Wlecom To Blog Kru Ploy Na Ka

หน้าเว็บ


ขอฝากจากตลาดคลองสาน 100 ปี

วันศุกร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

โคลัมบัสค้นพบ “โลกใหม่ได้อย่างไร


ก่อน ค.ศ. 1492 ไม่มีชาวยุโรปคนใดรู้แน่ชัดว่าเลยจากหมู่เกาะคานารีและหมู่เกาะอซอร์สออกไปแล้วจะเป็นเช่นไร เมื่อคริสโตเฟอร์ โคลัมบัสออกเดินเรือไปทางทิศตะวันตกนั้น เขามุ่งแสวงหาเส้นทางเดินเรือไปสู่ “อินดีส” (อินเดีย ตลอดจนดินแดนและหมู่เกาะต่างๆ ในตะวันออกไกล ต่อมาเรียกว่า อินดีสตะวันออก) แต่เขากลับพบทวีปใหม่ซึ่งยังไม่เคยมีนักสำรวจหรือนักภูมิศาสตร์ที่มีชื่อเสียงผู้ใดในทวีปยุโรปรู้ว่ามีอยู่ ต่อมาดินแดนนี้เรียกว่ามุนดุส โนวุส (Mundus Novus) หรือ “โลกใหม่” ซึ่งปัจจุบันคือทวีปอเมริกาเหนือและใต้


โคลัมบัส เป็นนักเดินเรือชาวอิตาลีจากเมืองเจนัวผู้ไม่เคยตระหนักเลยว่าตนได้ค้นพบทวีปอเมริกา

โคลัมบัสค้นพบ “โลกใหม่ได้อย่างไร

ก่อน ค.ศ. 1492 ไม่มีชาวยุโรปคนใดรู้แน่ชัดว่าเลยจากหมู่เกาะคานารีและหมู่เกาะอซอร์สออกไปแล้วจะเป็นเช่นไร เมื่อคริสโตเฟอร์ โคลัมบัสออกเดินเรือไปทางทิศตะวันตกนั้น เขามุ่งแสวงหาเส้นทางเดินเรือไปสู่ “อินดีส” (อินเดีย ตลอดจนดินแดนและหมู่เกาะต่างๆ ในตะวันออกไกล ต่อมาเรียกว่า อินดีสตะวันออก) แต่เขากลับพบทวีปใหม่ซึ่งยังไม่เคยมีนักสำรวจหรือนักภูมิศาสตร์ที่มีชื่อเสียงผู้ใดในทวีปยุโรปรู้ว่ามีอยู่ ต่อมาดินแดนนี้เรียกว่ามุนดุส โนวุส (Mundus Novus) หรือ “โลกใหม่” ซึ่งปัจจุบันคือทวีปอเมริกาเหนือและใต้

ดินแดนที่โคลัมบัสไปถึงคือหมู่เกาะในทะเลแคริบเบียน ไม่ใช่อเมริกาเหนือ โคลัมบัสไม่เคยตระหนักในความผิดพลาดนี้เลยและยืนยันอยู่จนวันตายว่าดินแดนที่เขาค้นพบคือ “อินดีส” ด้วยเหตุนี้ดินแดนที่เขาพบนั้นจึงได้ชื่อว่า อินดีสตะวันตก และชนพื้นเมืองของทวีปอเมริกาเหนือจึงได้ชื่อว่าชาวอเมริกันอินเดียน

โคลัมบัสเกิดที่เมืองเจนัวในอิตาลีเมือ ค.ศ. 1451 เขาออกทะเลตั้งแต่อายุ 14 ปี พออายุ 30 ปีก็เป็นนักเดินเรือและผู้นำร่องที่เชี่ยวชาญ

ในคริสต์ศตวรรษที่ 15 ชาวโปรตุเกสหาเส้นทางเดินเรือสู่ “อินดีส” โดยมุ่งไปทางทิศตะวันออก อ้อมแหลมด้านใต้ของทวีปแอฟริกา ขณะนั้นมีเส้นทางค้าขายเครื่องเทศ อัญมณี และผ้าไหมโดยทางบกจาก “อินดีส” อยู่แล้ว

โคลัมบัสศึกษาปูมการเดินเรือจากแหล่งความรู้ต่างๆ เท่าที่หาได้ เช่น คัมภีร์ไบเบิล วรรณกรรมโบราณ และหนังสือวิทยาศาสตร์ซึ่งมีอยู่น้อยเล่มแล้วสรุปว่าหากเดินเรือไปทางทิศตะวันตกจะถึง “อินดีส” ได้เร็วกว่า



โคลัมบัส เป็นนักเดินเรือชาวอิตาลีจากเมืองเจนัวผู้ไม่เคยตระหนักเลยว่าตนได้ค้นพบทวีปอเมริกา

สำเนาคำอธิบายประกอบหนังสือที่เขาคัดจาก Description of the World (คำอธิบายเกี่ยวกับโลก) ที่มาร์โคโปโลเขียนไว้และหนังสือ Imago Mundi (อิมาโก มุนดี-ภาพของโลก) ของพระคาร์ดินับปีแอร์ ดายยี ยังมีให้เห็นเป็นหลักฐานอยู่

ข้อความตอนหนึ่งในอิมาโก มุนดี ซึ่งเขียนไว้เมื่อ ค.ศ. 1410 ระบุว่า อริสโตเติลกล่าวว่า “ทะเลที่อยู่ระหว่างดินแดนด้านตะวันออกสุดของสเปนกับดินแดนที่ใกล้ที่สุดกับแถบตะวันตกของอินเดียมิได้กว้างใหญ่เท่าใดนัก” ในขณะที่มาร์โคโปโลอ้างว่าประเทศญี่ปุ่นอยู่ห่างจากคาเธย์ (ประเทศจีน) ไปทางทิศตะวันออกเป็นระยะทาง 2,400 กม. ซึ่งทำให้ญี่ปุ่นอยู่ใกล้กับสเปนเกินกว่าที่เป็นจริง

โคลัมบัสหลงไขว้เขวตามข้อเขียนของพระคาร์ดินัลดายยีและมาร์โคโปโล และหลงตามข้อมูลในคัมภีร์อะพ็อกคริฟาเล่มที่สองของเอสดราสซึ่งระบุว่าโลกแบ่งเป็นแผ่นดิน 6 ส่วน และทะเล 1 ส่วน (ที่ถูกต้องคือแผ่นดิน 1 ส่วน และพื้นน้ำเกือบ 3 ส่วน) นอกจากนี้ เขายังคำนวณด้วยมาตราไมล์ของอิตาลีโดยมิได้เฉลียวใจว่ามาตรานี้สั้นกว่ามาตราของอาหรับ ซึ่งใช้ทำแผนที่ส่วนใหญ่ในยุคนั้น ดังนั้นเขาจึงคำนวณว่า “อินดีส” อยู่ห่างจากหมู่เกาะคานารีไปตามตะวันตก 6,300



“โลกเก่า” แผนที่โลกเก่าเป็นภาพพิมพ์ไม้แกะ พิมพ์ที่เมืองอูล์มในเยอรมนีเมื่อ 6 ปีก่อนโคลัมบัสพบโลกใหม่ แผนที่นี้มาจากตำราภูมิศาสตร์ฉบับประกอบแผนที่ของปโตเลมี (ประมาณ ค.ศ. 90-168) ผลงานของนักภูมิศาสตร์และดาราศาสตร์ชาวอียิปต์ – กรีก ผู้นี้บันดาลใจให้โคลัมบัสมุ่งตะวันตกเพื่อหาเส้นทางสู่เอเชีย



เข็มทิศ ของนักเดินเรือชาวอิตาลี พร้อมกล่องและฝา เป็นแบบที่ใช้ในสมัยของโคลัมบัส มีลายเฟลอร์ เดอ ลี บนหน้าปัดเพื่อระบุทิศเหนือ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น