที่สุด Antigonus รวมอำนาจได้

2. แถบอียิปต์ (Egypt) ตกอยู่ใต้อำนาจของปโตเลมี (Ptolomy) นับเป็นต้นราชวงศ์กษัตริย์ที่ครองอียิปต์สืบต่อมาจาก 30 B.C. (Ptolemy 306-285 B.C.)

3. แถบเอเซียไมเนอร์ (Asia Minor) รวมทั้งแถบลุ่มน้ำไทกรีส (Tigris) และ ยูเฟรตีส (Euphrates) ถึงอ่าวเปอร์เซีย ศูนย์กลางอยู่ที่เอนทัช (Antioch) อยู่ใต้การปกครองของขุนพลเสเลคัส
(Seleucus) และยังมีอาณาจักรเล็กๆ น้อยๆ ที่ชาวกรีกไปตั้งถิ่นฐานอยู่เอเธนส์ (Athens) ยังคงเป็นศูนย์กลางการศึกษา แต่ศูนย์กลางการค้าค่อยเปลี่ยนไปเป็น เกาะโรส(Rhodes) เมืองอเล็กซานเดีย ( Alexandria) และเมืองเอนทัช(Antioch) อารยธรรมของกรีกแพร่ออกไปยังดินแดนที่ตกอยู่ใต้อำนาจ พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชประชาชนทั้งแถบอียิปต์ (Egypt), ซีเรีย (Syria), ชาเลสไตน์ (Palestine), เอเซียไมเนอร์ (Asia Minor) ไม่ว่าจะเป็นชาว กรีกแท้หรือไม่แท้ล้วนแต่ใช้ภาษากรีกทั้งสิ้น

8 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ2 กรกฎาคม 2554 เวลา 10:29

    ขอบคุณมากๆเลยค่ะ

    ตอบลบ
  2. ไม่ระบุชื่อ25 สิงหาคม 2554 เวลา 19:22

    oh my god

    ตอบลบ
  3. ไม่ระบุชื่อ11 กันยายน 2554 เวลา 19:46

    ขอบคุณค่ะ ได้ความรู้ก่อนสอบมากเลย

    ตอบลบ
  4. Thank you so much KruPloy

    ตอบลบ
  5. ไม่มี ศิลปะและสถาปัตยกรรมของกรีก อ่ะครับ ...

    รบกวนขออีกหน่อยนะครับ

    ตอบลบ
  6. ขอบคุณครับ

    ตอบลบ
  7. ไม่มีสำนวนกรีกบ้างหรอ

    ตอบลบ
  8. ไม่ระบุชื่อ21 กรกฎาคม 2555 เวลา 21:03

    ขอบคุณนะค่

    ตอบลบ