Wlecom To Blog Kru Ploy Na Ka

หน้าเว็บ


ขอฝากจากตลาดคลองสาน 100 ปี

วันเสาร์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

"มัสยิดต้นสน" ชุมชนอิสลามเก่าแก่ในบางกอก


มัสยิดต้นสน มัสยิดสำคัญในฝั่งธนบุรี

มัสยิดต้นสน เป็นมัสยิดที่เก่าแก่ที่สุดในกรุงเทพมหานคร ประมาณกันว่าเป็นมัสยิดที่เริ่มมีขึ้นตั้งแต่ก่อนสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม (พ.ศ. ๒๑๕๓ - พ.ศ. ๒๑๗๑ ) ในช่วงสมัยกรุงศรีอยุธยา

ประวัติความเป็นมา
..................ประวัติของมัสยิดต้นสนมีมาประมาณ ๓๐๐ ถึง ๔๐๐ ปี ได้มีการอ่านพบในสมุดข่อยโบราณ บันทึกข้อความไว้ว่า
"เจียมลูกพ่อเดช มันถูกเกณฑ์ไปเป็นทหารของพระเจ้าทรงธรรมที่กรุงศรีอยุธยา อุตส่าห์ส่งผ้าโสร่งตาหมากรุกมาให้พ่อของมันถึงบางกอกใหญ่จนได้"
กำปงมุสลิมมีบ้านเรือนรวมกันอยู่ในลำคลองบางกอกใหญ่ ทั้งที่มีบ้านเรือนบนฝั่งและที่เป็นเรือนแพ สมัยสมเด็จพระบรมราชาที่หนึ่ง สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม ซึ่งครองราชสมบัติอยู่ระหว่างปี พ.ศ. ๒๑๔๕ ถึง ๒๑๗๐ นับจากนี้ก็ประมาณ ๔๐๐ ปี ซึ่งขณะนั้นประเทศสยามหรือประเทศไทยเรามีมุสลิมภาคกลางน้อย
มาก เท่าที่สืบทราบเราเป็นชาวไทยที่ไม่ได้อพยพมาจากใต้ แต่อาจจะได้รับศาสนาอิสลามมาจากข้าราชการมุสลิม ในสมัยพระนารายณ์มหาราช ซึ่งมีเชื้อสายมาจากอิหร่านหรือเปอร์เซีย มีผู้หลักผู้ใหญ่ของเราชาวมัสยิดต้นสนเล่าต่อ ๆ กันมาให้ฟังว่า เมื่อครั้งที่ท่านเจ้าประคุณตะเกี๋ย เดิน
ทางมาจากอินเดียโดยเรือสำเภาแล่นเรือเข้ามาทางปากน้ำเจ้าพระยา เมื่อแรือแล่นใบมาถึงปากคลองบางกอกใหญ่ได้ทราบว่ามีบ้านเรือนมุสลิมอยู่รวมกันเป็นจำนวนมาก ท่านก็แวะลงเยี่ยมเยือน แต่ท่านเจ้าคุณเห็นว่าย่านนี้ยังไม่เหมาะสำหรับท่าน ท่านจึงแล่นเรือขึ้นเหนือต่อไปเพื่อเดินทางไปยังกรุงศรีอยุธยา และ
ท่านได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระนารายณ์มหาราชพระราชทานที่ดินแปลงใหญ่ให้ที่ชานเมืองกรุงศรีอยุธยา ท่านจึงพำนักเผยแพร่อิสลามอยู่ ณ สถานที่นั้น
สมเด็จพระนารายณ์มหาราชครองราชสมบัติ อยู่ในระหว่างปี พ.ศ. ๒๑๙๙ ปี พ.ศ. ๒๒๒๕ประวัติของมัสยิดต้นสนจึงมีอายุประมาณ ๔๐๐ ปี เริ่มแรกมุสลิมในย่านนี้อุทิศที่ดิน ประมาณสองหรือสามงานเพื่อสร้างมัสยิด และผู้คนในย่านนี้ต่างเรี่ยรายกัน ได้เสียสละบริจาคเงิน เพื่อสร้างมัสยิด เป็นเรือนไม้
ใต้ถุนยกสูง ฝาไม้ขัดแตะ หลังคากระเบื้อง และได้มีผู้อุทิศที่ดินเพิ่มเติมอีกเพื่อทำเป็นกุบุร ตั้งแต่ชายคลองขึ้นมา
....................ต่อมาก็ได้ขยายบริเวณและตัวมัสยิดออกไปเรื่อย ๆ เพราะจำนวนผู้คนมาร่วมละหมาดมากขึ้นทุกที รูปร่างมัสยิดคล้ายกุฎิ ตามแบบคนไทยในศาสนาพุทธ เรียกกันว่า กุฎีใหญ่ หรือ กุฎีต้นสน ฝั่งตรงข้ามก็มีมัสยิดอีก เรียกว่า กุฎีขาว ลึกเข้าไปอีกก็มีกุฎีเขียว เพราะในยุคนั้นมีมุสลิมอาศัยอยู่มากตั้งแต่ปากคลองทั้ง
สองฝั่งเข้าไปถึงตลาดพลู มีทั้งบ้านเรือนบนฝั่งและเป็นเรือนแพริมคลองสองฟากฝั่ง ซึ่งมีบ้านเรือนที่อยู่อาศัยด้วย เรือนนี้จะทำการค้าขายด้วย ซึ่งการค้าขายในยุคนั้นใช้เรือเป็นพาหนะ
...................ในยุคที่กรุงศรีอยุธยาในรัชสมัยพระเจ้าเอกทัศน์ใกล้จะถูกพม่าตีแตก ในกรุงศรีอยุธยามีชาวไทยมุสลิมตั้งบ้านเรือนอยู่ชายแม่น้ำเจ้าพระยาชานกรุงมากมาย ทั้งเรือนบนฝั่ง และเรือนแพ มีข้าราชการมุสลิม พ่อค้า ทหารมุสลิมรับราชการอยู่มาก ต่างก็ได้อพยพ ถอยเรือนแพลอยลงมารวมกันอยู่ที่คลองบางกอกใหญ่ และ
คลองบางกอกน้อยมากมาย จึงทำให้ผู้คนมารวมกันละหมาดที่กุฎีใหญ่ หรือ กุฎีต้นสนมากขึ้น จนกระทั่งเรือนมัสยิดไม่พอที่จะรองรับ ในการละหมาดยะมาอะห์ตามปรกติหรือละหมาดในวันศุกร์ได้พอเพียง
..................... เมื่อกรุงศรีอยุธยาถูกพม่าเข้ายึดและเผาทำลายบ้านเมือง วัดวาอาราม มัสยิด ตลอดจนเข้าปล้นทรัพย์สินเผาพระบรมมหาราชวัง สมเด็จพระเจ้าตากสินก็ได้รวบรวมผู้คน และทหารไปเตรียมความพร้อมอยู่ที่เมืองจันทบุรี และยกกองทัพมากู้เอกราชสำเร็จ ซึ่งในกองทัพกู้เอกราชครั้งนั้นมีนายทหาร และพลทหารมุสลิมร่วมกองทัพอยู่ด้วยจำนวนมาก มีพ่อค้า ข้าราชการชาวไทยมุสลิมร่วมให้การช่วยเหลือทรัพย์สินเพื่อการกอบกู้เอก
ราชในครั้งนั้นด้วย ใน พ.ศ. ๒๓๑๑ เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินกอบกู้เอกราชสำเร็จ ได้ตั้งกรุงธนบุรีขึ้นเป็นราชธานี กรุงธนบุรีตั้งอยู่ปากคลองบางกอกใหญ่ ใกล้ ๆ มัสยิดต้นสน หรือ กุฎีใหญ่ ที่เรียกกันว่าพระราชวังเดิม เมื่อพระราชวังสถานที่ประทับและสถานที่ราชการมาอยู่ใกล้ กุฎีใหญ่ หรือมัสยิดต้นสน และบรรดาข้าราชการ
พ่อค้า ทหาร แม่ทัพนายกองชาวไทยมุสลิมที่อยู่ใกล้ชิดสนองพระบรมราชโองการของพระบาทสมเด็จพระเจ้าตากสิน มารับราชการอยู่ใกล้มัสยิดต้นสน ก็ได้ทำให้กุฎีต้นสนมีผู้มามาประกอบพิธีกรรมทางศาสนามากมายขึ้น จนกลายเป็นมัสยิดศูนย์กลางของศาสนาอิสลามในสมัยนั้น แม่ทัพนายกองมุสลิมชั้นผู้ใหญ่ตัวอย่างเช่น
พระยาจักรี พระยายมราช พระยาราชบังสัน ส่วนมากเป็นผู้ที่ติดตามพระเจ้าตากสินออกจากกรุงศรีอยุธยาไป เพื่อไปหาทางกอบกู้เอกราชให้แก่ชาติบ้านเมืองทั้งสิ้น จึงทำให้ชาวไทยมุสลิมได้รับการวางพระราชหฤทัยจากพระเจ้าตากสินมากมาย
.....................ในยุคสมัยธนบุรีเป็นราชธานี มัสยิดต้นสนเป็นสถานที่รวมบุคคลสำคัญ ๆ มากมาย ในวันศุกร์มีผู้คนมาละหมาดแน่นมัสยิด
ในช่วงนั้นสมเด็จพระเจ้าตากสินได้พระราชทานที่ดินหลังบริเวณมัสยิดให้แก่มัสยิดอีกกว้างขวางเพื่อขยายส่วนที่เป็นกุบุร เพราะไม่ว่าข้าราชการ ทหารมุสลิมที่สิ้นชีวิตก็จะมาทำการฝังที่กุบุร มัสยิดต้นสน ในช่วงนั้นได้มีการขยายเปลี่ยนแปลงเรือนไม้ของกุฎีต้นสน รื้อเรือนไม้เดิมออก สร้างเป็นอาคารมัสยิด
ก่ออิฐถือปูน มัสยิดที่สร้างขึ้นใหม่ตัวมัสยิดกว้าง ๑๐ เมตร ยาว ๑๕ เมตรเศษ รูปร่างอาคารมัสยิดสร้างคล้ายศาลาการเปรียญ ลอกแบบอาคารในพระราชวังหลังหนึ่งมาเป็นแบบ ไม่ได้สร้างแบบรูปร่างตัวอาคารมัสยิด แบบอาหรับ ไม่มีโดม ไม่มีเสาบัง แต่มีหน้าจั่ว มีการสลักลวดลายไทยอย่างสวยงามด้วยปูนปั้น โดยอาศัยการเสียสละทั้งแรงกาย แรงใจ และทรัพย์สินในการขยายมัสยิดใหม่ โดยมีรูปร่างของอาคารมัสยิดตามแบบ
ศิลปไทยอย่างแท้จริง สองข้างอาคารมัสยิดต้นสน ก็มีอาณาบริเวณของวัดหงษ์รัตนารามและวัดโมฬีโลกยาราม ซึ่งเป็นอารามหลวงขนาบสองข้าง แต่เราชาวไทยมุสลิมกับชาวพุทธก็อยู่กันอย่างร่มเย็น ต่างคนก็ต่างนับถือศรัทธา ปฏิบัติไปตามลัทธิศาสนาของตนไม่ก้าวก่ายกัน เป็นทหารของกองทัพไทยเคียงบ่าเคียงไหล่กันปกป้องเอกราช
......................เมื่อมัสยิดสร้างเสร็จ ในครั้งนั้น ที่ท่าน้ำของมัสยิดริมคลองบางกอกใหญ่ ผู้คน และบรรดาทหารได้ใช้เป็นท่าน้ำอาบน้ำชำระร่างกาย ได้มีไม้กระดานใหญ่แผ่นหนึ่งกว้างประมาณ ๒ ศอก ยาวประมาณ ๔ ศอก ลอยมาติดอยู่ที่ใกล้บริเวณบันไดท่าน้ำ ที่แผ่นกระดานนั้นมีร่องรอยไฟไหม้เป็นบางส่วน เมื่อผู้คนไปจับพลิกขึ้นมาดูก็ปรากฏว่าอีกด้านหนึ่งของแผ่นกระดานนั้นมีการแกะสลักแผนผังของมัสยิดินฮะรอม และมัสยิดดินนบี และมีการแกะสลักโองการแห่งพระคัมภีร์อัลกุรอ่าน สวยงาม บรรดาทหารที่เก็บขึ้นมาก็ได้นำเอาไปเสนอแม่ทัพนายกองมุสลิม พวกนายทหารก็ได้นำไปถวายสมเด็จ
พระเจ้าตากสิน และพระเจ้าตากสินก็ได้มอบให้แก่ผู้ปกครองมัสยิดต้นสน และอิหม่ามในสมัยนั้นก็ได้นำเอามาไว้ในมัสยิด ตกแต่งทาสีให้สวยงาม ที่มีร่องรอยไฟไหม้มานั้นก็คงจะเป็นไม้บนเมิมบัรของมัสยิดใดมัสยิดหนึ่ง ที่ถูกพม่าเผาทำลายในช่วงเวลาที่กองทัพพม่ายกมาปล้นกรุงศรีอยุธยา
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ มัสยิดต้นสนได้มีการตกแต่ง บูรณะขยายต่อเติม ที่หน้าจั่วมีการเสริมช่อฟ้าใบระกา คล้ายอารามหรือศาลาการเปรียญมีการทำเมี๊ยะห์รอบอิหม่าม และมิมบัร แบบไทยแท้ มีแกะสลัก ฝังกระจกสี ลงรักปิดทองคล้ายวัดในศาสนาพุทธ เมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่ง
เกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ เสด็จทางชลมารทผ่านคลองบางกอกใหญ่ เมื่อเสด็จผ่านท่าน้ำของมัสยิด ทรงทอดพระเนตรอาคารมัสยิดต้นสนที่มีรูปร่างอาคารคล้ายวัด มีช่อฟ้าใบระกามีลวดลายที่หน้าจั่วแบบวัดในศาสนาพุทธ ก็ยกพระกรขึ้นประนม แล้วตรัสถามข้าราชบริพารที่ตามเสด็จว่า นี่วัดอะไร เมื่อได้รับการกราบ
ทูลว่าเป็นมัสยิดอิสลาม จึงได้มีพระกระแสรับสั่งแก่ ท่านหลวงโกชาอิสห์ (นาโคดาหลี) ซึ่งเป็นมหาดเล็กใกล้ชิดของ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้ไปยกเอาช่อฟ้าแบบวัดออกเสียเพื่อมิให้มีใครเข้าใจผิด ในยุคนี้บรรดามวลมุสลิมที่ตั้งบ้านเรือนอยู่รายล้อมมัสยิดต้นสน และที่สร้างเป็นเรือนแพในคลองบาง
กอกใหญ่ทั้งสองฝั่งมีจำนวนมากมาย ที่มีความรู้ด้านศาสนาก็มาก เมื่อมีการอ่านพระคัมภีร์อัลกุรอ่าน มัสยิดต้นสนมีพระคัมภีร์อัลกุรอ่าน ที่เขียนขึ้นมาโดยชาวมุสลิมต้นสนมากมายหลายตะมัต ซึ่งเขียนด้วยมืออย่าง สวยงามเขียนเป็นเล่ม ๆ เล่มละยุชุอ์ ที่เขียนด้วยความประณีตบรรจง บางตะมัตเขียนกรอบเริ่มซูเราะห์ ฟาติฮะห์ ด้วยลวดลายน้ำทองพร้อมทั้งลงสีอย่างวิจิตรบรรจงสวยงามเป็นที่สุด แต่ละตะมัตมีหีบไม้สักบ้าง หีบลง
รักฝังมุขลายไทยบ้างเพื่อเก็บรักษา ซึ่งเป็นความอุตสาหะวิริยะตั้งใจเทิดทูนอัลกุรอ่านที่ไม่มีใครในสมัยนี้ทำได้เหมือน ซึ่งทางผู้ปกครอง อิหม่าม กรรมการมัสยิดในยุคนั้นได้ปกปักษ์รักษาไว้เป็นอย่างดี ซึ่งก็มีบ้างที่ชำรุดเสื่อมไปตามกาลเวลาซึ่งมัสยิดต้นสนได้เก็บรักษาไว้อย่างดีเยี่ยม เพื่อเป็นอนุสรณ์ให้เรารำลึกถึงความศรัทธาของบรรดา บรรพบุรุษของเราที่คนสมัยนี้ไม่มีใครทำได้อย่างท่าน
.....................ในปี พ.ศ. ๒๔๘๙ ในหลวงรัชกาลที่ ๘ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อานันทมหิดล ได้ทรงทราบถึงความเป็นมาของมัสยิดต้นสน ซึ่งเป็นมัสยิดที่เก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองมาตั้งแต่กรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรี และกรุงรัตนโกสินทร์ และได้ทรงทราบถึงประวัติความเป็นมารวมทั้งบรรดาแม่ทัพนายกองมุสลิม ข้าราชการมุสลิมหลายท่าน และอดีตท่านจุฬาราชมนตรีที่ปรึกษาเกี่ยวกับกิจกรรมของศาสนาอิสลามขององค์พระมหากษัตริย์ไทยหลายรัชกาล ได้ฝังอยู่ในสุสานของมัสยิดต้นสนเป็นจำนวนมาก จึงมีพระประสงค์ที่จะพระราชทานพระราชวโรกาสเสด็จมาเยี่ยมมัสยิดต้นสนทางชลมารท เพื่อให้มวลมุสลิมได้มีโอกาสเข้าเฝ้าเบื้องพระยุคลบาทอย่างใกล้ชิด ทางท่านอิหม่ามและกรรมการมัสยิดได้รับทราบพระมหากรุณาธิคุณล่วงหน้าอย่างกระทันหัน มีเวลา
เตรียมรับเสด็จล่วงหน้าเพียง ๒ วัน เมื่อวันที่ ๒๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๙ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล รัชกาลที่ ๘ และ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ซึ่งทรงเป็นพระอนุชาในขณะนั้น ทรงเสด็จเยี่ยมมัสยิดต้นสน เป็นการส่วนพระองค์ผู้ที่ตามเสด็จในครั้งนี้มี พระเจ้าวรวงศ์เธอกรมหมื่นทิพยลาภพิทยากร พร้อมทั้งราชองค์รักษ์และข้าราชบริพาร นายทหาร นายตำรวจ มหาดเล็กรักษาพระองค์ เสด็จทางชลมารท เทียบท่าน้ำของมัสยิด ผู้ที่มีเกียรติมาร่วมถวายการรับเสด็จในครั้งนี้ ก็มี ท่านจุฬาราชมนตรี แช่ม พรหมยงค์ ท่านเจ้าคุณมไหสวรรค์ นายกเทศมนตรีนครธนบุรี พร้อมด้วยอิหม่าม คณะกรรมการมัสยิดต้นสน และบรรดามวลพี่น้องมุสลิม ชาวมัสยิดต้นสนและพี่น้องมุสลิมในท้องที่อื่น ๆ มาร่วมถวายการรับเสด็จอย่างมากมาย การรับเสด็จเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ทางมัสยิดได้มีการบันทึกภาพอันสำคัญนี้ไว้มากมาย
.....................พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลและพระอนุชา ได้ทรงเสด็จเข้าสู่ภายในมัสยิด และทรงไต่ถามถึงรายละเอียดต่าง ๆ ที่ทรงสนพระทัย และได้ทรงเสด็จพระราชดำเนินมาที่อาคารเรือนไม้ข้างมัสยิด ซึ่งเป็นที่ตั้งของสมาคมสนธิอิสลามในปัจจุบัน ทางมัสยิดก็ได้ทราบบังคมทูลรับเสด็จและกราบทูลประวัติความ
เป็นมาของมัสยิด เมื่อถวายรายงานจบแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลได้ทรงมีกระแสพระราชดำรัสตอบ ด้วยพระราชดำรัสที่นำความปลาบปลื้มใจมาให้แก่บรรดาพี่น้องมุสลิมที่ได้มาถวายการรับเสด็จอย่างใกล้ชิดโดยทั่วหน้า
เอกสารอ้างอิง
....................ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม สถาบันราชภัฏธนบุรี. เอกสารประกอบการประชุมสัมมนาทางวิชาการ เรื่อง "ชีวิตไทยในธนบุรี" : ๒๐-๒๒ มิถุนายน ๒๕๓๓.

มัสยิดต้นสน เป็นศาสนสถานที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชเสด็จพระราชดำเนินมาประกอบพิธีศาสนกิจฝังศพ เจ้าพระยาจักรีศรีองค์รักษ์ (หมุด) นายทหารคู่พระทัยและโปรดเกล้าฯให้ปฏิสังขรณ์และพระราชทานที่ดินขยายพื้นที่จากเดิมที่เจ้าพระยาราชวังสันเสนีย์ (ม๊ะหูด) บุตรเจ้าพระยารามเดโชชัยสร้างไว้ในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช

กรุงเทพฯ ถือเป็นมหานครอีกแห่งหนึ่งที่มีผู้คนหลากเชื้อชาติต่างศาสนาอาศัยอยู่ร่วมกันมาอย่างยาวนาน ไม่ว่าจะเป็นชาวจีน ลาว เขมร ฝรั่ง แขก ฯลฯ เพราะเรามีการติดต่อค้าขายกับต่างชาติมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน อีกทั้งชาวต่างชาติเหล่านี้ก็ยังมีส่วนช่วยเหลือในการกอบกู้เอกราชของชาติ โดยมาร่วมเป็นกองอาสาต่างชาติช่วยในการศึกสงครามและบูรณะบ้านเมืองทั้งในสมัยกรุงศรีอยุธยาและกรุงธนบุรีอีกด้วย

เมื่อชาวต่างชาติเหล่านี้มาอยู่ร่วมกันมากๆเข้า จึงได้มีการสร้างศาสนสถานตามศาสนาที่ตนเองนับถือขึ้น ดังนั้นในบางชุมชนเราจึงเห็นศาลเจ้าตั้งอยู่ใกล้กับโบสถ์คริสต์ โบสถ์คริสต์ตั้งอยู่ใกล้วัด วัดตั้งอยู่ใกล้มัสยิด ซึ่งความแตกต่างที่อยู่รวมกันได้อย่างสันตินี้เอง ที่เป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งของกรุงเทพฯ
ภายในมัสยิด

มีชุมชนต่างชาติแห่งหนึ่งในย่านบางกอกใหญ่ เป็นชุมชนเก่าแก่อยู่อาศัยกันมายาวนานตั้งแต่ กรุงเทพฯ? ยังเป็นเพียง ?บางกอก? อีกทั้งมีประวัติความเป็นมาน่าสนใจจนฉันอยากจะแนะนำให้รู้จัก นั่นก็คือชุมชนชาวอิสลามที่ ?มัสยิดต้นสน? หรือ ?กะดีใหญ่? มัสยิดที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ และมีความสำคัญมากที่สุดแห่งหนึ่งอีกด้วย

ชาวชุมชนมัสยิดต้นสนนี้ เชื่อว่าน่าจะมีการรวมตัวกันเป็นชุมชนมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา โดยเป็นชาวมุสลิมเชื้อสายจามที่เข้ามาเป็นกองอาสาต่างชาติในสมัยสมเด็จพระชัยราชาธิราช (พ.ศ.2077-2111) ซึ่งเป็นช่วงของการเกณฑ์แรงงานอาสาต่างชาติเพื่อการศึกสงครามและบูรณะประเทศ โดยเฉพาะการขุดคลองลัดบางกอกในปี พ.ศ.2085 จึงทำให้มีชุมชนมุสลิมเกิดขึ้นในบริเวณท้ายป้อมเมืองบางกอกหรือป้อมวิชัยประสิทธิ์ในปัจจุบัน
อย่างที่ฉันบอกไปแล้วว่าเมื่อมีการรวมตัวกันเป็นชุมชนเป็นหลักเป็นฐานแล้ว ก็มักจะมีการสร้างศาสนสถานไว้เพื่อเป็นศูนย์กลางของชุมชนและเพื่อเป็นแหล่งยึดเหนี่ยวจิตใจ ดังนั้นจึงมีการสร้างมัสยิดขึ้น โดยในช่วงแรกนั้นตัวมัสยิดสร้างขึ้นอย่างเรียบง่าย เป็นเรือนฝาไม้กระดานใต้ถุนสูง หลังคามุงกระเบื้องดินเผา แต่หลังจากนั้นก็มีการบูรณะอาคารมัสยิดอีกหลายครั้ง จนมาถึงการบูรณะเมื่อปี พ.ศ.2497 ทำให้มัสยิดมีรูปทรงที่เห็นอย่างในปัจจุบัน

คราวนี้เข้าไปดูภายในมัสยิดต้นสนกันบ้างดีกว่า ภายในนั้นมีหลายสิ่งที่น่าสนใจ ไม่ว่าจะเป็นแผ่นกระดานไม้สักจำหลักลวดลายเป็นภาพมหาวิหารกะอ์บะห์ในอดีต และยกโองการจากมหาคัมภีร์อัล-กุรอานจำหลักประดับ สันนิษฐานว่าเป็นเครื่องประดับชุมทิศของมัสยิดเก่าแห่งใดแห่งหนึ่งในกรุงศรีอยุธยา เมื่อครั้งเสียกรุงครั้งที่ 2 กระดานไม้แผ่นนี้ได้ลอยมาตามลำน้ำเจ้าพระยา และยังปรากฏรอยไฟไหม้ให้เห็นอยู่ในปัจจุบัน
และแม้จะเป็นมัสยิดตามแบบศาสนาอิสลาม แต่มิห์รอบ (เครื่องกำหนดชุมทิศ) และมิมบัร (แท่นแสดงธรรม) กลับเป็นศิลปะไทยแบบอยุธยาตอนปลาย โดยมิห์รอบนั้นจำหลักหน้าบันเป็นลายกระจังก้านขด ยกช่อฟ้าใบระกา ลงรักปิดทองสวยงามอย่างไทย ส่วนมิมบัรนั้นเป็นศิลปะผสมแบบชวา ลงรักปิดทองประดับกระจกเช่นกัน แสดงให้เห็นถึงการผสมผสานระหว่างศิลปวัฒนธรรมได้เป็นอย่างดี แต่ปัจจุบันมิห์รอบและมิมบัรดังกล่าวถูกเก็บรักษาไว้ไม่ได้นำมาใช้งานแล้ว

ภายในมัสยิดยังมีโคมไฟทองเหลืองทรงเหลี่ยมประดับกระจกเขียว มีข้อความระบุไว้ว่า ?ที่รฤกในงานพระบรมศพ ร.ศ.129? โดยเป็นเครื่องสังเค็ด (ทานวัตถุที่ถวายแก่สงฆ์ที่มาเทศน์ หรืออุทิศให้ตามสถานที่สำคัญต่างๆเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ตาย) พระราชทานจากงานพระบรมศพของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 นั่นเอง

นอกจากนั้นก็ยังมีคัมภีร์อัล-กุรอาน ฉบับคัดลายมือด้วยก้างปลาหรือด้วยเมล็ดข้าวเปลือก โดยเฉพาะในโองการที่สำคัญจะเขียนสีทับลายน้ำทองอย่างงดงาม บรรจุในหีบไม้สักเขียนลายรดน้ำ ประดับมุก ประดับกระจก ซึ่งมีอายุเก่าแก่กว่าร้อยปีจำนวนหลายฉบับ

สิ่งที่ยืนยันความสำคัญของมัสยิดแห่งนี้ก็คือการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8 ได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเยี่ยมชมมัสยิดต้นสนและชาวชุมชนพร้อมด้วยพระอนุชา (พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช) เมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ.2489 ในครั้งนั้นได้มีการปรับปรุงอาคารเพื่อใช้เป็น ?อาคารรับเสด็จ? โดยเป็นอาคารไม้สองชั้นหลังคาทรงปั้นหยาประดับลวดลายขนมปังขิง และใกล้ๆกันนั้นก็มีศาลาโถงแปดเหลี่ยมที่สร้างขึ้นภายหลังอาคารรับเสด็จ แต่เน้นรูปทรงสถาปัตยกรรมให้ผสมผสานกลมกลืนกันอีกด้วย
ที่มัสยิดต้นสนนี้ยังมีสิ่งสำคัญที่จะไม่กล่าวถึงไม่ได้เลยก็คือ ?กุโบร์? หรือสุสานของมัสยิด ซึ่งเป็นสถานที่ฝังศพบรรพชนชาวอิสลามซึ่งมีบทบาทสำคัญต่อประวัติศาสตร์ของสังคมไทยในแต่ละยุคสมัย ไม่ว่าจะเป็นเจ้าพระยาจักรีศรีองค์รักษ์ (หมุด) ผู้ร่วมกอบกู้แผ่นดินในสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช พระยาราชวังสัน (ฉิม) แม่ทัพเรือในรัชกาลที่ 3 หลวงโกชาอิสหาก (นาโคดาลี) ผู้ปฏิสังขรณ์มัสยิดต้นสนสมัย พ.ศ.2370 รวมทั้งยังเป็นสุสานที่ฝังศพของจุฬาราชมนตรีทั้ง 9 ท่าน ตลอดสมัยรัตนโกสินทร์จนถึงเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 อีกทั้งเจ้าจอมองค์สำคัญที่เป็นชาวมุสลิมในสมัยรัตนโกสินทร์ เช่น เจ้าจอมหงส์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 เจ้าจอมจีบในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 เจ้าจอมละม้ายในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ก็ถูกฝังอยู่ในกุโบร์แห่งนี้ด้วยเช่นกัน

แท่นจำหลักหน้าหลุมศพของแต่ละท่านนั้นก็จะแตกต่างกันไป โดยสิ่งที่น่าสนใจนั้นก็คือไม้นิฌาน (ไม้จำหลักหน้าหลุมศพ) ของพระยาจุฬาราชมนตรี (สิน) ที่รัชกาลที่ 5 พระราชทานให้ โดยไม้นิฌานนี้เป็นไม้สักทองจำหลักเป็นลวดลายอย่างงดงาม
ในขณะนี้ทางมัสยิดต้นสนกำลังทำการบูรณะอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งเป็นการบูรณะใหญ่ในรอบเกือบ 60 ปี การบูรณะในครั้งนี้ก็จะทำให้มัสยิดต้นสนงามสง่า สมกับเป็นมัสยิดอันเก่าแก่และมีความสำคัญคู่กับกรุงเทพมหานครต่อไป

มัสยิดต้นสน มัสยิดสำคัญในฝั่งธนบุรี กรุงเทพฯ ถือเป็นมหานครอีกแห่งหนึ่งที่มีผู้คนหลากเชื้อชาติต่างศาสนาอาศัยอยู่ร่วมกันมาอย่างยาวนาน ไม่ว่าจะเป็นชาวจีน ลาว เขมร ฝรั่ง แขก ฯลฯ เพราะเรามีการติดต่อค้าขายกับต่างชาติมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน อีกทั้งชาวต่างชาติเหล่านี้ก็ยังมีส่วนช่วยเหลือในการกอบกู้เอกราชของชาติ โดยมาร่วมเป็นกองอาสาต่างชาติช่วยในการศึกสงครามและบูรณะบ้านเมืองทั้งในสมัยกรุงศรีอยุธยาและกรุงธนบุรีอีกด้วย เมื่อชาวต่างชาติเหล่านี้มาอยู่ร่วมกันมากๆเข้า จึงได้มีการสร้างศาสนสถานตามศาสนาที่ตนเองนับถือขึ้น ดังนั้นในบางชุมชนเราจึงเห็นศาลเจ้าตั้งอยู่ใกล้กับโบสถ์คริสต์ โบสถ์คริสต์ตั้งอยู่ใกล้วัด วัดตั้งอยู่ใกล้มัสยิด ซึ่งความแตกต่างที่อยู่รวมกันได้อย่างสันตินี้เอง


ที่เป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งของกรุงเทพฯ ภายในมัสยิด มีชุมชนต่างชาติแห่งหนึ่งในย่านบางกอกใหญ่ เป็นชุมชนเก่าแก่อยู่อาศัยกันมายาวนานตั้งแต่ "กรุงเทพฯ" ยังเป็นเพียง "บางกอก" อีกทั้งมีประวัติความเป็นมาน่าสนใจจนฉันอยากจะแนะนำให้รู้จัก นั่นก็คือชุมชนชาวอิสลามที่ "มัสยิดต้นสน" หรือ "กะดีใหญ่" มัสยิดที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ และมีความสำคัญมากที่สุดแห่งหนึ่งอีกด้วย ชาวชุมชนมัสยิดต้นสนนี้ เชื่อว่าน่าจะมีการรวมตัวกันเป็นชุมชนมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา โดยเป็นชาวมุสลิมเชื้อสายจามที่เข้ามาเป็นกองอาสาต่างชาติในสมัยสมเด็จพระชัยราชาธิราช (พ.ศ.2077-2111) ซึ่งเป็นช่วงของการเกณฑ์แรงงานอาสาต่างชาติเพื่อการศึกสงครามและบูรณะประเทศ โดยเฉพาะการขุดคลองลัดบางกอกในปี พ.ศ.2085 จึงทำให้มีชุมชนมุสลิมเกิดขึ้นในบริเวณท้ายป้อมเมืองบางกอกหรือป้อมวิชัยประสิทธิ์ในปัจจุบัน

มัสยิดต้นสน? ตั้งอยู่ที่ 447 ซอยวัดหงส์รัตนาราม ถนนอรุณอมรินทร์ แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กทม. 10600 การเดินทาง สามารถนั่งเรือข้ามฟากจากท่าเตียนมายังวัดอรุณราชวราราม จากนั้นเดินออกมาที่ถนนอรุณอัมรินทร์แล้วเลี้ยวซ้ายมาทางสะพานอนุทินสวัสดิ์ มัสยิดต้นสนจะอยู่บริเวณใต้สะพาน สอบถามรายละเอียดโทร.0-2466-5326

และในบริเวณใกล้เคียงมัสยิดต้นสน ก็ยังมีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจอย่าง ?วัดหงส์รัตนาราม? ซึ่งมีพระพุทธรูปทองโบราณสมัยสุโขทัยอันงดงามยิ่ง และ ?ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช? ซึ่งเชื่อว่าบริเวณที่ตั้งศาลนั้นเป็นจุดที่พระโลหิตของสมเด็จพระเจ้าตากสินทรงหยดลงบนพื้น จึงต้องมีการสร้างศาลขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น