Wlecom To Blog Kru Ploy Na Ka

หน้าเว็บ


ขอฝากจากตลาดคลองสาน 100 ปี

วันศุกร์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

อารยธรรมเมโสโปเตเมีย







เป็นบริเวณที่อุดมสมบูรณืระหว่างแม่น้ำ 2 สาย คือ แม่น้ำโทกริสและแม่น้ำยูเฟรติส จึงทำให้ชนชาติต่างๆแย่งชิงผลัดเปลี่ยนเข้ามาสร้างสรรค์อารยธรรมของตน

- ชาติแรกที่เข้ามา คือ สุเมเรียน ซึ่งมีความเจริญด้านการเกษตร รู้จักการชลประทานและจัดการปกครองแบบนครรัฐได้เป็นครั้งแรก

- ประดิษฐ์อักษรลิ่ม ลงบนแผ่นดินเหนียว มีความเจริญด้านคณิตศาสตร์ เช่น การคูณหาร ถอดรากกำลังสอง เลขฐาน 60 เป็นต้น มีการติดต่อค้าขายกับภายนอก

- นับถือเทพเจ้าหลายองค์ วิหารบูชาเทพเจ้า คือ ซิกกูแรท (Ziggurat)
- บาบิโลเนีย ประมวลกฎหมายของพระเจ้าฮัมบูราบี ใช้บทลงโทษที่รุนแรง " ตาต่อตา ฟันต่อฟัน " เพื่อสร้างระเบียบและความยุติธรรมให้แก่ดินแดน ถือเป็นกฎหมายฉบับแรกของโลก

- อัสซีเรีย การแกะสลักภาพนูนต่ำ (bas relief) แสดงการสู้รบของกษัตริย์อัสซูร์บาลิปาล รวบรวมงานเขียนไว้ที่ห้องสมุดเมืองนายเวห์ (Nineveh) ซึ่งเป็นห้องสมุดแห่งแรกของโลก

- คาลเดีย สร้างสวนลอยแห่งกรุงบสบิโลน มีความสามารถด้านดาราศาสตร์ แบ่งสัปดาห์ 7 วัน สามารถทำนายสุริยุปราคา และนำดาราศาสตร์มาเป็นเครื่องทำนายชะตาชีวิตมนุษย์



เมโสโปเตเมีย (กรีก: Μεσοποταμία : เมโสโปตาเมีย; ภาษาอังกฤษ: Mesopotamia) เป็นคำกรีกโบราณ ตามรูปศัพท์แปลว่า "ที่ระหว่างแม่น้ำ" โดยมีนัยหมายถึง "ดินแดนระหว่างแม่น้ำ แม่น้ำไทกรีสและยูเฟรตีส" เมโสโปเตเมีย (meso=กลาง,potamia=แม่น้ำ)ดินแดนดังกล่าวนี้ เป็นส่วนหนึ่งของ "ดินแดนรูปพระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์" ซึ่งเป็นดินแดนรูปครึ่งวงกลมผืนใหญ่ ที่ทอดโค้งขึ้นไปจากฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนไปจรดอ่าวเปอร์เซีย

เมโสโปเตเมีย เป็นดินแดนที่อากาศร้อนและกันดารฝน น้ำที่ได้รับส่วนใหญ่เป็น น้ำจากแม่น้ำที่มาจากหิมะละลายในภาคฤดูร้อนบนเทือกเขาในอาร์มิเนีย(Armenia) น้ำจะพัดพาเอาโคลนตมมาทับถมชายฝั่งทั้งสอง ทำให้พื้นดินอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูก การเอ่อล้นของน้ำอันเกิดจากหิมะละลายไม่มีกำหนดเวลาที่แน่นอนและบางครั้งทำความเสียหายแก่บ้านเมือง ไร่นา ทรัพย์สินและชีวิตผู้คน การกสิกรรมที่จะได้ผลดีในสภาพแวดล้อมเช่นนี้ต้องอาศัยระบบการชลประทานที่มีประสิทธิภาพ

ความอุดมสมบูรณ์ของลุ่มแม่น้ำเป็นเครื่องดึงดูดให้ผู้คนเข้ามาทำมาหากินในบริเวณนี้ แต่ความร้อนของอากาศก็เป็นเครื่องบั่นทอนกำลังของผู้คนที่อาศัยอยู่ทำให้คนเหล่านั้นขาดความกระตือรือร้น เมื่อมีพวกอื่นเข้ารุกรานจึงต้องหลีกทางให้ผู้ที่เข้ามาใหม่ ซึ่งเมื่ออยู่ไปนาน ๆ เข้าก็ประสบภาวะเดียวกันต้องหลีกให้ผู้อื่นต่อไป พวกที่เข้ามารุกรานส่วนใหญ่มักจะมาจากบริเวณหุบเขาที่ราบสูงทางภาคเหนือ และตะวันออกซึ่งส่วนใหญ่เป็นเขาหินปูนไม่อุดมสมบูรณ์เท่าเขตลุ่มแม่น้ำ และยังมีพวกที่มาจากทะเลทรายซีเรียและอารเบีย เรื่องราวของดินแดนแห่งนี้จึงเป็นเรื่องราวที่เกี่ยวกับอารยธรรมของคนกลุ่มต่างๆ หลายกลุ่มมิได้เป็นเรื่องราวของอารยธรรมที่สืบต่อกันเป็นเวลายาวนานดังเช่นอารยธรรมอียิปต์

คนกลุ่มแรกที่สร้างอารยธรรมเมโสโปเตเมียขึ้นคือชาวประวัติชน [ต้องการแหล่งอ้างอิง] ผู้คิดประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นเป็นครั้งแรกในโลก อารยธรรมที่ชาวสุเมเรียนขึ้นเป็น พื้นฐานสำคัญ ของอารยธรรมเมโสโปเตเมีย สถาปัตยธรรม ตัวอักษร ศิลปกรรมอื่นๆ ตลอดจนทัศนคติต่อชีวิตและเทพเจ้าของชาวสุเมเรียน ได้ดำรงอยู่และมีอิทธิพลอยู่ในลุ่มแม่น้ำทั้งสองตลอดช่วงสมัยโบราณ

- เปอร์เซีย ระบอบการปกครองแบบจักรวรรดินิยมที่มั่นคง ขยายการค้าไปยังดินแดนต่างๆ

- ฟินิเซีย มีความสามารถด้านการค้า การแลกเปลี่ยนเงินตรา เป็นชาติแรกที่มีเหรียญทองคำใช้ เป็นผู้เผยแพร่วัฒนธรรมของชาติต่างๆในภูมิภาคนี้


ต้นกำเนิดอารยธรรมสมัยเมโสโปเตเมีย

เมโสโปเตเมีย เป็นคำภาษากรีก แปลว่า ระหว่างแม่น้ำ ดินแดนที่ชาวกรีกเรียกว่า เมโสโปเตเมียนี้ตั้งอยู่ในลุ่มน้ำไทกรีสและยูเฟรตีสเป็นส่วนหนึ่งของ "ดินแดนรูปพระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์" ซึ่งเป็นดินแดนรูปครึ่งวงกลมผืนใหญ่ ที่ทอดโค้งขึ้นไปจากฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและอ่าวเปอร์เซีย

เมโสโปเตเมีย เป็นดินแดนที่อากาศร้อนและกันดารฝน น้ำที่ได้รับส่วนใหญ่เป็น น้ำจากแม่น้ำที่มาจากหิมะละลายในภาคฤดูร้อนบนเทือกเขาในอาร์มิเนียน้ำ จะพัดพาเอาโคลนตมมาทับถมชายฝั่งทั้งสอง ทำให้พื้นดินอุดมสมบูรณ์เหมาะแก ่การเพาะปลูก การเอ่อล้นของน้ำอันเกิดจากหิมะละลายไม่มีกำหนดเวลาที่แน่นอนและ บางครั้งทำความเสียหายแก่บ้านเมือง ไร่นา ทรัพย์สินและชีวิตผู้คน การกสิกรรมที่จะได้ ผลดีในสภาพแวดล้อมเช่นนี้ต้องอาศัยระบบการชลประทานที่มีประสิทธิภาพ

ความอุดมสมบูรณ์ของลุ่มแม่น้ำเป็นเครื่องดึงดูดให้ผู้คนเข้ามาทำมาหากินในบริเวณนี้ แต่ความร้อนของอากาศก็เป็นเครื่องบั่นทอนกำลังของผู้คนที่อาศัยอยู่ทำให้คนเหล่า นั้นขาดความกระตือรือร้น เมื่อมีพวกอื่นเข้ารุกรานจึงต้องหลีกทางให้ผู้ที่เข้ามาใหม่ซึ่ง เมื่ออยู่ไปนานๆเข้าก็ประสบภาวะเดียวกันต้องหลีกให้ผู้อื่นต่อไปวกที่เข้ามารุกราน ส่วนใหญ่มักจะมาจากบริเวณหุบเขาที่ราบสูงทางภาคเหนือและตะวันออกซึ่งส่วนใหญ ่เป็นเขาหินปูนไม่อุดมสมบูรณ์เท่าเขตลุ่มแม่น้ำ และยังมีพวกที่มาจากทะเลทรายซีเรียและอารเบีย เรื่องราวของดินแดนแห่งนี้จึงเป็นเรื่องราวที่เกี่ยวกับอารยธรรมของคนกลุ่มต่างๆ หลายกลุ่มมิได ้เป็นเรื่องราวของอารยธรรมที่สืบต่อกันเป็นเวลายาวนานดังเช่นอารยธรรมอียิปต์

คนกลุ่มแรกที่สร้างอารยธรรมเมโสโปเตเมียขึ้นคือชาวสุเมเรียน ผู้คิดประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นเป็นครั้งแรกในโลก อารยธรรมที่ชาวสุเมเรียนขึ้น เป็นพื้นฐานสำคัญ ของอารยธรรมเมโสโปเตเมีย สถาปัตยธรรม ตัวอักษร ศิลปกรรมอื่นๆ ตลอดจนทัศนคติต่อชีวิตและเทพเจ้าของชาวสุเมเรียน ได้ดำรงอยู่และมีอิทธิพลอยู่ในลุ่มแม่น้ำทั้งสองตลอดช่วงสมัยโบราณ

แนวคิดของอารยธรรม

อารยธรรมเมโสโปเตเมีย เป็นอารยธรรมที่แสดงให้เห็นถึงพัฒนา การทางวัฒนธรรม อารยะรรมที่สำคัญของโลก กล่าวคือ เป็นกลุ่มชนที่ริเริ่มและสร้างสรรค์ความเจริญไว้มากมาย อาทิเช่น ด้านคณิตศาสตร์ ดาราศาสตร์ อักษรศาสตร์ สถาปัตยกรรม และกฎหมายที่สำคัญต่างๆ ของโลก รวมไปถึงทำให้ทราบถึงการ ต่อสู้ดินแดน และเพื่ออยู่รอดของเผ่าพันธุ์ของมนุษย์เอง การสร้างหลักความเชื่อโดยมีพระหรือนักบวชเป็นผู้นำที่สำคัญ

1. มนุษย์รวมตัวกันอยู่ในรูปองค์กรทางการเมือง แบบนครรัฐเป็นอันดับแรก และสามารถสร้างสรรค์ความเจริญภายใต้รูปแบบการปกครอง
2. การผลิตจนเหลือกินเหลือใช้ในชุมชนหนึ่งกับความยากไร้และแร้นแค้นในบาง
ชุมชนก่อให้เกิดสงครามซึ่งตามมาด้วยการที่ชุมชนหนึ่ง สถาปนาอำนาจเหนือชุมชนอื่นๆ ที่พ่ายแพ้ในรูปขององค์กรทางการเมืองแบบจักรพรรดิ
3. การขยายตัวทางการเมือง และเศรษฐกิจในรูปแบบของจักรวรรดิในยุคแรกเป็นไปอย่างกว้างขวาง
ปัจจัยที่ส่งผลให้อารยธรรมเมโสโปเตเมียเจริญรุ่งเรือง
1. ความอุดมสมบูรณ์ของลุ่มแม่น้ำไทกรีสและยูเฟรตีส
2. ความคิด และการสืบทอดอารยธรรมของกลุ่มชนในดินแดนแห่งนี้ซึ่งมีด้วยกัน 6 กลุ่ม
3.มีพรมแดนธรรมชาติเป็นเกราะป้องกันการรุกรานจากศัตรูภายนอก โดยทิศเหนือมีภูเขาและที่ราบสูง ทิศใต้ติดอ่าวเปอร์เซีย ทิศตะวันออกจดเทือกเขาซาร์กอส และทิศตะวันเป็นทะเลทรายซีเรีย

ลักษณะที่ตั้งทางภูมิศาสตร์

เมโสโปเตเมียแหล่งอารยธรรมที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งในสมัยโบราณคำว่าเมโสโปเตเมีย เป็นภาษากรีก มีความหมายว่าดินแดนระหว่างแม่น้ำที่สอง คือแม่น้ำไทกรีส (Tigris) และ ยูเฟรตีส (Euphrates) ปัจจุบันคือประเทศอิรัก มีนครหลวงคือกรุงแบกแดด แม่น้ำทั้ง 2 สายมีต้นน้ำอยู่ในอาร์มีเนีย และเอเซียไมเนอร์ไหลลงสู่ทะเลที่อ่าวเปอร์เซีย

บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำไทกรีสและยูเฟรตีส ตอนล่างเรียกว่าบาบิโลเนีย (Babylonia) เป็นเขตซึ่งอยู่ติดกับอ่าวเปอร์เซีย มีชื่อเรียกในสมัยหนึ่งว่าชินาร์ (Shina) เกิดจากการทับถมของดินที่แม่น้ำพัดพามากล่าวคือในฤดูร้อนหิมะบนภูเขา ในอาร์มีเนียละลายไหลบ่าลงมาทางใต้พัดพาเอาโคลนตมมาทับถมไว้ยัง บริเวณปากน้ำทำให้พื้นดินตรงปากแม่น้ำงอกออกทุกปี โดยเฉลี่ยแล้วประมาณ 1 ไมล์ครึ่ง ทุกๆ ศตวรรษ ( ประมาณปีละ 29 นิ้วครึ่ง)

อาณาบริเวณที่เรียกว่าเมโสโปเตเมีย มีทิศเหนือจรดทะเลดำ และทะสาบแคสเบียน ทิศตะวันตกเฉียงใต้จรดคาบสมุทรอาระเบีย ซึ่งล้อมรอบด้วยทะเลแดง และมหาสมุทรอินเดีย ทิศตะวันตกจรดที่ราบซีเรีย และปาเลสไตน์ ส่วนทิศตะวันออก จรดที่ราบสูงอิหร่าน

เมโสโปเตเมียแบ่งออกเป็นสองส่วน ส่วนล่างใกล้กับอ่าวเปอร์เซีย มีความอุดมสมบูรณ ์เรียกว่าบาบิโลเนีย ส่วนบนซึ่งค่อนข้างแห้งแล้งเรียกว่าแอสซีเรีย (Assyria) บริเวณ ทั้งหมดมีชนชาติหลายเผ่าพันธุ์อาศัยอยู่ มีการรบพุ่งกันอยู่เสมอ เมื่อชาติใดมีอำนาจ ก็เข้าไปยึดครองและกลายเป็นชนชาติเดียวกัน นักประวัติศาสตร์บางท่านกล่าวว่า ไม่มีแห่งหนตำบลใด จะมีชาติพันธุ์มนุษย์ผสมปนเปกันมากมายเหมือนที่น ี่ และยังเป็นยุทธภูมิระหว่างตะวันตก กับตะวันออกตลอดสมัยประวัติศาสตร์ ดังนั้น ประวัติเรื่องราวต่างๆ ของชนชาติเหล่านี้จึงค่อนข้างสับสน

ประวัติศาสตร์ของดินแดนแห่งนี้เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับความเจริญของแต่ละแคว้น ที่แยกออกจากกัน และเรื่องราวทางอารยธรรมในเมโสโปเตเมียมีหลักฐานยืนยัน ทางโบราณคดีว่าเก่าแก่นานนับถึง 8,000 - 7,000 B.C. เช่น การขุดพบหมู่บ้าน ที่เมืองจาร์โม (Jarmo) ในอิรักใกล้แม่น้ำไทกรีสเมืองซาทาล ฮือยึค (Catal Huyl) ภายใต้ของอนาโตเลีย (ประเทศตุรกี) ซึ่งเมื่อเทียบกับอิยิปต์แล้วหลักฐานทาง โบราณคดีในเมืองเก่าแก่ใกล้ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไนล์คือที่ไฟยูม (Faiyum) มีอายุเพียง 4,500 B.C. เท่านั้น ตัวอักษรของเมโสโปเตเมียก็ปรากฎว่า ใช้มานานแล้วอาจจะก่อนอียิปต์หลายร้อยปีอีกด้วย แต่ก็ไม่ปรากฎยืนยันว่า ตัวอักษรของเมโสโปเตเมียให้อิทธิพลแก่อียิปต์แต่อย่างใด

ชนชาติกลุ่มแรกที่มีอายุในสมัยหิน และเข้ามาอยู่อาศัยระหว่างหุบเขาริมแม่น้ำ จอร์แดนประเทศอิรัก เรียกว่า เจริโค (Jericho) มีอายุราว 8,000 B.C. การขุดค้น หลักฐานทางโบราณคดีขุดค้นซากกำแพงยาวสร้างด้วยหิน สูงถึง 12 ฟุต หนา 5 ฟุต และพบซากหอคอยซึ่งมีความสูงถึง 30 ฟุต รูปแบบการก่อสร้างแสดง อารยธรรมดั้งเดิมของมนุษย์ทีใช้มาก่อสร้างชนกลุ่มต่อมา คือซาทาล ฮือยึค (Catal Huyuk) มีอายุราว 7000-5000 B.C. นักโบราณคดีได้ขุดลงไปพบเมือง ต่างๆ ที่ทับถมเป็นชั้น ๆ ถึง 12 ชั้น และชั้นที่ 4 พบซากเมืองมีผังต่อเนื่อง คล้ายเมืองใหญ่ แต่ไม่มีถนน ตัวอาคารเป็นห้องโถง มีภาพเขียนหนังและตกแต่ง ปฏิมากรรมที่ทำมาจากเขาสัตว์ งานจิตรกรรมบนผนังของ ซาทาล ฮือยึค หลังจากพิสูจน์ด้วยเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์แล้วปรากฎว่ามีอายุราว 6,200 B.C. เป็นภาพหมู่บ้านที่อาศัยมากมาย มีภาพภูเขาไฟกำลังระเบิด สำหรับงานปฏิมกรรม เป็นรูปปั้นจากดินดำและรูปแกะสลักจากหินชั้นเล็กๆ สูงประมาณ 2-8 นิ้ว

แม้พวกเจริโคและซาทาล ฮือยึค จะเป็นชนชาติที่ปรากฎหลักฐานว่าเก่าแก่ ที่สุดในเมโสโปรเตเมีย แต่ก็เข้าใจว่ายังไม่มีอารยธรรมใดจะเป็นเครื่องยืนยันว่า มีความเจริญหลุดพ้นจากยุคหินหรือยุคโลหะมาได้ ชนชาติเก่าแก่ชาติแรกที่ ปรากฎหลักฐานแสดงความเจริญรุ่งเรือง และมีอารยธรรมเก่าแก่ที่สุดใน เมโสโปเตเมีย คือ ชนชาติซูเมอร์และบาบิโลเนีย
ปัจจัยที่เอื้ออำนวยให้เกิดอารยธรรมเมโสโปเตเมีย

ปัจจัยที่เอื้ออำนวยให้เกิดอารยธรรมเมโสโปเตเมีย คือ

1. ความคิดสร้างสรรค์รักษา ปรับปรุงและสืบทอดในอารยธรรมของกลุ่มชน 6 กลุ่มคือ
1.1 สุเมเรียน (Sumerians)
1.2 อัคคาเดียน (Akkadians)
1.3 อะมอไรท์ (Amorites)
1.4 คัสไซท์ (Kassites)
1.5 อัสซีเรียน (Assyrians)
1.6 แคลเดียน (Chaldeans)
ปัจจัยที่เอื้ออำนวยให้เกิดอารยธรรมเมโสโปเตเมีย คือ
1. ความคิดสร้างสรรค์รักษา ปรับปรุงและสืบทอดในอารยธรรมของกลุ่มชน 7 กลุ่มคือ
1.1 สุเมเรียน (Sumerians) เชื่อว่ามาจากที่ราบสูงอิหร่าน และเข้ามาอยู่ทางตะวันออกของแม่น้ำไทกรีส เมื่อประมาณ 4,000 ปีก่อนคริสตกาล เมื่อแรกเริ่มที่ชาวสุเมเรียนอพยพเข้ามาในเมโสโปเตเมียได้รวมกันอยู่เป็นหมู่บ้านเล็ก ๆ ต่อมาจึงได้รวมกันในลักษณะนครรัฐ แต่ละนครรัฐเป็นอิสระแก่กัน รัฐสำคัญได้แก่ อิริดู อิรุค นิปเปอร์ นครรัฐเหล่านี้บางครั้งก็จะรบราฆ่าฟันกันเพื่อชิงความเป็นใหญ่ชาวสุเมเรียนนับถือพระเจ้าหลายองค์ แต่ละนครรัฐจะมีพระเป็นเจ้าประทับอยู่ในวัดใหญ่ที่เรียกว่า ซิกกูแรต (Ziggurat) ซึ่งชาวสุเมเรียน สร้างขึ้นเป็นศูนย์กลางของนครรัฐ ในระยะแรกชาวสุเมเรียนมีพระเป็นผู้ดูแลกิจการต่าง ๆ ในนครรัฐ นับแต่การเก็บภาษี ข้าวปลาอาหาร ตลอดจนควบคุมดูแลเกี่ยวกับการชลประทานและการทำไร่ทำนา ต่อมาเมื่อเกิดการแข่งขันและรบกันระหว่างนครรัฐ อำนาจการปกครองจึงเปลี่ยนมาอยู่ที่นักรบหรือกษัตริย์ ซึ่งเป็นผู้เข้มแข็งสามารถสู้รบป้องกันนครรัฐ และทำหน้าที่ควบคุมดูแลกิจการต่าง ๆ แทนพระ



ชาวสุเมเรียน สามารถประดิษฐ์อักษรรูปลิ่ม (Cuneiform) บันทึกลงในแผ่นดินเหนียว อักษรนี้เองส่งผลให้เกิดวรรณกรรมสำคัญคือ มหากาพย์กิลกาเมช (Epic of Gilgamesh) เป็นเรื่องการผจญภัยของวีรบุรุษนอกจากนั้นยังรู้จักการคูณ การหาร การถอดกรนท์ (Root) เลขยกกำลังสอง เลขยกกำลังสาม การใช้เลขฐาน 60 เช่น นาที วินาที การจัดมุมฉากเป็น 90 องศา วัดมุมรอบจุดเป็น 360 องศา แบ่ง 1 องศา เป็น 60 ลิปดา แบ่ง 1 ลิปดาออกเป็น 60 พิลิปดา แบ่ง 1 วันออกเป็น 24 ชั่วโมง



1.2 อัคคาเดียน (Akkadians) ตั้งศูนย์กลาง การปกครองอยู่ที่นครรัฐเออร์มีความสามารถในวิชาดาราศาสตร์ รู้จักการทำปฏิทิน มีความสามารถในการคำนวณสุริยุปราคาได้ด้วย



1.3 อะมอไรท์ (Amorites) มีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่นครรัฐบาบิโลน มีการเก็บภาษี การเกณฑ์ทหารควบคุมการค้าอย่างใกล้ชิด ในสมัยพระเจ้าฮัมมูราบี ได้รวบรวมกฎหมายฉบับแรกของโลก ซึ่งเรียกว่า ประมวลกฎหมายฮัมมูราบี (Hummurabi’s Code) ยึดหลักตาต่อตา ฟันต่อฟัน (Lex talionis หรือ an eye for an eye, atooth for a tooth) ในการลงโทษให้ใช้การทดแทนความผิดด้วยการ กระทำอย่างเดียวกัน



1.4 คัสไซท์ (Kassites)
1.5 อัสซีเรียน (Assyrians) เป็นชนชาตินักรบ มีวินัย กล้าหาญ มีศูนย์กลางอยู่ที่กรุงนิเนเวห์ (Nineveh) ได้สร้างอารยธรรมการสลักภาพนูนต่ำ ด้านการรบและการล่าสัตว์ มีการสร้างวังขนาดใหญ่ และสร้างห้องสมุดแห่งแรกของโลก โดยพระเจ้าอัสซูรบานิปาลที่เมืองนิเนเวห์



1.6 แคลเดียน (Chaldeans) หรือพวกบาบิโลเนียใหม่ เป็นชนเผ่าฮีบรู ในสมัยพระเจ้าเนบูคัดเดรดซาร์(Nebuchadrezzar) ได้สร้างพระราชวังขนาดใหญ่และสร้างสวนพฤกษชาติ บนพระราชวัง เรียกว่า “สวนลอยแห่งกรุงบาบิโลน (Hanging Gardens of Babylon) นับเป็นสิ่งมหัศจรรย์ของโลก นอกจากนั้นพวก คาลเดีย ยังมีความรู้เรื่องการชลประทาน ดาราศาสตร์ และคำนวณการโคจรของดวงอาทิตย์ ในรอบปีได้อย่างถูกต้อง



1.7 โฟนิเซีย (Phoenicia) ตั้งอาณาจักรอยู่ด้านตะวันออกของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน บริเวณประเทศซิเรียและเลบานอนในปัจจุบัน ชาวโฟนิเชีย เป็นนักเดินเรือที่เก่งกล้า เป็นพ่อค้าที่มีชื่อเสียงที่สุดในยุคนั้นทั้งยังได้นำความรู้จากสุเมเรียนและอียิปต์มาประดิษฐ์ตัวอักษรที่มีทั้งสระและพยัญชนะ เรียกว่า อักษรอัลฟาเบธ (Alphabeth เช่น A เรียกว่า Alpha คือ ? เรียกว่า Beta และอื่น ๆ ได้แก่


2. แม่น้ำไทกรีสและยูเฟรตีส ทำให้เมโสโปเตเมียชุ่มชื้นเกิดการรวมตัวของกลุ่มชน และกำเนิดอารยธรรมเฉพาะขึ้น

3. พรมแดนธรรมชาติซึ่งมีส่วนช่วยเป็นกำแพงป้องกันศัตรูภายนอกแม้ไม่ดีเท่า แถบลุ่มน้ำไนล์ก็ตาม แต่ก็เอื้ออำนวยให้กลุ่มชนซึ่งผลัดกันขึ้นมีบทบาทใน เมโสโปเตเมียสามารถใช้ประโยชน์ของพรมแดนธรรมชาตินี้กำเนิดอารยธรรม เมโสโปเตเมียขึ้น กล่าวคือทิศเหนือจรดเทือกเขาอเมเนียทิศใต้จรดอ่าวเปอร์เซีย ทิศตะวันออกจรดแนวเทือกเขายาว ทิศตะวันตกจรดทะเลทรายอารเบียนการ รวมตัวทางการเมืองของเมโสโปเตเมีย การรวมตัวอย่างถาวรครั้งแรกกระทำได ้เป็นผลสำเร็จโดยผู้พิชิตชาวเซเมติคผู้หนึ่งซึ่งเป็นกษัตริย์แห่งอัคคัตทรง พระนามว่าซาร์กอนพระองค์ทรงได้เมโสโปเตเมียไว้ในครอบครองเมื่อ ประมาณปี 2370 ก่อนคริสตกาล และพระราชวงศ์ของพระองค์ปกครองอย่าง ยากลำบากต่อมาอีกหลายชั่วคน (ประมาณ 2370-2230) กษัตริย์ซาร์กอนทรง ได้รับการยกย่องในสมัยนั้น เพราะจักรวรรดิของพระองค์เป็นจักรวรรดิที่ยิ่ง ใหญ่ที่สุดในโลกที่เคยรู้จักมา ที่สามารถรวบรวมอาณาจักรอัคคัตและ ซูเมอร์เข้าไว้เป็นหน่วยการปกครองเดียวกันและเรื่องเล่าในสมัยต่อมา ได้ขยายให้ใหญ่โตยิ่งไปกว่าความเป็นจริงเล่ากันว่ากษัตริย์ซากอน ได้ทรงปกครองประชาชนของดินแดนทั้งหมด ชัยชนะของพระองค์มีผลใน การเร่งให้วัฒนธรรมสุเมเรียนเผยแพร่ไปทั่วตะวันออกใกล้ได้เร็วขึ้นทายาท องค์หนึ่งของกษัตริย์ซาร์กอนฝ่าฝืนขนบประเพณีของสุเมเรียน และตัดสินใจเสี่ยงด้วยการอ้างพระองค์เป็นเทพ ต่อมาราชวงศ์ซาร์กอน แห่งอัคคัตถูกอนารยชนจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เข้าทำลายล้าง ยังผลทำให้เกิดความไม่สงบทางการเมืองอีกช่วยระยะหนึ่ง ครั้งเมื่อ ประมาณ 2,100 ก่อนคริสตกาล นครรัฐสุเมเรียนแห่งอูร์กลับได้อำนาจ และบรรดากษัตริย์แห่ง 14 นครนี้ก็อ้างตนเป็นเทพเช่นเดียวกัน แต่ในที่สุดจักรวรรดิอูร์ก็ถูกทำลายลงด้วยการเบียดเบียนของอนารยชน และความแตกแยกภายใน พร้อมกับความหายนะของจักรวรรดิอูร์อำนาจ ทางการเมืองของสุเมเรียนก็สิ้นสุดลงตลอดไป อนาคตของเมโสโปเตเมีย จึงอยู่ในมือของพวกเซไมท์

ในช่วงระยะที่เกิดความวุ่นวายคือประมาณ 2,000 ปีก่อนคริสตกาล ชนเผ่าเซเมติค กลุ่มใหม่หลายกลุ่มพากันอพยพเข้ามายังดินแดนลุ่มแม่น้ำ กลุ่มหนึ่งของชนเผ่านี้ คือพวกอะมอไรท์จากซีเรียเข้ามายึดครองนครต่างๆ รวมทั้งบาบิโลนเมืองที่ไร ้ความสำคัญพระเจ้าฮัมมูราบี (ประมาณ ค.ศ. 1792 - 1750) กษัตริย์อะมอไรท์แห่ง บาบิโลนผู้สามารถและมีชื่อเสียง เข้าพิชิตดินแดนแห่ง อัคคัตและมูเซอร์ได้ทั้งหมด และขยายอำนาจไปจนทั่วดินแดนรูปพระจันทร์ครึ่งเสี้ยว ตั้งแต่ทะเล เมดิเตอร์เรเนียนมาจนถึงอ่าวเปอร์เซีย เพียงชั่วเวลาอันสั้น บาบิโลนก็เปลี่ยนจากเมืองเล็กๆ ที่ไร้ความหมายมาเป็นนครหลวงของ จักรวรรดิที่ทรงอำนาจ

สิ่งที่จะต้องเน้นไว้ในที่นี้ก็คือหลักฐานเกี่ยวกับเรื่องพัฒนาการทางการเมืองเหล่า นี้มีอยู่น้อยและไม่ชัดเจนและรายละเอียดบางประการในการประติดประต่อเรื่อง ของเราอาจผิดพลาดได้ ศักราชในช่วงสมัยเริ่มแรกนี้ก็อาจผิดไปถึงศตวรรษหรือ มากกว่านั้นอย่างไรก็ตามลำดับเหตุการณ์ต่างๆ นั้นจัดได้อย่างถูกต้อง และไม่น่าสงสัยว่าพระเจ้าฮัมมูราบี ผู้ได้รับแนวความคิดจากขนบธรรมเนียมและ วัฒนธรรมสุเมเรียนซึ่งได้แพร่หลายอยู่เกือบ 2,000 ปีแล้ว จะไม่สามารถสร้างสรรค์ โครงสร้างทางการเมืองที่มีประสิทธิภาพยอดเยี่ยมขึ้นมาได้ ประมวลกฎหมายอันลือ ชื่อของพระองค์เป็นเสมือนหน้าต่างเผยให้เห็นชีวิตประจำวันในจักรวรรดิบาบิโลเนีย กฎหมายฉบับนี้ยึดถือประมวลกฎหมายที่มีมาแล้วและที่ย่นย่อของชาวสุเมเรียน และได้มาจากประเพณีของสุเมเรียนเป็นส่วนใหญ่ พระเจ้าฮัมมูราบีมิได้ทรงอ้าง พระองค์เป็นเทพเจ้า แต่ทรงรับบทบาทตามขนบธรรมเนียมเดิมคือผู้รับใช้บรรดาเทพเจ้า สังคมที่ทรงปกครองแบ่งออกเป็นชั้นต่างๆ คือ ชั้นขุนนาง เสรีชน และทาส รายละเอียด ของกฎข้อบังคับเกี่ยวกับการค้า แสดงให้เห็นถึงชีวิตค้าขายที่ตื่นตัวและสลับซับซ้อน แต่ทว่าประมาณกฎหมายของฮัมมูราบีนั้นเข้มงวดว่ากฎหมายสุเมเรียนที่ถือกำเนิดขึ้น ก่อนอย่างเห็นได้ชัด แสดงถึงการใช้อำนาจเผด็จการในระดับสูงกว่าเดิม การลงโทษ หนักปรากฎบ่อยๆ ในขณะที่แต่ก่อนนี้แทบจะไม่มีเลยและความคิดเกี่ยวกับความยุติธรรม โดยให้ผลกรรมตามทัน หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง ตาต่อตา นั้นได้นำปฏิบัติอย่างรุนแรงน่า สะพึงกลัว ดังเช่น ถ้าบ้านหลังหนึ่งทรุดตัวลง ทำให้เจ้าของบ้านเสียชีวิตผู้สร้างบ้านหลัง นั้นย่อมถูกประหารชีวิต ถ้าคนไข้ตายในระหว่างการผ่าตัด แพทย์ผู้ผ่าตัดถูกประหาร ถ้าผู้ป่วยเสียนัยตาข้างหนึ่งแพทย์จะต้องถูกตัดนิ้วทิ้ง นับเป็นการลงโทษชนิดที่ทำ ให้แพทย์ผู้นั้นมิอาจประกอบอาชีพได้อีก

อารยธรรมเมโสโปเตเมีย

- เป็นบริเวณที่อุดมสมบูรณ์ระหว่างแม่น้ำ 2 สาย คือ แม่น้ำโทกริสและแม่น้ำยูเฟรติส จึงทำให้ชนชาติต่างๆแย่งชิงผลัดเปลี่ยนเข้ามาสร้างสรรค์อารยธรรมของตน

- ชาติแรกที่เข้ามา คือ สุเมเรียน ซึ่งมีความเจริญด้านการเกษตร รู้จักการชลประทานและจัดการปกครองแบบนครรัฐได้เป็นครั้งแรก
- ประดิษฐ์อักษรลิ่ม ลงบนแผ่นดินเหนียว มีความเจริญด้านคณิตศาสตร์ เช่น การคูณหาร ถอดรากกำลังสอง เลขฐาน 60 เป็นต้น มีการติดต่อค้าขายกับภายนอก
มีการคิดตัวอักษรขึ้นมาใช้ในงานบริการของวัด แรกเริ่มเป็นอักษรภาพก่อน แล้วจึงพัฒนาเป็นตัวอักษรคิวนิฟอร์ม
งานศิลปะ : มีการใช้ตราลูกกลิ้ง สำหรับประทับตราลงบนภาชนะเก็บอาหารของวัด ภาชนะนี้มีรูปร่างคล้ายแจกัน คือ คอแคบมีหูสองข้าง บนตราประทับเป็นรูปเทพเจ้า งานศิลปะอื่นๆเป็นรูปปั้นขนาดเล็กทำจาก ดินเหนียว หิน และโลหะ
- นับถือเทพเจ้าหลายองค์ วิหารบูชาเทพเจ้า คือ ซิกกูแรท (Ziggurat)
ศาสนา : แรกเริ่มมีเทพเจ้า 3 องค์ คือ เอนลิล, อาน และเอนกิ ต่อมามีอูตู (เทพเจ้าแห่งดวงอาทิตย์) อินานนา (เทพธิดาแห่งการสืบพันธุ์) และนานนา (เทพเจ้าแห่งดวงจันทร์) คนสุเมเรียนใช้ระบบนับเวลาในวันหนึ่งว่ามี 24 ชั่วโมง 1 ชั่วโมง มี 60 นาที 1 นาทีมี 60 วินาที และวงกลมมี 360 องศา
การทำสงครามกันบ่อยครั้งระหว่างชนหลายเผ่า เกิดการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม ทำให้ชาวเมโสโปรเตเมียนับถือพระเจ้าเป็นพันๆองค์ (ชาวเมโสฯไม่เชื่อว่ามีอะไรเกิดขึ้นโดยบังเอิญ ดังนั้นปรากฏณ์การณ์ธรรมชาติ หรือสถานที่ธรรมชาติใดๆ มักจะมีพระเจ้าคอยดูแลกำกับ)

การนับถือพระเจ้านี้มีทั้งที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ คือพ่อแม่ญาติพี่น้องชุมชนนับถืออยู่ หรือสิ่งที่ทำมาหากินอยู่ต้องได้รับการอำนวยความสะดวกจากพระเจ้าองค์ไหนเป็นพิเศษ เช่นเป็นชาวเรือ ก็ต้องบูชาพึ่งพาพระเจ้าแห่งท้องทะเล แห่งเมฆและลมพายุเป็นต้น ก็จะบูชาพระเจ้านั้นๆเป็นพิเศษ

อีกประเภทหนึ่งคือเกิดขึ้นโดยทางการเมือง กษัตริย์ที่มีอำนาจมากมักหาทางยกย่องและสนับสนุนให้ประชาชนนับถือพระเจ้าเช่นเดียวกับตน เพื่อแย่งชิงมวลชนและทำให้ปกครองง่าย

แต่ที่มีความสำคัญที่สุดและกล่าวพบในจารึกมากที่สุดมักเป็นพระเจ้าที่เกี่ยวข้องกับดาวเคราะห์ทั้ง 7 ซึ่งคนโบราณเชื่อว่าเป็นพระเจ้าที่จุติมาในรูปดวงดาวหรือเป็นแค่สัญญาณที่พระเจ้าส่งมา (กล่าวคือบางคนเชื่อว่าเป็นพระเจ้า บางคนก็เชื่อว่าเป็นเครื่องมือสื่อสารของพระเจ้า หรืออะไรก็ได้ที่ไม่ใช่ตัวพระเจ้าโดยตรง การสงสัยในพระเจ้าเป็นความบาปของคนสมัยนั้น จึงไม่มีหลักฐานที่สอดคล้องกันว่าดาวทั้งเจ็ดเกี่ยวข้องอะไรกับพระเจ้าแน่ๆ) ซึ่งประกอบด้วย
Sin (พระจันทร์) แต่เป็นเพศชาย มีความสำคัญที่สุด มีภรรยาชื่อเทพ Ningal และบุตร 3 คนคือ Shamash, Ishtar และ Adad มีหน้าที่ให้แสดงสว่างเวลาการคืน ชาวเมโสฯจึงให้ความสำคัญกับปรากฏการณ์จันทรุปราคามาก ถึงขั้นเวลาเกิดขึ้นกับเมืองตัวเอง นักบวชมักไม่กล้าให้คำทำนาย

Shamash (พระอาทิตย์) เป็นลูกชาย Sin สำคัญรองมาจาก Sin ทำหน้าที่ให้แสงสว่างเวลากลางวัน และยังเป็นเทพแห่งความยุติธรรม ที่คอยปกป้องวิญญาณของคน ทางการเมือง พอเกิดสุริยุปราคาที่เมืองไหน กษัตริย์เมืองอื่นๆมักใช้เป็นเหตุผลให้ไปทำสงครามด้วยเพราะพระเจ้ามองว่าบ้านเมืองนั้นเริ่มปกครองไม่เป็นธรรม

Ishtar (พระศุกร์) สำคัญเป็นลำดับ 3 ได้รับการยกย่องว่าเป็นราชีนีแห่งสวรรค์ และมีความสำคัญมากที่สุดในเมโสโปรเตเมียยุคหลัง เป็นผู้เทพแห่งความรักและกามรมณ์ทุกประเภท เทพปกป้องรักษากษัตริย์ และเทพีแห่งสงคราม (สังเกตดีๆ เทพแห่งสงครามไม่ใช่พระอังคาร เพราะสมัยก่อนเวลาจะทำสงครามกับเมืองไหน กษัตริย์ก็มักจะอ้างว่าเทพีแห่งสงครามเข้าข้างตน หลายครั้งรู้สึกครึ้มอกครึ้มใจก็ประกาศสงครามกับเพื่อนบ้าน คงเห็นสงครามเหมือนกับกีฬาฟุตบอลในสมัยนี้)

Adad น้องชาย Shamash และลูกชาย Sinเป็นเทพเจ้าแห่งพายุและฝน

Marduk (พระพฤหัส) เป็นกษัตรย์ของเหล่าทวยเทพทั้งหลาย

Ninurta (พระเสาร์) เทพเจ้าแห่งสายฟ้า ต่อมาในกลายเป็นเทพเจ้าแห่งการล่าสัตว์และสงคราม มีภรรยาชื่อ Gula ซึ่งเป็นเทพธิดาแห่งการรักษา บางครั้งถือเทพแห่งกฏหมายและความยุติธรรมเช่นเดียวกับ Shamash

Nergal (พระอังคาร) เป็นเทพเจ้าแห่งความตาย โดยเฉพาะจากโรคระบาดและความรุนแรง รวมถึงใต้โลกหรือนรก (คนเมโสโปเตเมียเชื่อว่านรกอยู่ใต้โลก เป็นที่รวมของวิญญาณคนที่ตายไปแล้วเพื่อรอตัดสินโทษ และไปเกิดใหม่) มีภรรยาคือเทพธิดา Ereshkigal เจ้าแห่งความตายคนก่อน ตอนหลังสู้กับ Nergal แล้วสู้ไม่ได้ก็ถูกจับเป็นภรรยา

Nabu (พระพุธ) ลูกชายของ Marduk เป็นเทพคุ้มครองเกษตรกรรมและการค้าขาย เป็นเทพเจ้าแห่งการเขียนและการศึกษา มีหน้าที่เป็นอารักษ์ของเทพเจ้าองค์อื่น รวมถึงการเก็บบันทึกชะตาชีวิตของแต่ละคนขึ้นซึ่งที่จริงเป็นแผนการที่พระเจ้าวางไว้แล้วว่าต้องการให้มนุษย์แต่ละคนทำอะไร ดังนั้นชีวิตมนุษย์แต่ละคนจึงถูกตัดสินล่วงหน้าแล้วโดยพระเจ้า (สังเกตุตรงนี้ โหราศาสตร์ยุคแรกจึงได้รับอิทธิพลจากความเชื่อทางศาสนาว่าชะตาชีวิตคนถูกกำหนดไว้แล้วแก้ไขอะไรไม่ได้ นี่อาจเป็นเหตุผลที่ไม่มีการทำนายดวงชะตาบุคคล จนกระทั่งถึงปี 500 ก่อนค.ศ.ที่อาณาจักรเปอร์เชียเรืองอำนาจ ขณะที่เปอร์เชียได้รับอิทธิพลจากศาสนาโซโรแอสเตอร์ที่เชื่อว่ามีพระเจ้าแห่งความดี-ความชั่วคอยดลใจมนุษย์อยู่ มนุษย์จึงมีอิสระที่จะตัดสินใจเชื่อใคร จึงเริ่มมีการดูดวงชะตาบุคคลขึ้น ถ้าเป็นเช่นนี้ผู้เขียนเข้าใจว่าจุดลัคนา และบรรดา Parts ต่างๆรวมถึง Part of Fortune เริ่มมีขึ้นในสมัยนี้เอง เพราะ Parts เป็นสิ่งที่มนุษย์ต้องทำถึงจะเกิด)

เทพ Nabuได้รับความนิยมสูงสุดช่วง 600 ปีก่อนค.ศ เมื่ออาณาจักรบาบิโลนใหม่ ลดความสำคัญของ Marduk ลงและให้ความสำคัญกับ Nabu มากกว่า เช่นเดียวกับที่บาบิโลนยุคเดิมเคยลดความสำคัญของ Enlil ลงและให้ความสำคัญกับ Marduk

(หมายเหตุ: พระเจ้า เทพเจ้า เทพ เทพธิดา แปลมาจาก God หรือ Goddess ที่ผู้เขียนใช้ปนๆกันให้ศัพท์ดูคุ้นเคย เพราะที่จริงต้องใช้คำว่าพระเจ้าให้หมด ถูกจะถูกต้องตามศัพท์เดิม)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น